“บิ๊กตู่”​ ใช้เวทีดิจิทัลไทยแลนด์ บิ๊กแบง 2019” วอนเศรษฐีเมืองไทยลงทุน

  • มหกรรมการแสดงเทคโนโลยีระดับนานาชาติ กระหึ่มแล้ววันนี้ – 31 ต.ค.นี้
  • “พล.อ.ประยุทธ์ “​เดินหน้าสู่รัฐบาลดิจิทัล
  • ย้ำใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างรู้เท่าทันเพื่อความมั่นคง เศรษฐกิจและสังคม

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวในการเป็นประธานพิธีเปิดงานมหกรรมการแสดงเทคโนโลยีระดับนานาชาติ “ ดิจิทัลไทยแลนด์ บิ๊กแบง 2019 : เชื่อมโยงอาเซียน “ (Digital Thailand Big Bang 2019 :  ASEAN Connectivity” ว่า ถือเป็นโอกาสที่ดี ที่ได้มีโอกาสมาเห็นพัฒนาการด้านเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศไทย เป็นปีที่ 4  ซึ่งเมื่อ 4 ปีที่แล้ว เป็นจุดเริ่มต้นของนโยบายไทยแลนด์ 4.0  ซึ่งทุกภาคส่วนร่วมกันขับเคลื่นอเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลของประทเศ 

“ผมได้เห็นความพร้อมในโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล ได้เห็น Startup ที่มากฝีมือเกิดขึ้น ได้เห็นเด็กๆ รุ่นใหม่เป็น Maker/ Coder กันมากขึ้น ได้เห็นหลายๆ ธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจขนาดใหญ่ที่พลิกโฉม (Disrupt) ธุรกิจด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ภาครัฐเองก็มีการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาพัฒนาช่องทาง รวมถึงการบริการประชาชนให้ทั่วถึงผ่านแอพพลิเคชั่นของภาครัฐ และนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เพิ่มประสิทธิภาพภาครัฐให้ก้าวสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัลมากขึ้น พร้อมกับขอให้เศรษฐีเมืองไทย ลงทุนขยายธุรกิจในประเทศไทยด้วย  “

พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวต่อว่า รัฐบาลมีความุ่งมั่น ที่จะนำเทคโนโลยีดิจิทัลที่ทันสมัย  ร่วมกับการใช้ประโยชน์จากข้อมูลขนาดใหญ่ ของภาครัฐ มาพัฒนากลุ่มคน กลุ่มธุรกิจที่สำคัญของประเทศ นั่นคือ เกษตรกร และ SMEs ซึ่งเป็นสัดส่วนประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ เพื่อยกระดับรายได้ของกลุ่ม คนเหล่านี้ให้ทั่วถึง หากทำสำเร็จประเทศไทยก็จะสามารถแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำ

ที่เกิดขึ้น และก้าวสู่การเป็นประเทศพัฒนาแล้วได้ตามเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติ 

ซึ่งรัฐบาลได้ให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการพัฒนาและส่งเสริมให้ประชาชนสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างเท่าทันและมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งปฏิรูประบบเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ของรัฐบาล

สำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลรัฐบาลยังคงมุ่งเน้นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลอย่างต่อเนื่องโดยบรรจุเป็นหนึ่งในแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติประเด็นที่ 7 ประเด็นโครงสร้างพื้นฐาน ระบบโลจิสติกส์ และดิจิทัล เพราะถือเป็นรากฐานการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลที่สำคัญ และดำเนินการส่งเสริมในมิติด้านเทคโนโลยีดิจิทัลเข้าไปในแต่ละยุทธศาสตร์ชาติ ทั้ง 7 ยุทธศาสตร์ 

ยุทธศาสตร์ที่ 1 ด้านความมั่นคง รัฐบาลให้ความสำคัญกับความมั่นคงปลอดภัย

ไซเบอร์ซึ่งถือเป็นภัยคุกคามรูปแบบใหม่ที่ทั่วโลกให้ความสำคัญ แม้ว่า พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์จะกำหนดบทลงโทษผู้กระทำผิดไว้ชัดเจน  หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง

ทุกภาคส่วนต่างก็บูรณาการทำงานเพื่อให้สามารถติดตามจับกุมคนร้ายหรือสามารถระงับยับยั้งเหตุก่อนที่อาชญากรรมจะเกิดหรือขยายความรุนแรงได้ แต่ด้วยความก้าวหน้า

