เกรียงไกร เธียรนุกูล : การส่งออก สินค้าจีน ทุเรียนไทย

เกรียงไกร การส่งออก สินค้าจีน ทุเรียนไทย
ห้องรับแขก JNC รหัส 004 กับ ประธานส.อ.ท. “เกรียงไกร เธียรนุกูล”

ห้องรับแขก JNC รหัส 004 กับ ประธานส.อ.ท. “เกรียงไกร เธียรนุกูล” จับเข่าคุยกัน สารพัดเรื่องราว ทั้ง การส่งออก ของไทย สินค้าจีน ทะลักเข้าไทย เรื่อยไปจนถึง ทุเรียนไทย โดนทุเรียนเวียดนามปาดหน้าเค้กไปหมด เหตุเพราะรถไฟความเร็วสูง

การส่งออก สินค้าจีน และ ทุเรียนไทย ในสายตา “เกรียงไกร เธียรนุกูล”

ตัวเลข การส่งออก ในเดือนมีนาคมปี 2567 ติดลบ ต่ำลงไป 10.9%  ฉุด การส่งออก ของประเทศไทย ในไตรมาสแรก ติดลบ ไป 0.2%  ขณะที่ ไทย ถูกจัดให้เป็นประเทศที่การส่งออกติดลบต่ำสุดในภูมิภาคเอเชีย

เมื่อพูดถึง สภาวะ การส่งออก โลก รวมถึง การส่งออก ของ ไทย ที่ต้องเผชิญหน้ากับความผันผวนของเศรษฐกิจโลกนานัปการ ตั้งแต่กำลังซื้อ ที่ตกต่ำลง ปัญหาการสู้รบกัน ของประเทศคู่ศัตรู หรือ Geopolitics

และความก้าวหน้าของเทคโนโลยีเปลี่ยนโลก ล้วนเป็นสาเหตุให้ การส่งออก ของประเทศต่างๆทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย ได้รับผลกระทบ

ตลอดช่วงเวลา 2 ปีที่ผ่านมา นายเกรียงไกร เธียรนุกูล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) พยายาม กล่าวเตือนภาคอุตสาหกรรม ไทย ที่มีทั้งสิ้น 46 สาขา ให้ปรับตัว รับมือกับการเปลี่ยนแปลง ของโลก

โดยเฉพาะ ในด้านเทคโนโลยี ให้ได้ พร้อมกับ ขอรับการสนุบสนุน จากรัฐบาล ในการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของ ภาคอุตสาหกรรมไทย เพื่อยืน การส่งออก ของไทยในตลาดโลก ให้อยู่รอด ต่อไปได้

อย่างไรก็ตาม ความเข้มแข็ง ของการเป็น โรงงานอุตสาหกรรมโลก ของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน และ ความย่อหย่อน ในกฏระเบียบ ของราชการไทย ทำ ให้ภาคอุตสาหกรรม การผลิต ของไทย ต้องได้รับผลกระทบ อย่างหนัก

JNC จับเข่าคุย ประธาน ส.อ.ท. ประเด็น สินค้าจีน ทะลักเข้าไทย

สำนักข่าว JNC จับเข่าคุยกับ นายเกรียงไกร เพื่อหาทางออก เรื่องนี้  “ไม่ใช่แค่ประเทศไทยเรา แต่ผลกระทบ นี้เกิดขึ้นในทั่วทุกประเทศทั่วโลก ที่สินค้าจีนเข้าถึงผู้บริโภคในประเทศนั้นๆ”

ปัญหาหลัก ของประเทศไทย คือ การถูกสินค้าจีน ดั๊มตลาดเข้ามา สินค้ามีราคาถูกกว่า สินค้าไทยมาก ยกตัวอย่าง เหล็ก เฉพาะเหล็กเส้น และ ผลิตภัณฑ์เหล็ก จีนผลิตได้ 900 กว่าล้านตัน ขณะที่ประเทศไทย เรามีกำลังการผลิต อยู่ที่ 25 – 26 ล้านตัน ต่อปี 

แต่ทุกวันนี้ ประเทศไทย เราผลิตจริงๆ เพียง 6 ล้านตัน นำเข้า 4 ล้านกว่าตัน กำลังการผลิต ต่ำกว่า ทุกกลุ่มอุตสาหกรรม ที่เรามีอยู่ 46 กลุ่ม

และทั้ง 46 กลุ่ม ในจำนวนนี้ ส.อ.ท.ประเมิน แนวโน้มว่า ปี 2567 จะมี อุตสาหกรรม ที่ยังสามารถเติบโต ต่อเนื่องได้ 22 กลุ่ม ทรงตัว 11 กลุ่ม และ หดตัวลง หรือมีโอกาส จะหายไปเลย 13 กลุ่ม อย่างกลุ่ม อุตสาหกรรมเหล็ก ซึ่งผลิต และนำเข้าได้เพียง 31% เท่านั้น ถือว่า กำลังผลิต ต่ำสุด ในกลุ่มอุตสาหกรรม ด้วยกันที่ ระดับ 58% 

ปัญหาของ อุตสาหกรรมเหล็ก คือ ราชการปล่อยให้เหล็ก จากจีนดั๊มตลาด เข้ามาในราคา ที่ต่ำกว่ามาก ในเวลาเดียวกัน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ของไทย ยังให้การ สนับสนุน ผู้ผลิต จากจีน เข้ามาตั้งโรงงานผลิตเหล็กประเภทต่างๆ ในไทยด้วย ซึ่งเป็นเรื่องไม่ควร 

