ไอเอ็มเอฟปรับประมาณการณ์เศรษฐกิจเอเชียโตจาก 5.4%เป็น 5% ปี 2562

  • ปี 2563 โต 5.1 %ลดลง 0.3 %จากประมาณการณ์ก่อนหน้า
  • ผลจากมาตรการกีดกันทางการค้าจีน-สหรัฐ
  • เศรษฐกิจโลกชะลอตัว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กองทุนการเงินระหว่างประเทศ(ไอเอ็มเอฟ) ได้ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย 0.4% ในปี 2562 จาก 5.4 %เหลือ 5% ผลจากมาตรการกีดกันทางการค้าและความไม่แน่นอนจากนโยบายเศรษฐกิจโลก โดยรายงานล่าสุดประจำเดือนต.ค. ของไอเอ็มเอฟ ระบุว่า เศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียมีแนวโน้มเติบโต 5% ในปี 2562 ลดลงจากที่ประมาณการณ์ในเดือนเมษายนปี 2562 ที่ระบุว่าเศรษฐฏิจเอเชียจะเติบโต 5.4 %ในปี 2562

ทั้งนี้รายงานให้ความเห็นว่า ถึงแม้ว่าภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกจะเป็นภูมิภาคที่มีอัตราการเติบโตสูงที่สุดในโลก โดยสนับสนุนการขยายตัว ของเศรษฐกิจโลกมากถึงสองในสาม แต่ความไม่แน่นอนของนโยบายเศรษฐกิจโลกที่ยืดเยอื้ มาตรการกีดกัน ทางการค้า และการชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าหลัก ต่างก็เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อ การขยายตัวของเศรษฐกิจในภูมิภาค ซึ่งมีแนวโน้มชะลอลงในระยะสั้นอย่างเห็นได้ชัดเมื่อเทียบกับประมาณ การจากรายงานแนวโน้มเศรษฐกิจโลกของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ณ เดือนเมษายน พ.ศ. 2562 (April 2019 World Economic Outlook) โดยมีความเสี่ยงด้านต่างๆ เพิ่มสูงขึ้น

นอกจากนี้ไอเอ็มเอฟ ยังได้คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจเอเชียมีแนวโน้มขยายตัว 5.0 %ในปี 2562 และ 5.1 %ในปี 2563 ซึ่งชะลอลงจากปีที่ผ่านมาและต่ำกว่าประมาณการ ณ เดือนเมษายน 2562 % 0.4 และ 0.3 %ตามลำดับ โดยการค้าและการ ลงทุนชะลอตัวอย่างมีนัยสำคัญเป็นผลจากมาตรการกีดกันทางการค้าและความไม่แน่นอนของนโยบายเศรษฐกิจ โลก ซึ่งส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคการผลิต สำหรับการดำเนินนโยบาย การเงินแบบผ่อนคลายในประเทศพัฒนาแล้วและภาวะการเงินโลกที่ผ่อนคลายมากขึ้นนั้น แม้จะเป็นปัจจัยที่ ช่วยประคับประคองการขยายตัวของเศรษฐกิจเอเชีย แต่ในขณะเดียวกันก็อาจส่งผลกระทบต่อความ เปราะบางทางการเงินของประเทศในภูมิภาค


นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเสี่ยงภายนอกภูมิภาค ได้แก่ ความตึงเครียดทางการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีนที่อาจจะทวีความรุนแรงมากขนึ้ เศรษฐกิจประเทศคู่ค้าหลักที่ ชะลอตัวกว่าที่คาดไว้ ราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขนึ้ และความเสี่ยงจากการแยกตัวของสหราชอาณาจักรออก จากสหภาพยุโรปแบบไร้ข้อตกลง อีกทงั้ปัจจัยเสี่ยงภายในภูมิภาค ได้แก่ การชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนที่เร็ว กว่าที่คาดการณ์ไว้ ความตึงเครียดภายในภูมิภาคที่เพิ่มขนึ้ เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างญี่ป่นุและเกาหลี ความ ขัดแย้งเชิงภูมิรัฐศาสตร์ที่เพิ่มขนึ้ และความเสี่ยงจากภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เพิ่มสูงขนึ้


ทั้งนี้ภายใต้แนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ชะลอลง การบริหารนโยบายเศรษฐกิจมหภาคควรใช้ขีด ความสามารถของนโยบายการคลังและนโยบายการเงินที่มีอยู่เพื่อสนับสนุนการขยายตัวของอุปสงค์ ภายในประเทศ ขณะที่การดำเนินนโยบายในภาคการเงินควรมีการปรับตัวในเชิงรุกเพื่อป้องกันไม่ให้ภาวะ การเงินโลกที่ผ่อนคลายมากขนึ้นนั้เร่งให้เกิดความเสี่ยงต่อเสถียรภาพทางการเงิน โดยเฉพาะมาตรการลด ปัญหาหนี้สินภาคธุรกิจและภาคครัวเรือนในประเทศที่มีความเสี่ยงดังกล่าว

นอกจากนี้การขยายตัวทาง เศรษฐกิจที่ชะลอลงยังเน้นให้เห็นถึงความจำเป็นในการปฏิรูปเชิงโครงสร้าง เพื่อเพิ่มศักยภาพการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการเติบโตอย่างมีส่วนร่วม กอปรกับการเติบโตบนความยั่งยืนทางเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม โดยนโยบายในการปฏิรูปเชิงโครงสร้าง ได้แก่ การเปิดเสรีทางการค้าให้มากขนึ้ผ่านการลดมาตรการกีดกันทาง การค้าที่ไม่ใช่ภาษีให้แก่การค้าบริการระหว่างประเทศและการผ่อนคลายเงื่อนไขการลงทุน การลงทุนเพื่อ พัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยการยกระดับทุนมนุษย์พร้อมกับการเสริมสร้างศักยภาพของผ้หูญิงและเด็ก นโยบายด้านจำนวนแรงงานโดยเพิ่มบทบาทการมีส่วนร่วมของแรงงานสตรี การยกระดับโครงสร้างพนื้ฐาน และการปรับปรุงระเบยีบกฎเกณฑ์ ตลอดจนมาตรการเพื่อลดปัจจัยที่เร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทาง ภูมิอากาศ รวมถึงการสร้างกันชนทางการคลังเพื่อรับมือต่อภัยพิบเติมทางธรรมชาติที่เพิ่มมากขึ้น

ขอบคุณภาพจากเอเอฟพี