สังเกตสัญญาณโรคหลอดเลือดสมองในหนุ่ม-สาว(stroke in the young)

stroke in the young
stroke in the young

อายุน้อยก็เสี่ยง! สังเกตสัญญาณโรคหลอดเลือดสมองในหนุ่ม-สาว (stroke in the young)พร้อมวิธีการป้องกันไม่ให้เกิดโรคสมองในวัยทำงาน เช่น ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ทานผักผลไม้ให้เยอะขึ้น

  • พบผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมากถึง 349,126 ราย
  • พบได้มากกับผู้ที่มีอายุ 18-50 ปี
  • และมักมาจากผู้ที่มีโรคประจำตัวอยู่แล้ว

ปัจจุบันเราเริ่มพบว่า ผู้ป่วยเป็น STROKE พบได้ในผู้ที่มีอายุน้อยลงในจำนวนที่มากขึ้น โดยเกิดกับผู้ที่อายุต่ำกว่า 45 ปี และจากสถิติของกระทรวงสาธารณสุขไทยระบุว่า ในแต่ละปีจะมีผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเพิ่มมากขึ้น

 โดยในปี 2566 ประเทศไทยพบผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมากถึง 349,126 ราย เสียชีวิต 36,214 ราย ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่มีอายุน้อยกว่า 70 ปี ซึ่งปกติแล้วโรคนี้มักจะเกิดขึ้นได้กับผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป ทุกเพศทุกวัย

แต่ในปัจจุบันพบได้มากกับผู้ที่มีอายุ 18-50 ปี ในประมาณร้อยละ 5 ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งเป็นจำนวนผู้ป่วยที่มากขึ้นกว่าเมื่อก่อน เรียกว่า “โรคหลอดเลือดสมองในคนอายุน้อย” (stroke in the young) โดยมีสาเหตุการเกิดโรคหลอดเลือดในสมองมากกว่าคนอายุมาก

พญ. จิรัชญา ดีสุวรรณ อายุรแพทย์ระบบประสาทและสมอง ศูนย์สมองและระบบประสาท โรงพยาบาลพญาไท 2 เปิดเผยว่าสาเหตุของการเกิดโรคหลอดเลือดสมองในคนอายุน้อย มักมาจากผู้ที่มีโรคประจำตัวอยู่แล้วได้แก่ โรคหัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง ผู้ที่สูบบุหรี่ ขาดการออกกำลังกาย มีภาวะเครียด และโรคอ้วน

อายุน้อยก็เสี่ยง! สังเกตสัญญาณโรคหลอดเลือดสมองในหนุ่ม-สาว
3 ปัจจัยสำคัญที่อาจก่อให้เกิดโรคสมองในคนอายุน้อย

โดย 3 ปัจจัยสำคัญที่อาจก่อให้เกิดโรคสมองในคนอายุน้อย ได้แก่

1. หัวใจผิดปกติ สามารถแบ่งย่อยได้เป็น 

– โครงสร้างของหัวใจผิดปกติ ที่พบบ่อยคือ มีรูรั่วที่ผนังกั้นห้องหัวใจแต่กำเนิด (patent foramen ovale)

– หัวใจเต้นผิดจังหวะ เช่น atrial fibrillation, atrial flutter, heart block เป็นต้น

2. สาเหตุจากหลอดเลือดผิดปกติ สามารถแบ่งย่อยเป็น

– โครงสร้างหลอดเลือดสมองผิดปกติ (vasculopathy) เช่น โรคโมยาโมยา, ภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง

– หลอดเลือดอักเสบ (vasculitis) มักเป็นผลมาจากโรคทางภูมิคุ้มกันผิดปกติ (autoimmune disease) เช่น SLE 

โรคแพ้ภูมิตัวเอง เป็นโรคที่ระบบภูมิคุ้มกันร่างกายทำงานผิดปกติ ทำให้เกิดการอักเสบและอาการผิดปกติในอวัยวะต่างๆของร่างกาย

3. สาเหตุจากการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ (hypercoagulable state) โดยมักสัมพันธ์กับโรคทางภูมิคุ้มกันผิดปกติ หรือโรคมะเร็ง เป็นต้น

อายุน้อยก็เสี่ยง! สังเกตสัญญาณโรคหลอดเลือดสมองในหนุ่ม-สาว
สัญญาณเตือนโรคหลอดเลือดสมองในคนอายุน้อย