อย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีดิจิทัลมีแนวโน้มว่าอัตราการเกิดภัยคุกคามจะยิ่งเพิ่มสูงขึ้นและมีความสลับซับซ้อนมากขึ้น รัฐบาลจึงตราพระราชบัญญัติ 2 ฉบับที่เกี่ยวข้องกับ

ด้านดิจิทัลโดยตรง ได้แก่ พ.ร.บ. ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ 

พ.ศ. 2562 และพร.บ.ข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ซึ่งมีผลบังคับใช้

เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2562 ที่ผ่านมา และได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (กมช.) เพื่อทำหน้าที่กำหนดนโยบายด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ ซึ่งนับเป็นความเอาจริงเอาจังของรัฐบาลในการรับมือและป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่อาจจะเกิดขึ้น และกฎหมายด้านคุ้มครองข้อมูล ส่วนบุคคลก็กำหนดขอบเขตและแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ต่อผู้บริโภคหรือเจ้าของข้อมูล

​· ยุทธศาสตร์ที่   2 ด้านการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน

จากการที่รัฐบาลได้ดำเนินนโยบายการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

ของประเทศ นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เป็นเครื่องมือหรือกลไกสำคัญในการสร้าง

ความได้เปรียบทางการแข่งขัน ขณะนี้ได้เริ่มปรากฏผลสำเร็จ ซึ่งสะท้อนถึงอันดับความสามารถทางการแข่งขันด้านดิจิทัลของประเทศที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งในส่วน

ของการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขัน จากดัชนี World Digital Competitiveness Ranking ตามการจัดอันดับของสถาบันการจัดการนานาชาติ หรือ IMD ของไทย โดยดีขึ้นจากอันดับ 41 ในปีก่อน มาเป็นอันดับที่ 39 ในปี 2561 นอกจากนี้ ผลการจัดอันดับ Global Competitiveness Index 40 โดย 

World Economic Forum ซึ่งครอบคลุมถึงการพัฒนาในมิติเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลด้วย ในปี ๒๕๖๑ประเทศไทยได้รับการจัดอันดับในอันดับที่ 38 จาก 140 ประเทศ 

ซึ่งดีขึ้นจากปีก่อนที่อยู่ในอันดับที่ 40 ทั้งนี้ สิ่งที่คนไทยน่าจะสัมผัสได้ถึง ความเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน คือการปรับตัวของภาคการเงินการธนาคารที่ให้บริการผ่านช่องทางดิจิทัลและความร่วมมือกับภาคธุรกิจในการขับเคลื่อนประเทศไทยสู่สังคม ไร้เงินสด (Cashless Society) ประกอบกับความพยายามในการผลักดันและขับเคลื่อนการพัฒนาวิสาหกิจเริ่มต้น หรือ Startup ให้เป็นนักรบเศรษฐกิจใหม่ และรัฐบาลได้

ตราพระราชบัญญัติสภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2562 มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม  2562  เพื่อให้เป็นองค์กรกลางในการส่งเสริมสนับสนุนกลุ่มอุตสาหกรรมดิจิทัลเป็นการเฉพาะ รวมทั้ง การให้ความสำคัญกับการพัฒนาเมืองอัจฉริยะและถือเป็นวาระแห่งชาติที่รัฐบาลดำเนินการเร่งด่วน โดยให้ความสำคัญทั้ง

กลุ่มเมืองเดิม โดยจะมุ่งเน้นการฟื้นฟูเมืองเดิม พัฒนาให้เป็นเมืองน่าอยู่อัจฉริยะที่ใช้เทคโนโลยี และโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่ง พลังงาน และดิจิทัลในการปรับเปลี่ยน เพิ่มเติมเมืองที่มีอยู่เดิมให้น่าอยู่ยิ่งขึ้นทั้งในมิติเศรษฐกิจและสังคม และ กลุ่มเมืองใหม่ โดยจะมุ่งเน้นการพัฒนาเมืองใหม่ พัฒนาก่อสร้างพื้นที่เมืองขึ้นใหม่ทั้งหมดในเขตพื้นที่ โดยพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของเมือง สาธารณูปโภค ที่อยู่อาศัย แหล่งงาน พาณิชยกรรม พื้นที่พักผ่อน ให้เป็นเมืองที่ทันสมัยระดับโลก เป็นศูนย์กลางด้านการคมนาคม การค้า

