รถไฟฟ้า มาอีกช่วง สายสีม่วง เตาปูน – ราษฎร์บูรณะ

สุริยะ หัวขุดเจาะ อุโมงค์ใต้ดิน รถไฟฟ้า สายสีม่วง เตาปูน
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธาน เปิดพิธีเดินเครื่องหัวเจาะอุโมงค์ โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก)

“สุริยะ” กดปุ่มเครื่องหัวเจาะอุโมงค์ โครงการ รถไฟฟ้า สายสีม่วง ช่วงเตาปูน – ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) เน้นก่อสร้าง รถไฟฟ้า สายสีม่วง ต้องมีความปลอดภัย  พร้อมเปิดให้บริการ ปี 2571

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (26 เมษายน 2567 ) นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธาน เปิดพิธี เดินเครื่อง หัวเจาะอุโมงค์ โครงการ รถไฟฟ้า สายสีม่วง ช่วงเตาปูน – ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก)

สัญญาที่ 1 ช่วงเตาปูน – หอสมุดแห่งชาติ และสัญญาที่ 2 ช่วงหอสมุดแห่งชาติ – ผ่านฟ้า ในวันที่ 26 เมษายน 2567 ณ จุดก่อสร้าง อุโมงค์ Cut & Cover กองพลทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 

สำหรับ โครงการ รถไฟฟ้า สายสีม่วง ช่วงเตาปูน – ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) เป็นการ ขยายเส้นทาง และพัฒนา โครงข่าย ระบบขนส่งมวลชน ที่มีประสิทธิภาพ

โดยจะเป็น ระบบ รถไฟฟ้า ขนส่งมวลชน ที่เชื่อมโยง พื้นที่และรองรับ การเดินทาง เชื่อมต่อ ของประชาชน ในแนวเหนือ – ใต้

สุริยะ หัวขุดเจาะ อุโมงค์ใต้ดิน รถไฟฟ้า สายสีม่วง
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธาน เปิดพิธีเดินเครื่องหัวเจาะอุโมงค์ โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน – ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก)

จากพื้นที่ กรุงเทพมหานครชั้นใน ไปยัง พื้นที่จังหวัดนนทบุรี และสมุทรปราการ ช่วยเติมเต็ม โครงข่าย การเดินทาง ด้วยระบบ รถไฟฟ้า ขนส่งมวลชน ให้สมบูรณ์ ยิ่งขึ้น สร้างโอกาสอันดี ในการพัฒนา พื้นที่ทางเศรษฐกิจ ให้แก่ชุมชน โดยรอบแนวสายทางโครงการฯ ให้เกิดขึ้น ในอนาคต

รถไฟฟ้า สายสีม่วง ช่วงเตาปูน – ราษฎร์บูรณะ คืบหน้า 30%

ปัจจุบัน มีความคืบหน้า การก่อสร้างงานโยธา กว่า 30% เร็วกว่าแผน ร้อยละ 0.06%

ซึ่งในวันนี้ เป็นการเริ่ม เดินเครื่องหัวเจาะอุโมงค์ Cut & Cover ของโครงการฯ สัญญาที่ 1 ช่วงเตาปูน – หอสมุดแห่งชาติ

ซึ่งเป็นงานออกแบบ และก่อสร้างอุโมงค์ ทางวิ่งรถไฟฟ้า ระยะทาง ประมาณ 4.8 กิโลเมตร อุโมงค์คู่ลึก 16 – 35 เมตร

มีสถานีรถไฟฟ้า ใต้ดิน จำนวน 3 สถานี และสัญญาที่ 2 ช่วงหอสมุดแห่งชาติ – ผ่านฟ้า งานออกแบบ

และก่อสร้างอุโมงค์ทางวิ่งรถไฟฟ้า ระยะทางประมาณ 2.4 กิโลเมตร อุโมงค์คู่ลึก 23 – 46 เมตร มีสถานีรถไฟฟ้า ใต้ดิน จำนวน 3 สถานี

