บล.กสิกรไทย มองหุ้นไทยลุ้นทะลุ 1,600 จุด แนะ 4 กลุ่มเด่นนำตลาดน่าสะสม

  • เหตุตลาดต่างประเทศวิ่งขึ้นต่อเนื่อง
  • น่าสะสมเพื่อลงทุนกลาง-ยาว
  • กลุ่มไฟฟ้าตลาดยังกังวล Recession

บล.กสิกรไทย มองแนวโน้มตลาดหุ้นไทยช่วงนี้ยังมีโอกาสปรับตัวขึ้นต่อตามตลาดหุ้นต่างประเทศ โดยประเมินแนวต้านของ SET ถัดไปคือ 1,600 จุด ส่วนแรวรับสำคัญ คือ 1,525 และ 1,472 จุด โดยรอบนี้มี Sector ที่จะเป็นนำตลาดขึ้นมา และน่าสะสมเพื่อลงทุนกลาง-ยาว คือ
  
1.กลุ่มธนาคาร

หลังประกาศงบในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาราคาหุ้นในกลุ่มธนาคารโดยส่วนใหญ่ปรับตัวต่อเนื่องตอบรับผลประกอบการภาพรวม 2Q65 ออกมาดีกว่าที่ KS คาด 8% หนุนจาก NIM, รายได้ค่าธรรมดีกว่าที่คาด และ NPL ลดลง
 
โดยหุ้นเด่นในกลุ่มธนาคาร KS ชอบธนาคารขนาดใหญ่มากกว่าธนาคารขนาดเล็ก เพราะจะได้ประโยชน์จากอัตราดอกเบี้ยในประเทศที่เป็นขาขึ้นกว่า  Top pick กลุ่มธนาคาร คือ BBL ราคาเป้าหมายพื้นฐาน 151 บาท และ SCB ราคาเป้าหมายพื้นฐาน 149.0 บาท
 
2.กลุ่มการเงิน

ราคาหุ้นปรับฐานลงต่อเนื่องมาจากการที่ Consensus ทยอยปรับลดคาดการณ์กำไร อย่างไรก็ตามคาดว่าราคาหุ้นตอบรับข่าวลบไปมากแล้วและเห็น Bottom โดยปัจจัยหนุนมาจากเงินเฟ้อที่คาดผ่านจุดสูงสุดไปแล้ว และ Bond yield เริ่มปรับลง ส่วนปัจจัยหนุนผลประกอบการครึ่งหลังปี 65 คือ คาดรัฐบาลมีโอกาสปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ โดย KS ชื่นชอบ MTC, TIDLOR ฯลฯ

3.กลุ่มโรงไฟฟ้า
 
ตลาดยังกังวล Recession คาดเม็ดเงินจะไหลเข้ากลุ่ม Defensive คือกลุ่มโรงไฟฟ้า โดย KS ชื่นชอบ กลุ่มโรงไฟฟ้า SPP คาดว่ากำไรไตรมาส 1Q65 จะเป็นจุดต่ำสุดของปีเนื่องจากราคาก๊าซธรรมชาติค่อนข้างแกว่งตัวลง
 
และคาดจะมีปัจจัยหนุนจากค่า Ft งวด ก.ย.-ธ.ค.65 กำลังทยอยปรับเพิ่มขึ้น (ราวๆ 90-100 สตางค์) รวมถึงได้ประโยชน์จาก Bond yields ที่ปรับลดลง และค่าเงินบาทกลับมาแข็งค่าช่วงสั้น โดยเรายังคงคำแนะนำซื้อ BGRIM ราคาเป้าหมายทางพื้นฐาน 61.5 บาท, GSPC ราคาเป้าหมายทางพื้นฐาน 83.5บาท
 
4.กลุ่ม Tech Consult
  
อาทิ BBIK, BE8 จะได้ประโยชน์จากอัตราคิดลดที่ลดลง ดังที่ KS นำเสนอว่าตลาดเริ่มคาด Fed จะเริ่มปรับลงในปี 66 เพื่อต่อสู้กับเศรษฐกิจถดถอย
 
หุ้น Top pick ในสัปดาห์หน้า ได้แก่ BEM (ราคาเป้าหมายพื้นฐาน 10.20 บาท) โดย BEM มีกำหนดจะรายงานงบการเงินไตรมาส 2/65 ในวันที่ 11 ส.ค. เราคาดกำไรสุทธิที่ 654 ลบ. เพิ่มขึ้น 226% YoY และ 94.5% QoQ จากการฟื้นตัวของการจราจรทั้งทางด่วนและ MRT และรายได้เงินปันผลที่ดีจาก TTW และ CKP