การลงทุน การวิจัยพัฒนา ไปจนถึงการพัฒนานวัตกรรมดิจิทัล โดยกระทรวงดิจิทัลฯ 

ได้เร่งเดินสายประชาสัมพันธ์การเปิดรับสมัครการเป็นเมืองอัจฉริยะในหลายๆ พื้นที่ เพราะหัวใจของความสำเร็จในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะคือ ยึดความต้องการของผู้คน

เป็นศูนย์กลางในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะมากกว่าให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ จากบทเรียนของหลายๆ ประเทศที่ริเริ่มการพัฒนาเมืองอัจฉริยะมาก่อนประเทศไทย ประเทศที่ประสบความล่าช้าในการดำเนินโครงการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ พบว่า 

ระบบราชการเป็นหนึ่งในอุปสรรคสำคัญ สำหรับประเทศไทยรัฐบาลมุ่งเน้นให้ภาครัฐ

ทำหน้าที่อำนวยความสะดวก โดยให้ภาคเอกชนเป็นแกนนำการพัฒนาประเทศ เช่นเดียวกับนานาประเทศที่เป็นประเทศพัฒนาแล้ว

• ยุทธศาสตร์ที่ 3ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์

การเสริมสร้างทักษะด้านดิจิทัลให้แก่ประชาชนถือเป็นส่วนสำคัญอีกประการหนึ่ง ซึ่งรัฐบาล

ไม่เพียงแต่จัดสรรเทคโนโลยีดิจิทัลให้เข้าถึงประชาชนทั่วประเทศได้เท่านั้น แต่ต้อง

สร้างความรู้ให้ประชาชนสามารถใช้ประโยชน์อย่างสร้างสรรค์จากสิ่งที่รัฐบาลจัดสรรให้

เพื่อสร้างคนไทย  4.0 ให้เป็นคนไทยที่มีทักษะด้านดิจิทัล ซึ่งที่ผ่านมา รัฐบาลได้สร้างการรับรู้เรื่องดิจิทัลให้กับชาวบ้าน 500,000 คน จากเป้าหมาย 1 ล้านคน การสร้างการรับรู้

การใช้ประโยชน์จากเน็ตประชารัฐ สร้างวิทยากรแกนนำเน็ตประชารัฐ  สร้างการรับรู้และส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากเน็ตประชารัฐในชุมชน โดยได้ดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่องภายใต้โครงการ “ไทยนิยม ยั่งยืน” สร้างการรู้เท่าทันเทคโนโลยี โดยมีกลไกการขับเคลื่อนตั้งแต่ระดับนโยบาย ระดับจังหวัด อำเภอ ไปจนถึงระดับตำบล ปัจจุบัน มีหมู่บ้าน

ที่ร่วมจัดกิจกรรมจำนวน13,184  หมู่บ้าน

รวมไปถึงการส่งเสริมทักษะด้านการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและวิทยาการคอมพิวเตอร์ให้กับเด็กและเยาวชนรุ่นใหม่ และส่งเสริมการใช้โลกออนไลน์อย่างมีสติ เพื่อเป็นการดูแลความปลอดภัยทางสังคมไซเบอร์ ลดความเสี่ยงและภัยคุกคามที่ตามมากับความก้าวหน้าทางอินเทอร์เน็ต โดยทุกฝ่ายกำลังร่วมมือกันพัฒนาหลักสูตรการเป็นพลเมืองดิจิทัลและนำหลักสูตรดังกล่าวบรรจุในหลักสูตรการเรียนการสอน แบบทางเลือกของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ เพื่อสร้างแนวปฏิบัติในการปกป้องคุ้มครองเด็กและเยาวชน

จากสื่อดิจิทัลต่อไป

อย่างไรก็ตาม การสร้างแรงงานที่มีทักษะด้านดิจิทัลเป็นเรื่องสำคัญ 

ด้วยระบบการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อให้เท่าทันความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่มี

ความรวดเร็วและพัฒนา “นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล” ด้วยการสนับสนุนทั้งจากภาครัฐและเอกชน ซึ่งภาพรวมของอาเซียนยังคงพัฒนาด้านนี้ไม่เพียงพอ สำหรับประเทศไทยได้มีการพัฒนาบุคลากรแรงงานให้มีทักษะด้านดิจิทัลนำร่องในพื้นที่อีอีซีพัฒนาร่วมกับภาคเอกชน 

