ขาดแคลนแรงงานไทย อิสราเอลเผชิญวิกฤตภาคการเกษตรครั้งใหญ่

ภาคการเกษตรของอิสราเอลมีความเสี่ยงที่ล้มเหลวจากปัญหาการขาดแคลนแรงงาน หลังสงครามผ่านไป 5 เดือน โดยเฉพาะกลุ่มคนใช้แรงงานคนไทย

มีรายงานวิเคราะห์ข่าว จากอิสราเอลว่า หลังจากวันที่ 7 ตุลาคม 2023 ที่ผ่านมาที่จุดชนวนสงครามอิสราเอล-ฮามาส จนถึงขณะนี้ภาคการเกษตรของอิสราเอลประสบประสบปัญหาอย่างเนื่อง เนื่องจากปัญหาการแคลนแรงงานโดยเฉพาะกลุ่มคนใช้แรงงานคนไทยซึ่งเป็นกลุ้มใหญ่ที่สุดที่ได้รับการไว้วางใจจากนายจ้างมาอย่างยาวนาน

ภาคการเกษตรของชาวอิสราเอล ตัวอย่างฟาร์มปลูกผักของ Adi Dafna จะอาสาสมัคางอสราเอลรวมตัวกันทุกเช้าจำนวน 50-100 คนนั่งรถบัสมาช่วยเก็บเกี่ยวมะเขือเทศ, แตงกวาและพืชผลใหม่ๆ ในฤดูหนาว มาทดแทนคนยงานชาวปาเลสไตน์ที่ถูกห้ามเข้าประเทศ รวมทั้งแรงงานชาวต่างชาติที่แห่กันกลับบ้านหนีภัยสงคราม

จนถึงปัจจุบันเวลาล่วงเลยมา 5 เดือนผ่านฤดูหนาวเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิ รถเมล์หยุดให้บริการ แรงงานก็ยังขนาดแคลน Adi Dafna สูญสิ้นผลผลิตไปกว่าครึ่งรวมทั้งผลกำไรทั้งหมด เขากังวัลว่าจะไม่สามารถยืนหยัดส่งมอบต่อให้บุตรชายในวันข้างหน้าได้

ผลผลิตทางเกษตรของอิสราเอลได้รับผลกระทบจากภาวะสงครามนี้กว่า 89% และจะหนักข้อขึ้นเรื่อยๆ มีความต้องการความช่วยเหลือจากภาครัฐโดยด่วน

มีผู้ประเมินว่าผลกระทบทางเศรษฐกิจของอิสราเอลได้รับความเสียหายถึงวันละ 250 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ในยุคบุกเบิก ชุมชนเกษตรกรรมได้ถูกหยิบยกให้ความสำคัญด้านความปลอดภัยสำหรับบาวอิสราเอลที่จะถูกบุกรุกดินแทนว่า หากไม่ใช้มาทำการเกษตรได้อาจจะสูญให้ชาวอาหรับ อีกทั้งยัวป็นแนวทางในการเลี้ยงดูเยาวชนที่มีความสามารถในการปกป้องประเทศ และรับประกันว่าอิสราเอลจะมีแหล่งอาหารที่เป็นอิสระและไม่ต้องพึ่งพาการค้าขายกับเพื่อนบ้านที่ไม่เป็นมิตร

เปิดปูมแรงงานไทยรุ่นบุกเบิก

ขณะที่ชาวอิสราเอลสนใจทำงานอื่นๆ ที่มีรายได้สูงกว่าทำให้ภาคการเกษตร ในเมืองต่างๆ เริ่มตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1960 และ 1970 เกษตรกรเหล่านี้จึงหันมาพึ่งพาคนงานปาเลสไตน์เพื่อทำให้ดินแทนทะเลทรายกลายเป็นแหล่งทำการเกษตร

แต่มีความตึงเครียดมาโดยตลอดเนื่องจากความขัดแย้งที่มีมาต่อเนื่อง เกิดการนัดหยุดงานและการโจมตีด้วยความหวาดกลัวระหว่างการลุกฮือของชาวปาเลสไตน์เริ่มต้นในปี 1987 รทำให้รํฐบาลอิสราลเอลจำกัดความสามารถของชาวปาเลสไตน์ในการเข้าทำงานในอิสราเอล และเริ่มรับสมัครงานในต่างประเทศ

ประเทศไทยจึงเป็นทางเลือกเป้าหมายในการนำเข้าแรงงาน มีผลการศึกษาโดยนักวิชาการ  Yahel Kurlander, Shahar Shoham และ Matan Kaminer ระบุว่าในช่วงทศวรรษ 1970 และ 1980 ได้ทำการฝึกอบรมเกี่ยวกับเทคนิคการเกษตรให้คนไทยประมาณ 300 คน 

ซึ่งทั้ง 3 คนชี้ว่าแรงงานไทยมีความเชื่อฟังและเต็มใจที่จะทำงานมากกว่าชาวยิวและปราศจากภัยคุกคามด้านความปลอดภัยที่เกษตรกรกังวลกับชาวปาเลสไตน์

การศึกษาของ Taylandim ภาษาฮีบรู เป็นคำแสลงที่เรียกแรงงานไทย กลายเป็นแรงงานต่างชาติกลุ่มใหญ่ที่สุดที่ถูกเอารัดเอาเปรียบมาก่อนและถูกปฏิรูปก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์ 7 ตุลาคม แรงงานไทย 30,000 คน คิดเป็นประมาณ 85% ของแรงงานภาคเกษตรกรรมของประเทศ 97% เป็นผู้ชาย โดยมีรายได้มากกว่าค่าจ้างในประเทศไทยถึง 8 ถึง 10 เท่า และส่งเงินส่วนใหญ่กลับบ้านเพื่อเลี้ยงดูครอบครัว