พรีวิวกำไรปกติไตรมาส 2/65 ของเราคาดจะคิดเป็น 85% ของกำไรปกติไตรมาส 2/62 (ระดับก่อนโควิด-19) ปัจจัยหนุนมูลค่าหุ้น ได้แก่ 1) การฟื้นตัวของการจราจรบนทางด่วนและ MRT ที่เร็วเกว่าคาด 2) การปรับอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้า MRT ทีสูงเกินคาด และ 3) การชนะสัญญาดำเนินงานโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มและสีม่วง โดยเราได้รวมมูลค่า 1.08 บาท จากโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มในมูลค่าของเราแล้ว

GPSC (ราคาพื้นฐาน 85.00 บาท) เป็นหุ้น Anticommodity ที่ได้ประโยชน์จากราคาพลังงาน ทั้งน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติปรับลง และคาดผ่านจุด Peak แล้วโดยเราคาดว่ากำไรสุทธิไตรมาส 2/65 จะดีขึ้น QoQ หนุนจาก กกพ. ปรับเพิ่มค่า Ft เป็นครั้งที่ 2 (เดือน พ.ค.-ส.ค. 2565) เป็น 0.248 บาท/หน่วย

          ขณะที่ GE ระยะที่ 5 สามารถกลับมาดำเนินการได้ตามปกติตั้งแต่วันที่ 9 มี.ค. 65 หลังการหยุดเดินเครื่อง ขณะนี้อยู่ในกระบวนการเจรจาเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนที่เหลือในปี 65 อาจอยู่ที่ 600-700 ลบ. และมี Catalyst หนุนราคา แนวโน้ม Ft งวดก.ย.-ธ.ค.65 อาจปรับขึ้น 90-100 สตางค์ต่อหน่วย (ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงกว่าที่ให้ข่าวช่วงกลางเดือน มิ.ย. 65 คาดจะปรับ 40 สต.) ประเมินจะบวกกับโรงไฟฟ้าประเภท SPP โดย GPSC จะได้ประโยชน์
          ประเด็นเศรษฐกิจที่น่าติดตาม

1 ส.ค. : ติดตามดัชนี PMI ภาคการผลิตของจีนจากสถาบัน Caixin (ก.ค.), ติดตามดัชนี PMI ภาคการผลิตของฝรั่งเศส (ก.ค.) ตลาดคาด 51.0 จุด เพิ่มจาก 49.6 จุด, ติดตามรานงานดัชนี PMI ของสหรัฐฝั่งภาคการผลิตจากสถาบันไอเอสเอ็ม (ISM) ( ก.ค.) ตลาดคาด 52.9 จุด

2 ส.ค. : ติดตามตำแหน่งงานว่างเปิดใหม่จาก JOLTs (มิ.ย.) ของสหรัฐตลาดคาด 11 ล้านราย , ติดตามการตัดสินใจเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยของออสเตรเลีย (ส.ค.) ตลาดคาด 1.35%

3 ส.ค. : ติดตามดัชนี PMI ภาคการบริการของจีนจากสถาบัน Caixin (ก.ค.), ติดตามดัชนี PMI รวมจาก S&P Global (ก.ค.) ของยุโรป, ติดตามดัชนีราคาผู้ผลิตของยุโรป (PPI) (ปีต่อปี) (มิ.ย.)

4 ส.ค. : ติดตามการตัดสินใจเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยของอินเดียตลาดคาดปรับลด 0.1% ลงมาอยู่ที่ 4.8%, ติดตามการประชุมธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) ตลาดคาดปรับเพิ่มขึ้น 25 bps ขึ้นมาอยู่ที่ 1.5%

5 ส.ค. : ติดตามรายได้เฉลี่ยต่อชั่วโมง (เดือนต่อเดือน) (ก.ค.) ของสหรัฐ ตลาดคาด 0.3%, ติดตามการจ้างงานนอกภาคการเกษตรของสหรัฐ ( ก.ค.) ตลาดคาด 2.55 แสนราย ลดลงจาก 3.72 แสนราย ในเดือน มิ.ย.