โดยไม่พึ่งพาเพียงสถาบันการศึกษาที่อาจไม่เท่าทันต่อความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี

ในปัจจุบัน ดังนั้น จึงมีการสนับสนุนให้มีหลักสูตรประกาศนียบัตรระยะสั้นที่ช่วยเพิ่มศักยภาพด้านเทคโนโลยีให้กับบุคคลทั่วไปรองรับอุตสาหกรรม 4.0 ในอนาคตอันใกล้ 

โดยให้ความสำคัญกับ 3 ประเภทของหลักสูตรการฝึกอบรมในด้านอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ หุ่นยนต์ และอุตสาหกรรมดิจิทัล คือ การพัฒนาทักษะใหม่ (New Skill) สำหรับนักศึกษาระดับอุดมศึกษาที่กำลังเรียนในสาขาดิจิทัล และการยกระดับทักษะ   (Upskill) 

สำหรับบุคลากรด้านดิจิทัล และสุดท้ายคือการปรับทักษะ   (Reskill)  สำหรับนักศึกษา บัณฑิต ผู้ทำงานสายงานที่ไม่ใช่ดิจิทัล หากอีอีซีโมเดลได้ผล ก็จะขยายไปยังทุกเขตเศรษฐกิจทั่วประเทศ

• ยุทธศาสตร์ที่ 4 ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม การเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากโครงข่ายเน็ตประชารัฐ  ซึ่งปัจจุบันได้ดำเนินการครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 3 ใน 4 ของชุมชนเป้าหมายแล้ว นอกจากนี้ การขับเคลื่อนการใช้งานโครงสร้างพื้นฐาน ส่งเสริมให้ชุมชนใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวาง โดยขยายเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง และปรับปรุงโครงข่ายอินเทอร์เน็ตที่เป็นเทคโนโลยีแบบเก่าให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นด้วยไฟเบอร์ออฟติกไปยังโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) รวมถึงโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพสต.) และสุขศาลาพระราชทาน ๖๑๕ แห่ง รวมทั้งขยายความจุอินเทอร์เน็ตให้กับโรงพยาบาล เพื่อรองรับการตรวจรักษาทางไกลในโรงพยาบาลแม่ข่ายและสุขศาลาพระราชทานคัดเลือก นอกจากนี้ยังจะขยายโครงข่ายไปสถานที่ยังไม่มีไฟฟ้าใช้อีกจำนวน 125 แห่ง ซึ่งจะดำเนินการทั้งเรื่องระบบอินเทอร์เน็ตและพลังงานทดแทน

อย่างไรก็ตาม กลุ่มเกษตรกร และธุรกิจ SMEs เป็นคนกลุ่มใหญ่ของประเทศที่ยังใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลน้อย รัฐบาลโดยกระทรวงดีอี ก็ได้นำร่องระดมนักรบดิจิทัลมาช่วยกันวิเคราะห์และหาทางนำเทคโนโลยีดิจิทัลที่ใช้งานง่ายไปให้กับเกษตรกรเพื่อให้เกษตรกรสามารถสร้างรายได้ตลอด Value Chain กล่าวคือ ทั้งในกระบวนการเพาะปลูก การเก็บเกี่ยวและแปรรูปผลผลิต และการค้า และบริการ เหล่านี้ล้วนแต่สามารถนำดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ช่วยควบคุมปัจจัยการผลิต และทำให้เกิดการเกษตรแบบแม่นยำขึ้น คือ เกษตรกรจะใช้ปัจจัยการผลิตน้อยลง เช่น ปุ๋ย เพราะจะสามารถรู้ได้ว่าจะต้องให้ปุ๋ยเวลาใด ปริมาณเท่าใดจึงจะเหมาะสม แต่ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้นทั้งปริมาณและคุณภาพ และเป็นที่น่าดีใจว่ามีลูกหลานเกษตรกรไทยได้พัฒนาโดรนเพื่อการเกษตรฝีมือคนไทยขึ้นมา ซึ่งทำให้ลดต้นทุนปุ๋ย ลดต้นทุนแรงงาน และใช้งานง่าย เกษตกรที่อายุ 40-65 ปี ก็นำไปใช้งานกันได้