มาดูกันว่าทำไมพี่เบิ้มแห่งยุโรป “เยอรมัน” ติดเชื้อโควิด19 เกือบ 2 หมื่นรายกลับเสียชีวิตเพียง 68 ราย คิดเป็นเพียง 0.34% เท่านั้น

ในรอบ 10 วันที่ผ่านมา สถานการณ์การแพร่ระบาดของประเทศเยอรมัน ณ วันที่ 11 มีนาคม 2563 ประเทศพี่เบิ้มแห่งยุโรปมีอัตราการติดเชื้อ จำนวน 1,622 ราย มีผู้เสียชีวิตเพียง 3 รายเท่านั้น

ซึ่งนางอังเกลา แมร์เคิล นายกรัฐมนตรีแห่งประเทศเยอรมัน ได้เปิดเผยการคาดการณ์กันว่าตัวเลขชาวเยอรมันจะติดเชื้อถึง 60-70 ราย จากจำนวนประชากร 58 ล้านคนหรือคิดคร่าวๆ เกือบ 38 ล้านคน

ตัวเลขการประเมินดังกล่าวได้สร้างความประหลาดใจว่าทำไม ทางการเยอรมันถึงมองภาวะวิกฤตนี้เลวร้ายที่สุด ซึ่งหลายเสียงมองเห็นตรงกันว่าเป็นการประกาศเตือนชาวเยอรมันให้ตื่นตั้งรับกับวิกฤตไวรัสครั้งนี้ให้พร้อมมากที่สุดนั่นเอง

จนมาถึงวันที่ 21 มีนาคม 2563 ตัวเลขพุ่งไป 19,848 ราย แต่กลับเสียชีวิตเพียง 68 ราย คิดเป็นเพียง 0.34% นับว่าต่ำมากๆ ยิ่งไปเทียบกับประเทศอิตาลีที่นับว่าวิกฤตหนักที่สุดมีผู้ป่วยติดเชื้อถึง 47,021 ราย ผู้เสียชีวิตถึง 4,032 ราย สัดส่วนการเสียชีวิตสูงถึง 8.6%

ผู้นำเยอรมันปลุกเร้าความเชื่อมั่นให้คนในประเทศ

นางแมร์เคิล ได้กล่าวคำปราศัยถึงประชาชนชาวเยอรมันถึงวิกฤตการแพร่ระบาดไวรัสนี้ว่า จะเกิดขึ้นอะไรต่อไปในวันข้างหน้า พร้อมกับกล่าวหนักแน่นให้ความมั่นใจว่าจะประสบความสำเร็จหากประชาชนทุกคนมองว่าเป็นหน้าที่ร่วมกัน ซึ่งนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 ไม่เคยมีความท้าทายที่จะคุกคามเยอรมันได้มากขนาดนี้ 

พร้อมกับระบุถึงระบบการแพทย์ของเยอรมันที่เยี่ยมยอดอาจจะเป็นประเทศที่ดีที่สุดในโลก ได้ขอบคุณแพทย์ และบุคลากรทางการแพทย์ และเตือนให้ประชาชนใช้ชีวิตนอกบ้านให้น้อยที่สุด และยืนยันถึงการซื้อสินค้าในซูเปอร์มาร์เก็ตเกินความต้องการเป็นสิ่งที่ไร้ประโยชน์ เป็นสิ่งแสดงถึงการขาดจิตสำนักร่วมกันอย่างร้ายแรง และได้กล่าวขอบคุณพนักงานเก็บเงิน พนักงานเติมสินค้าในชั้นวางสินค้าที่ทำงานสำคัญและยากลำบากที่สุดในเวลานี้

พร้อมกล่าวถึงมาตรการเร่งด่วน จะต้องจริงจังไม่ตื่นตนก ไม่โทษกันเอง ต้องไม่ประนามว่าการรับมือการแพร่ระบาดเป็นไปอย่างเฉื่อยชา มีวิธีการแก้ไขรักษา แม้ว่าจะต้องเว้นระยะห่างจากกัน และอย่าหลงเชื่อข่าวลือใด

ภาพจาก Axel Schmidt/REUTERS

มีเตียงรองรับผู้ป่วยหนักมากและมีเครือข่ายตรวจไวรัสท้่วประเทศ 

มีรายงานว่าวิเคราะห์ถึงสาเหตุหนึ่งที่ประเทศเยอรมัน มีอัตราการเสียชีวิตต่ำเพราะโรงพยาบาลต่างๆ มีจำนวนเตียงรอบรับผู้ป่วยหนักมากถึงประมาณ  25,000 เตียง พร้อมเครื่องช่วยหายใจ ซึ่งช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็ว และรัฐบาลจะเพิ่มจำนวนเตียงในห้องผู้ป่วยวิกฤตขึ้นอีก 2 เท่า เพื่อปัองกันปัญหาผู้ป่วยล้นโรงพยาบาล

แม้แต่โรงแรมและห้องจัดเลี้ยงขนาดใหญ่ก็จะปรับพื้นที่ให้เตรียมรองรับทำเป็นโรงพยาบาลสนามเพื่อรองรับผู้ป่วยที่อาการไม่รุนแรงด้วย เพื่อให้ผู้ป่วยอาการหนักได้เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล

เมื่อมาดูฝรั่งเศส มีเตียงสำหรับผู้ป่วยวิกฤต 7,000 เตียง และอิตาลี 5,000 เตียง ส่วนอังกฤษมีประมาณ 4,000 เตียง และมีเครื่องช่วยหายใจประมาณ 5,000 เครื่อง

อีกสาเหตุที่หนึ่งที่พราะมีการตรวจเชื้อไวรัสโควิด-19 ตั้งแต่ต้นเดือนมกราคม และเยอรมันมีความพร้อมเพราะมีห้องแล็บทั่วประเทศ ตรวจเชื้อได้ประมาณ 12,000 คนต่อวัน หากผู้ป่วยแสดงอาการแล้ว จะถูกส่งตัวไปยังพื้นที่เสี่ยงทันที

อย่างไรก็ตาม “จิโอวานนี มากา”​ ผู้เชี่ยวชาญจากสภาการวิจัยแห่งชาติอิตาลี ได้ตั้งข้อสังเกตว่า เยอรมันไม่ตรวจว่าผู้เสียชีวิตที่ไม่ได้รับการรักษาที่โรงพยาบาล ว่าติดไวรัสดังกล่าวหรือไม่ ซึ่งไม่เหมือนกับประเทศอื่นๆในยุโรป หมายความว่าผู้ที่เสียชีวิตระหว่างถูกกักตัวที่บ้านโดยไม่ได้ไปโรงพยาบาล มีโอกาสสูงมากที่จะไม่ได้นับรวมกับจำนวนผู้เสียชีวิตจากการติดไวรัส