CEO อิสตันบูล แอร์พอร์ต ผ่าโมเดลฟื้นธุรกิจโตหลังโควิด ยันจุดแข็ง “แรงงานภาคพื้น” รุกผนึกทอท.บูมเอเชีย-ยุโรป

  • ซีอีโอ “อิสตันบูล แอร์พอร์ต” ผ่าธุรกิจสนามบินต้นแบบโลก “พลิกฟื้นเร็ว”หลังโควิด 19 กลับมาโตก้าวกระโดดสูงถึง 70%
  • เปิดจุดแข็ง “บริหารแรงงานภาคพื้น” ดีเยี่ยม ต่างจากสนามบินทั่วยุโรปเผชิญปัญหาใหญ่ขาดคนทำงาน
  • เร่งจับมือ ทอท.ประตูใหญ่เอเชีย เชื่อมสัมพันธ์ตลาดปี’71 อิสตันบูลพร้อมเปิดเทอร์มินัลใหม่ปีละ 200 ล้านคน

Mr. Kadri Samsunlu Chief Executive Officer, iGA ผู้บริหารสนามบินนานาชาติอิสตันบูล หรือ Istanbul Airport) ประเทศทูร์เคีย (ตุรกี)  เปิดเผยว่า ในการลงนามความร่วมมือกับ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) “ทอท/AOT ถือเป็นความร่วมมือครั้งสำคัญของสองประเทศทั้งไทยกับทูร์เคียซึ่งเป็นจุดเปลี่ยนพลิกฟื้นการบินหลังสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ของผู้โดยสารในสหภาพยุโรปเชื่อมโยงเข้ากับภูมิภาคเอเชียด้วย

เพราะขณะนี้ “สนามบินนานชาติอิสตันบูล” กลับมาเปิดบริการใหม่อีกครั้งก็เริ่มมีผู้โดยสารกลับมาใช้บริการแล้ว 67-70 % ตามเป้าหมายปี 2565 จะมีผู้โดยสารใช้บริการถึง 47.6 ล้านคน เที่ยวบินเฉลี่ย 1,310 เที่ยว/วัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันกับปีก่อนประมาณ 34.1 %

โดยได้เดินหน้าแผนลงทุนขยายพื้นที่รองรับผู้โดยสารอีก 5 ปีหน้า กำลังทยอยก่อสร้างเพื่อให้แล้วภายในปี 2571 จะเพิ่มขีดความสามารถรองรับปริมาณผู้โดยสารได้มากถึง 200 ล้านคน/ปี จากปัจจุบันรับได้ 90 ล้านคน/ปี

Mr. Kadri Samsunlu กล่าวว่าพร้อมจะนำธุรกิจสนามบินรับมือกับการจะต้องอยู่กับโควิด-19 ซึ่งยังคงต้องอยู่กับคนทั่วโลกต่อไป เพียงแต่จะต้องวางแผนบริหารจัดการปริมาณจราจรผู้โดยสารภายในสนามบินให้เกิดความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัย ตัวอย่างภูมิภาคเอเชีย และประเทศไทย ส่วนใหญ่จะรักษามาตรฐานการเว้นระยะห่างสร้างความปลอดภัยจากโรคระบาดได้ และถึงแม้ สาธารณรัฐประชาชนจีนซึ่งมีประชากรเดินทางระหว่างประเทศมากเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก ขณะนี้ยังคงปิดประเทศอยู่นั้น อีกไม่นานก็จะกลับมาเดินทาง เช่นเดียวกับ ญี่ปุ่น เกาหลี ไทย ประกาศเปิดประเทศเรียบร้อยแล้ว

ส่วนสนามบินนานาชาติอิสตันบูล สามารถฟื้นผู้โดยสารกลับมาใช้บริการได้อย่างรวดเร็ว ขณะนี้มีปริมาณการใช้คับคั่งมากเป็นอันดับต้น ๆ ของยุโรป เนื่องจากใช้แผนเรื่อง “การรักษาบุคลากรบริการ” ไว้ได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะ“ด้านบริการภาคพื้นและการขนสัมภาระ” ได้ฝึกทักษะอบรมพนักงานขนสัมภาระกระเป๋าผู้โดยสารในสนามบิน ในช่วงโควิด-19 แทบจะไม่ได้ปลดคนแต่อย่างใด รวมทั้งได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีจากรัฐบาล แตกต่างจากสนามบินในสหภาพยุโรปอีกหลายประเทศ มีปัญหาหนักจากช่วงโควิดได้ลดการจ้างงานเป็นจำนวนมาก เมื่อกลับมาเปิดสนามบินอีกครั้งจึงต้องเผชิญความท้าทายไม่สามารถนำบุคลากรกลับเข้าระบบได้

Mr. Kadri Samsunlu กล่าวว่า ตนมีความหวัง ความปรารถนา กับเอเชียจะเป็นภูมิภาคที่มีความเข้มแข็งสามารถจะฟื้นธุรกิจการเดินทางให้กลับเข้าสู่ปกติได้ภายอนาคตอันใกล้นี้

สำหรับ Istanbul Airport เป็นท่าอากาศยานนานาชาติหลักของเมืองอิสตันบูล ประเทศทูร์เคีย เน้นการนำเทคโนโลยีดิจิทัลสมัยใหม่และนวัตกรรมเข้ามาพัฒนาคุณภาพการให้บริการและสิ่งอำนวยความสะดวก เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีให้แก่ผู้โดยสาร

ปี 2565 เป็นสนามบินนานาชาติที่ประสบความสำเร็จได้รับรางวัลมากมายจากหลายสถาบัน เช่น จากSkytrax – The World’s Most Family Friendly Airport 2022 and Best Airport in Southern Europe และได้รับการจัดอันดับให้เป็นท่าอากาศยานที่มีผู้ใช้บริการคับคั่งที่สุดในยุโรปแห่งปี 2022 (The Busiest Airport in Europe in 2022) ถึงแม้จะเพิ่งเปิดบริการเมื่อปี 2561 สามารถบริหารจัดการจนผู้โดยสารเติบโตแบบก้าวกระโดดเป็นโมเดลที่น่าสนใจของไทยด้วยเช่นกัน

เรื่องโดย…#เพ็ญรุ่ง ใยสามเสน #gurutourza,www.facebook.com/penroongyaisamsaen