สศช.ฝากอนาคตเศรษฐกิจประเทศไว้ที่มือคนเจนวาย

สศช.ออกบทความเรื่องการพัฒนาคนเจนวาย วาง 4 ด้านเร่งพัฒนาคนเจนวาย ที่เป็นอนาคตของประเทศในอีก 20 ปีข้างหน้า หลังพบ 10 ลักษณะของคนเจนวาย จึงต้องวางแผนให้คนเจนวายขับเคลื่อนประเทศในอนาคต

นางสาวจินางค์กูร โรจนนันต์ รองเลขาธิการสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สศช. เปิดเผยว่า สศช.ได้จัดทำบทความเรื่อง “การพัฒนา Generation Y เพื่อรองรับการขับเคลื่อนประเทศ” โดยพบว่า คน Gen Y หรือเจนวาย จะเป็นแรงงานกลุ่มใหญ่ที่สุดของประเทศในอีก 20 ปีข้างหน้า ซึ่งมี 10 ลักษณะที่สำคัญคือ 1.เป็นกลุ่มคนที่ได้รับการศึกษาสูงขึ้นมากกว่าคนเจนอื่นๆ 2.มีความคุ้นเคยกับเทค โนโลยี 3.มีทักษะสูงเมื่อเข้าสู่ตลาดแรงงาน 4.มีพฤติกรรมการทำงานที่เน้นความเป็นอิสระในการทำงาน 5.สามารถจัดระ บบการทำงานเองได้ 6.มีการใช้จ่ายสินค้าที่ไม่จำเป็น 7.มีแนวโน้มการก่อหนี้เพิ่มขึ้น 8.กาดการตระหนักในเรื่องการวาง แผนด้านการเงินในอนาคต 9.แต่งงานช้าและให้ความสำคัญกับการมีบุตรน้อยลง และ10.ให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพน้อย

สำหรับคนเจนวายกับการขับเคลื่อนประเทศในอนาคต ดังนี้ 1.การครองโสดมากขึ้นและไม่นิยมมีบุตรของคนเจนวายเนื่องจากรักอิสระ ต้องการทำงานเพื่อประสบความสำเร็จ และการมีสังคมกับเพื่อนฝูง ส่งผลให้ประชากรไทยมีแนวโน้มลดลง และอัตราส่วนการพึ่งพิง (Dependency Ratio) ของประชากรที่ไม่ได้ทำงานต่อประชากรที่ทำงานสูงขึ้น ส่งผลต่อการขาดแคลนแรงงาน และการมีภาระทางการเงินการคลังเพิ่มขึ้นจากการมีจำนวนผู้สูงวัยเพิ่มขึ้น 2.จำนวนแรงงานที่ลด ลงส่งผลต่อความต้องการแรงงานที่มีคุณภาพ และตรงตามความต้องการของตลาดแรงงาน โดยจำนวนคนเจนวาย จะไม่สามารถทดแทนประชากรสูงอายุที่ออกจากตลาดแรงงานได้ และการจะรักษาระดับการผลิตไว้เท่าเดิมหรือเพิ่มขึ้น แรงงานจะต้องมีทักษะที่สูงขึ้นเพื่อชดเชยกำลังแรงงานที่ลดลง

3.รูปแบบการทำงานที่เป็นอิสระ ต้องการสร้างสมดุลการทำงานกับชีวิตส่วนตัวของคนเจนวาย ทำให้คนเจนวาย มีแนวโน้มของรายได้ไม่แน่นอน และขาดหลักประกันในการทำงาน ส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของหนี้สินส่วนบุคคล ครัวเรือน และความยั่ง ยืนของระบบสวัสดิการสังคมของประเทศ และ 4.พฤติกรรมการบริโภค และการใช้ชีวิต มีความเสี่ยงด้านสุขภาพ ทำให้สูญ เสียกำลังคนในการพัฒนาประเทศ หรือมีค่าใช้จ่ายที่ต้องดูแลกลุ่มผู้พิการเพิ่มขึ้น

ส่วนข้อเสนอแนะการยกระดับศักยภาพคนเจนวาย สู่การขับเคลื่อนประเทศ ประกอบด้วย 1.การพัฒนาระบบสนับสนุนและสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อให้คนเจนวาย สามารถทำหน้าที่ในการดูแลบุตร และผู้สูงอายุได้ดีขึ้น ขณะที่ยังคงทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อาทิ โดยเพิ่มบทบาทของผู้ชายในการเลี้ยงดูบุตรและรับผิดชอบครอบครัวให้มากขึ้น การสร้างสภาพ แวดล้อมให้ผู้หญิงตัดสินใจมีบุตรโดยที่ยังมีความก้าวหน้าทางอาชีพได้ การมีสถานรับเลี้ยงเด็กและสถานดูแลผู้สูงอายุที่มีคุณภาพมาตรฐาน มีราคาที่สมเหตุสมผล การจัดให้มีสถานรับเลี้ยงเด็กที่ไว้วางใจได้ในที่ทำงาน ตลอดจนสนับสนุนให้มีสวัสดิการสำหรับผู้สูงอายุให้สามารถช่วยเหลือตัวเองได้

2.การปรับหลักสูตร การส่งเสริมการยกระดับทักษะ (Up-skill) และการปรับเปลี่ยนทักษะ (Re-skill) รวมถึงทักษะอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับการทำงานที่สอดรับกับการพัฒนาประเทศ และแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในอนาคต โดยเฉพาะทักษะด้านการสื่อสารและปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ทักษะความคิดสร้างสรรค์ และทักษะด้านการคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหา เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานที่เทคโนโลยีไม่สามารถเรียนรู้ได้ และเท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่อาจเข้ามากระทบ ขณะเดียวกันต้องพัฒนาหลักสูตรการศึกษา และการฝึกอบรมที่มีคุณภาพและตอบสนองต่อทิศทางการพัฒนาประเทศ

3.การสร้างความมั่นคงในชีวิต โดยมีระบบหลักประกันการทำงานที่ตอบสนองต่อรูปแบบการทำงานที่เปลี่ยนแปลงไป มีระบบหลักประกันการทำงานที่ครอบคลุมและตอบสนองต่อรูปแบบการทำงานที่เปลี่ยนแปลงไปของคนเจนวาย การสร้างระบบการออมเพื่อเป็นหลักประกันด้านความมั่นคงในชีวิตยามเกษียณ อาทิ การส่งเสริมการออมภาคบังคับ รวมถึงจะต้องสร้างทักษะทางด้านการเงิน

และ4. การส่งเสริมให้มีสุขภาวะที่ดี โดยส่งเสริมและเผยแพร่องค์ความรู้ด้านสุขภาวะที่ถูกต้องเหมาะสมครอบคลุมกิจกรรม ทั้งการให้ความรู้และการพัฒนาพฤติกรรม โดยอาศัยการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการติดตามและชักจูงให้ประชาชนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปสู่การมีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม รวมถึงการลดปัจจัยเสี่ยงอุบัติเหตุทางถนนเพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุ ทั้งการแก้ไขปัญหาทางกายภาพของถนน และยานพาหนะให้มีมาตรฐานความปลอดภัย.