“นิด้าโพล” เผยคนเกินครึ่งไม่เชื่อว่าปี 57 เป็นครั้งสุดท้ายของรัฐประหารไทย

นิด้าโพล
“นิด้าโพล” เปิดสำรวจเรื่อง “หยุดรัฐประหาร!”

“นิด้าโพล” เปิดสำรวจเรื่อง “หยุดรัฐประหาร!” พบ ประชาชน 51.83% ไม่เชื่อว่าพระราชบัญญัติจัดระเบียบกระทรวงกลาโหมจะช่วยป้องกันการรัฐประหารได้ และ มองว่าปี 2557 ไม่ใช่ครั้งสุดท้ายของการทำรัฐประหารประเทศไทย

  • ไม่เชื่อว่าพระราชบัญญัติจัดระเบียบกระทรวงกลาโหม
  • จะช่วยป้องกันการรัฐประหารได้
  • มองว่าปี 57 ไม่ใช่ครั้งสุดท้ายของรัฐประหาร

วันที่ 28 เม.ย.2567 ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน เรื่อง “หยุดรัฐประหาร!” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 22-23 เมษายน 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง

เกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติจัดระเบียบกระทรวงกลาโหม กับการรัฐประหารในประเทศไทย การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0

ทั้งนี้จากการสำรวจเมื่อถามถึงความเชื่อของประชาชนเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติจัดระเบียบกระทรวงกลาโหมจะช่วยป้องกันการรัฐประหาร พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 51.83 ระบุว่า ไม่เชื่อเลย รองลงมา ร้อยละ 25.73 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อ ร้อยละ 12.52 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อ

ขณะที่ประชาชนกว่าร้อยละ 6.72 ระบุว่า เชื่อมาก และร้อยละ 3.20 ระบุว่า เฉย ๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

ท้ายที่สุด เมื่อถามถึงความเชื่อของประชาชนเกี่ยวกับการทำรัฐประหารในปี 2557 จะเป็นครั้งสุดท้ายของประเทศไทย พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 61.83 ระบุว่า ไม่เชื่อเลย รองลงมา ร้อยละ 20.38 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อ

ขณะที่ประชาชนกว่าร้อยละ 8.24 ของแบบสำรวจนี้ ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อ ร้อยละ 6.11 ระบุว่า เชื่อมาก และร้อยละ 3.44 ระบุว่า เฉย ๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

ส่วนเมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 8.55 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 18.63 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคกลาง ร้อยละ 17.86 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.35 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 13.82 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้

และร้อยละ 7.79 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออก ตัวอย่าง ร้อยละ 48.09 เป็นเพศชาย และร้อยละ 51.91 เป็นเพศหญิง

ขณะที่ตัวอย่าง ร้อยละ 12.37 อายุ 18-25 ปี ร้อยละ 17.94 อายุ 26-35 ปี ร้อยละ 18.24 อายุ 36-45 ปี ร้อยละ 26.64 อายุ 46-59 ปี และร้อยละ 23.81 อายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่าง ร้อยละ 95.88 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 2.90 นับถือศาสนาอิสลาม และร้อยละ 1.22 นับถือศาสนาคริสต์และศาสนาอื่น ๆ

ตัวอย่าง ร้อยละ 36.72 สถานภาพโสด ร้อยละ 60.46 สมรส และร้อยละ 2.82 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ ตัวอย่าง ร้อยละ 20.84 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 34.66 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 9.31 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 30.15

จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 5.04 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า

ขณะที่ตัวอย่าง ร้อยละ 9.31 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 16.95 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 21.68 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 10.23 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 16.02 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 20.31 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน และร้อยละ 5.50 เป็นนักเรียน/นักศึกษา

ส่วนตัวอย่าง ร้อยละ 21.45 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 18.09 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 29.16 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท ร้อยละ 12.90 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท ร้อยละ 5.88 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001-40,000 บาท และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป ในสัดส่วนที่เท่ากัน และร้อยละ 6.64 ไม่ระบุรายได้

สำหรับเหตุการณ์ปี 2556–2557 เกิดขึ้นจากการประท้วงต่อต้านรัฐบาลตั้งแต่เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2556 ถึงพฤษภาคม พ.ศ. 2557 จัดระเบียบโดย กปปส. กลุ่มผลประโยชน์ทางการเมืองซึ่งมีสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคประชาธิปัตย์ เป็นผู้นำ

โดยเป้าหมายหลักของการประท้วง คือ การขจัดอิทธิพลของอดีตนายกรัฐมนตรี พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร ในการเมืองไทย และการตั้ง “สภาประชาชน” ที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งเพื่อดูแลการปฏิรูประบบการเมือง และผู้ประท้วงมองว่า พันตำรวจโททักษิณทุจริตอย่างมากและทำให้ประชาธิปไตยของประเทศไทยเสียหาย เนื่องจากโครงการสังคมปฏิรูปและนโยบายเศรษฐกิจของเขา พรรคการเมืองซึ่งเป็นพันธมิตรของพันตำรวจโททักษิณชนะการเลือกตั้งทุกครั้งตั้งแต่ปี 2544

และนักวิเคราะห์และนักวิจารณ์ยังมองว่าประเด็นอื่น เช่น การสืบราชสันตติวงศ์ ความแตกแยกเมือง-ชนบทหรือเหนือ-ใต้ ความเหลื่อมล้ำทางสังคม[ระบบข้าราชการประจำที่รวมศูนย์เกินไป อิทธิพลของพระมหากษัตริย์และทหารในการเมืองและสถานภาพชนชั้นกลาง เป็นปัจจัยเบื้องหลังวิกฤตการณ์นี้

และการประท้วงนี้ลงเอยด้วยนายกรัฐมนตรี​ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร พ้นจากตำแหน่ง รัฐประหาร และการสถาปนาคณะทหารผู้ยึดอำนาจการปกครอง


ข่าวที่เกี่ยวข้อง https://thejournalistclub.com/politic-nidapoll-news/257973/ https://nidapoll.nida.ac.th/