ส่วนสังเกตุสัญญาณเตือนโรคหลอดเลือดสมองในคนอายุน้อย (stroke in the young) คือ

BEFAST สัญญาณเตือนโรคหลอดเลือดสมอง มีดังนี้

B = Balance เดินเซ เวียนศีรษะ บ้านหมุนฉับพลัน E = Eyes ตาพร่ามัว มองไม่เห็น เห็นภาพซ้อนฉับพลัน F = Face Dropping ใบหน้าชาหรืออ่อนแรง ยิ้มแล้วมุมปากตก A = Arm Weakness แขนขาอ่อนแรงข้างใดข้างหนึ่ง กำมือไม่ได้

S = Speech Difficulty ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด พูดลำบาก พูดไม่ได้ พูดไม่ออก T =Time to call รีบโทรศัพท์แจ้งเจ้าหน้าที่และนำส่งโรงพยาบาลทันที

อายุน้อยก็เสี่ยง! สังเกตสัญญาณโรคหลอดเลือดสมองในหนุ่ม-สาว
สังเกตสัญญาณโรคหลอดเลือดสมองในหนุ่ม-สาว

ทำอย่างไรเมื่อพบผู้ป่วยเป็นโรคหลอดเลือดสมอง

หากพบผู้ป่วยเป็น โรคหลอดเลือดสมอง ( Stroke ) สิ่งที่ผู้พบเห็นหรือญาติผู้ใกล้ชิดต้องทำคือ ให้รีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาล โดยเลือกโรงพยาบาลที่ใกล้กับจุดเกิดเหตุให้มากที่สุด หรือ โรงพยาบาลประจำที่ผู้ป่วยเคยมีประวัติการรักษาอยู่ ซึ่งระหว่างรอส่งตัวผู้ป่วยเดินทางไปยังโรงพยาบาล

ควรมีการโทรไปแจ้งที่โรงพยาบาลนั้นๆ ให้ทราบถึงอาการของผู้ป่วยเอาไว้ก่อน เพื่อที่ทางโรงพยาบาลจะได้เตรียมจัดทีมแพทย์และพยาบาลที่มีความเชี่ยวชาญด้านสมองไว้รอรับตัวผู้ป่วย หรือหากทางโรงพยาบาลไม่มีทีมแพทย์เฉพาะทางที่เกี่ยวกับโรคสมอง จะได้ติดต่อกับโรงพยาบาลอื่น เพื่อส่งตัวผู้ป่วยต่อไป ทั้งนี้ก็เพื่อพยายามรักษาชีวิตของผู้ป่วยไว้ให้ถึงที่สุด

วิธีการรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

1.ใช้ยารักษา หากผู้ป่วยสามารถมาถึงโรงพยาบาลเพื่อเข้ารับการรักษาภายใน 3 ชั่วโมง แพทย์จะใช้วิธีการให้ยาฉีดเพื่อละลายลิ่มเลือดที่อุดตัน จากนั้นแพทย์จะพิจารณาให้รับประทานยาต้านเกร็ดเลือด ยาต้านลิ่มเลือด รวมทั้งรักษาโรคที่เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรค หรือให้วิตามินขยายหลอดเลือดเพิ่มเติม แล้วแต่กรณี

2.ใช้การผ่าตัดวิธีการผ่าตัดนี้แพทย์จะวินิจฉัยเป็นรายๆไป โดยเฉพาะผู้ที่มีอาการเริ่มหนักแล้ว การผ่าตัดที่นำมาใช้นี้ ทางแพทย์จะต้องคำนึงถึงประโยชน์ต่อผู้ป่วยมากที่สุด และต้องเป็นตำแหน่งที่ปลอดภัยสามารถผ่าตัดได้โดยยึดความปลอดภัยของผู้ป่วยเป็นหลักในอดีตวิธีการผ่าตัดนี้ จะเป็นวิธีเดียวที่สามารถรักษาผู้ป่วย โรคหลอดเลือดสมอง ( Stroke ) ได้ แต่วิธีนี้ก็มีความเสี่ยงสูงเช่นกัน ประมาณ 5- 7% ที่จะเกิดการเสียชีวิตของผู้ป่วยเกิดขึ้น เนื่องจากผู้ป่วยมักจะมีอาการของโรคอื่นๆ แทรกรวมอยู่ด้วย โรงพยาบาลสมองที่ดีที่สุดจึงไม่สามารถระบุได้ เพราะขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วยแต่ละคน