โรงงานผลิตสินค้าไทยวิกฤต โดนจีนตีตลาดกระจุย จ่อปิดตัว ตกงานอื้อ

“เราปฏิเสธ ที่จะไม่รับสินค้า จากจีน ไม่ได้ แต่ชะลอ การนำเข้า ที่ล้นทะลัก เข้ามาเหมือน เขื่อนแตกได้ ผมได้มีโอกาสพบเลขาธิการ BOI และ แจ้งให้ทราบถึงปัญหา ก็ได้รับคำตอบว่า จะตรวจสอบเรื่องนี้ ให้ดีว่า โรงงานผลิตเหล็ก ประเภทใด ที่ไทยผลิตไม่ได้ จึงจะอนุมัติ ให้เข้ามาลงทุน”

อีกประเด็น ที่สำคัญ ก็คือ โรงงานอุตสาหกรรม ของจีน มีแนวโน้ม จะย้ายฐานการผลิต เข้ามาในประเทศไทย มาก เนื่องจากสหรัฐฯ ยังคงเข้มงวด กับมาตรการ กีดกันทางการค้า กับจีน ดังนั้น รัฐบาล และหน่วยงานเกี่ยวข้อง ของไทย จำเป็น ต้องพิจารณา เรื่องนี้ให้ดี ไม่เช่นนั้น อุตสาหกรรม การผลิตของไทย จะได้รับผลกระทบ อย่างหนัก

สิ่งที่จะชะลอ การนำเข้า ของสินค้าจีนได้ ก็คือ กระทรวงอุตสาหกรรม ต้องมีมาตรการ ตรวจสอบ มาตรฐานอุตสาหกรรม(มอ.ก.)ว่า ได้คุณภาพ และปลอดภัยต่อการอุปโภค-บริโภค มากน้อยเพียงใด เนื่องจากสินค้าจีน มีราคาถูกมาก และ ต่ำกว่าต้นทุนการผลิตของไทย และ ประเทศต่างๆ อยู่มาก แม้แต่สินค้าเด็กเล่น ก็มีราคาถูกมาก 

หากทางการไทย นิ่งนอนใจ ในเรื่องนี้ ที่สุดเจ้าของอุตสาหกรรมไทย จะหันไปนำเข้า จากโรงงาน ของจีนแทน หรือ ถูกโรงงานอุตสาหกรรมจีนกลืน มีผลทำให้ภาคอุตสาหกรรมไทย ต้องปิดตัวลง และนั่นหมายถึง แรงงานไทย จะตกงานกันจำนวนมากด้วย

ส่วนอีกมาตรการ คือ ทำให้ กรมศุลกากร มีความโปร่งใส ในการตรวจตราการลักลอบ นำเข้าสินค้าจากจีน อย่างเคร่งครัด และ เข้มงวดมากขึ้น แทนที่จะปล่อยให้ การลักลอบเกิดขึ้น ได้ในทุกช่องทาง

การส่งออก ทุเรียนไทย เวียดนาม จีน
การส่งออกทุเรียนของเวียดนามไปจีนผ่านรถไฟความเร็วสูง

ทุเรียนเวียดนามปาดหน้า ทุเรียนไทย ไปจีนสำเร็จ ผลพวงจากรถไฟความเร็วสูง

สำหรับตัวเลขส่งออกของไทย ซึ่งต่ำสุด ในเดือนมีนาคม เมื่อเทียบกับ การส่งออก ของประเทศต่างๆ ในภูมิภาคนี้ จะเห็นว่า สิงคโปร์ต่ำกว่า ที่ระดับ -3.45 อินโดนีเซีย -4.2% มาเลเซีย -6.2%  จีน -7.5% ส่วนไต้หวัน +18.9% และเวียดนาม +13.0% 

ทั้งนี้ ในการส่งออกทุเรียนของ ไทย ปีนี้ ปรากฏว่า ทุเรียนไทย ถูกทุเรียนเวียดนามปาดหน้า และครองแชมป์ ส่งออกทุเรียนไปจีน สูงที่สุดในโลก ที่ 35,000 ตัน เพิ่มขึ้น 48.1% ด้วยมูลค่า 6,400 ล้านบาท 

ในขณะที่ ประเทศไทย ส่งออกทุเรียน ได้เพียง 13,000 ตัน หรือลดลง 59.5% มูลค่า 2,850 ล้านบาท โดยมี สาเหตุสำคัญ

นอกจากสภาพอากาศ ที่แปรปรวนแล้ว การขนส่งของไทย ยังล้าสมัย กว่าระบบการขนส่ง ของเวียดนาม ที่มีรถไฟความเร็วสูง เข้าถึงพื้นที่ ได้ง่ายกว่า

จากปีก่อนที่ ไทย ต้องส่งทุเรียน ลงเรือที่มาบตาพุต เพื่อไปขึ้นรถบรรทุก ที่หนองคาย ก่อนจะขนส่ง อย่างทุลักทุกเล ไปขึ้นรถไฟความเร็วสูง ที่สปป.ลาว เพื่อเดินทางเข้าจีน

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

เปิดใจประธานสอท. “ความคาดหวัง” และ “งานเร่งด่วน” สำหรับรัฐบาลใหม่