นายสุริยะ กล่าว่า การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้ดำเนิน โครงการ รถไฟฟ้า สายสีม่วง ช่วงเตาปูน – ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก)

โดยมี ระยะทาง รวมทั้งสิ้น 23.63 กิโลเมตร จำนวน 17 สถานี เป็นโครงสร้างทางวิ่ง ใต้ดิน 14.29 กิโลเมตร สถานีใต้ดิน 10 สถานี

และโครงสร้างทางวิ่ง ยกระดับ 9.34 กิโลเมตร สถานี ยกระดับ 7 สถานี

วันที่ 26 เมษายน 2567 นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธาน เปิดพิธีเดินเครื่องหัวเจาะอุโมงค์ โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน – ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก)

เปิดให้บริการได้ปี 2571

มีแนวเส้นทาง เริ่มต้น จากสถานีเตาปูน ซึ่งเป็นสถานี ร่วมกับ รถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม (MRT สายสีม่วง) และรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (MRT สายสีน้ำเงิน) คาดว่า จะเปิด ให้บริการ ได้ภายในปี 2571

เมื่อโครงการฯ แล้วเสร็จ จะเป็น การสนับสนุน ให้ประชาชน หันมาใช้บริการ ระบบ รถไฟฟ้า เป็นระบบ ขนส่งมวลชนหลัก  เพื่อลดความหนาแน่น ของการ จราจร บนท้องถนน ตลอดจน ช่วยลดมลพิษ ให้กับสิ่งแวดล้อม จากการลด การใช้รถยนต์ส่วนบุคคล

ซึ่ง รฟม. ได้คำนึงถึง อัตลักษณ์ ของพื้นที่ โดยให้โครงการ ดำเนินการออกแบบ สถาปัตยกรรม สถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน ให้มีความกลมกลืน กับพื้นที่มรดก ทางวัฒนธรรมของชาติ

เช่น สถานีรัฐสภา สถานีศรีย่าน สถานีวชิรพยาบาล สถานีหอสมุดแห่งชาติ สถานีบางขุนพรหม สถานีอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ฯลฯ เพื่อให้เป็น แลนด์มาร์ก ที่โดดเด่น และเป็น ที่ประทับใจแก่ผู้ใช้บริการต่ อไป

กระทรวงคมนาคม ขับเคลื่อน นโยบายส่งเสริมระบบการขนส่งมวลชน ระบบราง ของประเทศ โดยให้ความสำคัญ ต่อเรื่อง มาตรฐาน การก่อสร้าง ที่มีความปลอดภัย

มีการจัดการ ด้านสิ่งแวดล้อมที่ดี โดยเน้นย้ำ รฟม. และผู้รับจ้างในเรื่องการจัดการจราจร ระหว่างการก่อสร้าง ให้เหมาะสม หากมีการ ปิดเบี่ยง เส้นทาง จราจร จะต้องส่งผลกระทบ ต่อประชาชนผู้ใช้เส้นทาง น้อยที่สุด

เพื่ออำนวย ความสะดวก ในการเดินทาง ให้แก่ผู้ใช้รถ ใช้ถนน และต้องดำเนินการ ตามมาตรการ ด้านความปลอดภัยในการก่อสร้าง อย่างสูงสุด

ควบคู่ กับการดำเนินงาน ตามมาตรการ ลดผลกระทบ ด้านสิ่งแวดล้อม และฝุ่นละออง PM2.5 ในระหว่าง การก่อสร้าง อย่างเคร่งครัดต่อเนื่อง เพื่อให้เกิด ความปลอดภัย และความมั่นใจ แก่ประชาชน

กระทรวงคมนาคม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : รฟม.แจงข้อเท็จจริง กรณีเหล็กเส้นรถไฟฟ้าสายสีม่วงร่วงในพื้นที่ก่อสร้าง