3.ใช้เวชศาสตร์ฟื้นฟูเวชศาสตร์ฟื้นฟู หรือการฟื้นฟูสมรรถภาพเพื่อลดความพิการ จะใช้สำหรับผู้ป่วยที่พ้นขีดอันตรายแล้ว โดยวิธีนี้จะใช้เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถที่จะกลับมาช่วยเหลือตนเองได้ ประกอบไปด้วย การทำกายภาพบำบัด ฝึกให้ผู้ป่วยทรงตัว นั่ง ยืน เดิน ได้เอง การทำกิจกรรมบำบัดเพื่อให้แขนหรือมือใช้งานได้มากขึ้น ช่วยให้ผู้ป่วยประกอบกิจวัตรประจำวันเองได้ เช่น สามารถใส่เสื้อผ้าได้เอง เข้าห้องน้ำได้เองโดยไม้ต้องใช้คนพยุง หรือทานอาหารด้วยตนเองได้ เป็นต้น สำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาเรื่องการพูดก็ต้องใช้วิธี ฝึกออกเสียง เพื่อให้ผู้ป่วยพูดคล่องขึ้น นอกจากนี้ผู้ป่วยบางรายอาจต้องใช้อุปกรณ์เสริมให้เหมาะสมกับความพิการ เพื่อให้ผู้ป่วยช่วยเหลือตนเองได้ตามศักยภาพ เพื่อให้สามารถเข้าสู่สังคมได้ และมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้นมากที่สุด

4.การป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำเนื่องจากโรคหลอดเลือดสมอง หากเป็นแล้วจะเป็นโรคที่เรื้อรังและสามารถกลับมาเป็นซ้ำได้อีก ดังนั้น หลังจากที่ผู้ป่วยได้รับการรักษาในระยะแรกแล้ว ผู้ป่วยจะต้องรับประทานยาป้องกันลิ่มเลือดเกาะตัว รวมทั้งคอยควบคุมปัจจัยเสี่ยงที่อาจจะส่งผลให้โรคกลับมาเป็นซ้ำได้อีก โดยเฉพาะผู้ป่วยที่เคยเกิดหลอดเลือดสมองตีบมากกว่า 70% โอกาสที่จะเกิดซ้ำมีถึง 25% ในระยะเวลา 24 เดือน หรือโดยเฉลี่ย 1% ในแต่ละเดือนซึ่งถือเป็นอัตราที่สูงมาก และส่วนใหญ่การเกิดโรคซ้ำครั้งที่สองมักมีอาการรุนแรงกว่าครั้งแรกมาก

5.การรักษาด้วยการถ่างขยายหลอดเลือด Angioplasty เป็นวิธีการรักษาแนวใหม่ ที่ใช้หลักการเดียวกับการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ แต่มีความต่างกันในแง่ของเทคนิค กายวิภาค และสรีระวิทยาของทั้ง 2 อวัยวะที่ต่างกัน เป็นวิธีการรักษาหลอดเลือดที่อุดตัน โดยใช้สายสวนที่มีบอลลูนขนาดเล็กอยู่บริเวณส่วนปลาย ใส่เข้าไปให้ถึงในจุดที่มีหลอดเลือดตีบแคบ แล้วจึงขยายบอลลูนให้พองออกตรงตำแหน่งที่ตีบพอดี

วิธีการป้องกันไม่ให้เกิดโรคสมองในวัยทำงาน

–      ตรวจวัดความดันเลือดอย่างสม่ำเสมอ และควบคุมให้อยู่ในระดับปกติ

–      ควบคุมน้ำหนักให้อยู่เกณฑ์ปกติ ลดน้ำหนักเมื่อเริ่มสูงเกินเกณฑ์

–      ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

–      เลือกรับประทานอาหาร โดยลดอาหารที่มีคลอเรสเตอรอลและไขมันอิ่มตัวสูง และทานผักผลไม้ให้มากขึ้น

–      ลดการดื่มแอลกอฮอล์

–      หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ และการใช้สารเสพติด

–      ตรวจสุขภาพเป็นประจำปีทุกปี

ดังนั้นส่วนสำคัญในการรักษาโรคหลอดเลือดสมองในคนอายุน้อย คือการหาสาเหตุโดยละเอียด อย่างรวดเร็ว และครอบคลุมโดยทีมแพทย์เฉพาะทาง ก็จะช่วยลดโอกาสที่จะพิการหรือเสียชีวิตได้ลดลงมากเท่านั้น

อ่านข่าวเพิ่มเติม https://www.phyathai.com/th/center/pyt1-center-2

https://thejournalistclub.com/helth-news55-09032024/252104/