แรงงานไทยเชื่อฟังและเต็มใจทำงานแลกค่าจ้างสูง

พ่อของ Adi Dafna ได้นำเข้าแรงงานไทยจากจังหวัดอุดรธานี ตั้งแต่ปี 1994 ปัจจุบันดาฟนามีใบอนุญาตสำหรับคนงาน 12 คน รวมกับข้อตกลงกับฟาร์มอื่นๆ หากไม่มีการใช้แรงงานอีก 13 คน ด้วยค่าจ้าง 2,217-2,771 ดอลลาร์สหรัฐหรือราว 78,500-98,000 บาท   ซึ่งมากกว่าค่าแรงขั้นต่ำของอิสราเอลที่ 1,544 ดอลลาร์หรือ 54,600 บาทต่อเดือนอย่างมาก

หลังเกิดเหตุการณ์ 7 ตุลาคม แรงงานไทย 19 คน จาก 25 คนได้รับกลับไทยอย่างเร่งด่วนด้วยความช่วยเหลือจากรัฐบาลไทย

ตอนนี้ยังเหลือแรงงานไทยอีก 6 คน และอีก 3 คนเข้ามาเพิ่มเติมหลังสงครามโดยคิดว่ารายได้ของพวกเขามีมากกว่าความเสี่ยงด้านความปลอดภัย พวกเขาอาศัยอยู่ด้วยกันในบ้านบนที่ดินของ Dafna และทำงาน 8- 10 ชั่วโมงต่อวัน 6 วันต่อสัปดาห์ เพียงแค่ต้องการซื้อข้าวไทยและวัตถุดิบอื่นๆ จากประเทศไทย

ทางด้านผู่เขียนได้เดินทางไปที่ฟาร์มของ Adi Dafna ไปพูดคุยกับแรงวานชาวไทยคนหนึ่งชื่อ “พรศักดิ์” อายุ 40 ปี ทำงานที่นี่มา 13 ปีแตก่็ไม่ได้รับคำตอบมากนักเกี่ยวกัยการใข้ชีวิตและประสบการณ์สงคราม

 Adi Dafna ยอมรับว่าแรงงานไทยนถูกโดดเดี่ยวทั้งทางร่างกายและสังคม และรับรู้ทว่าเพื่อนคนงานไทยด่วยกันถูกฆ่าตาย 39 คนและ 26 คนถูกลักพาตัว

หลังจากเกิดสงครามขี้นนช่วงสัปดาห์แนกได้มีอาสาสมัครชาวอิสราเอลเข้ามาช่วยด้วยหัวใขของการรักประเทศชาติ แต่เมื่อถึงพฤศจิกายนและต้นเดือนธันวาคม มีคนเข้ามาน้อยลงเรื่อยๆ เมื่อออฟฟิศและโรงเรียนเริ่มเปิด

HaShomer HaChadash ซี่งเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรกล่าวว่า ตั้งแต่เดือนตุลาคมที่ผ่านมาได้มีชาวสหรัฐฯและฝรั่งเศสเข้ามาแล้วถึ 260,000 คน แต่ Adi Dafna กล่าวว่าไม่ใช่การแก้ปัญหาที่ยั่งยืน

เขาอธิบายว่า อคาดเดาไม่ได้ว่าอาสาสมัครจะปรากฏตัวเมื่อใด และแม้แต่ชาวเมืองที่มีฐานะดีที่สุดก็ยังมีปัญหาในการแยกแยะวัชพืชจากพืชผล หรือลืมที่จะเดินไปมาระหว่างแถวเพาะปลูก ไม นอกจากนี้ หลายคนสะดุ้งเมื่อได้กลิ่นปุ๋ย และอย่างที่ฉันสังเกตเห็น ตกใจเมื่อเห็นงู

Dafna และเกษตรกรคนอื่นๆ ต้องการคนงานที่มีค่าแรงต่ำจำนวนมากที่พร้อมจะยอมจมปักอยู่กับดิน ในทุกๆวันแม้จะมีปัญหาผิวด้านและปวดหลังก็ตาม หากไม่มีสิ่งทดแทนที่เชื่อถือได้สำหรับแรงงานไทยและปาเลสไตน์ที่พวกเขาสูญเสียไปในเดือนตุลาคม พวกเขากล่าวว่า พวกเขาจะไม่สามารถหาเลี้ยงชีพจากที่ดินเหล่านี้ได้

“นี่เป็นวิกฤตทางการเกษตรครั้งใหญ่ที่สุดเท่าที่รัฐอิสราเอลเคยเห็นมา” โฆษกของHaShomer HaChadash กล่าว

ในเดือนมกราคม คณะรัฐมนตรีของอิสราเอลได้มีมติเพิ่มอนุญาตให้แรงงานต่างชาติเข้ามา 10,000 คน แต่ส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับการดำเนินการ นอกเหนือจากประเทศไทยแล้ว อิสราเอลยังมองหาการสรรหาแรงงานจากศรีลังกา อินเดีย มอลโดวา มาลาวี และเคนยาอีกด้วย

ขณะที่สถานทูตไทยไม่รับสายกับคำถามว่าจะมีแรงงานไทยใหม่ๆ เข้ามาทำงานหรือไม่

ที่มา- https://forward.com/news/590981/israel-farm-migrant-labor-thailand/