7 ข้อเสนอนโยบายทรานส์ฟอร์มประเทศไทยจาก “สภาดิจิทัล” จ่อส่งถึง “รัฐบาลชุด” ใหม่

  • โจทย์ใหญ่ไทยแลนด์ 5.0 
  • เปลี่ยนผ่านประเทศไทยสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิทัล
  • ผสานรัฐและเอกชนช่วยขับเคลื่อนทุกภาคส่วน 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังการเลือกตั้งปี66 เสร็จสิ้น แม้การนับคะแนนนยังไม่เสร็จสิ้นอย่างเป็นทางการ และคณะกรรมการเลือกตั้ง (กกต.)​ยังไม่รับรอง และยังไม่ได้แถลงนโยบายรัฐบาลต่อรัฐบาล แต่TheJournalistclub ขอรวบรวบสิ่งที่สภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทยที่มีนายศุภชัย เจียรวนนท์ เป็นประธาน เคยกล่าวไว้ในการเตรียม   ข้อเสนอของสภาดิจิทัลฯ  7 ประเด็นสำคัญ  เพื่อเป็นแนวทางแก่รัฐบาลใหม่ในการเปลี่ยนผ่านประเทศไทยสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิทัล ดังนี้  

1. กำหนดวิชาภาษาคอมพิวเตอร์/Computer Science เป็นวิชาหลักในการหลักสูตรการศึกษาพื้นฐาน และเด็กทุกคนต้องมีคอมพิวเตอร์ที่มีซอฟต์แวร์คัดกรองที่ดีและมีคุณธรรมในการใช้เทคโนโลยี 
2. ส่งเสริม Media & Content ที่เกี่ยวกับคุณธรรมและจริยธรรม ในช่วง Prime Time ด้วยการให้ Incentive  
3. ตั้งเป้าเทคสตาร์ทอัพ 20,000 บริษัท เพื่อช่วย Digital Transformation และ Digital & Tech Workforce 1 ล้านคน 
4. ยกระดับการเกษตร Agro Industry Transformation / Smart Farming / Food Tech & Brand / สร้าง 3,000-5,000 องค์กร สหกรณ์และวิสาหกิจชุมชน 5.0 

5. ดึงดูดคนเก่งและคนดีเข้าสู่ระบบราชการระดับบริหารด้วยการปรับเงินเดือน เทียบเท่าหรือสูงกว่าเอกชน ปรับรัฐบาลเป็นรัฐบาลดิจิทัล (E-Government) และควรมีข้าราชการที่มีทักษะดิจิทัลอย่างน้อย 20% 
6. สร้าง 5 Innovation Centers ระดับโลก ได้แก่ 1. Bio 2. Nano & Energy 3. Robotic & Digital 4. Space 5. Preventive Health Care/Health Tech 
7. สนับสนุนการต่อยอดผู้ประกอบการไทย  

“สภาดิจิทัลฯ เล็งเห็นถึงความสำคัญในการผลักดันนโยบายด้านเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล เพื่อการพัฒนาประเทศให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก สร้างขีดความสามารถให้แก่ประเทศไทย ทำให้คนไทยและธุรกิจไทยแข็งแกร่ง จึงมีการแถลงนโยบายทรานส์ฟอร์มประเทศไทย มุ่งสร้างศักยภาพการแข่งขันด้านเทคโนโลยีดิจิทัลทุกมิติ เพื่อเป็นแนวทางให้พรรคการเมืองนำไปกำหนดเป็นนโยบายพัฒนาประเทศ ยกระดับเศรษฐกิจไทยให้มีความแข็งแกร่ง ควบคู่ไปกับสร้างขีดความสามารถการแข่งขันสูงขึ้น”