‘ไบเดน’ หนุนปลดล็อกสิทธิบัตรวัคซีนไวรัสโควิด เพื่อลดการแพร่ระบาดทั่วโลกและช่วยประเทศยากจนเข้าถึงวัคซีนพุ่งเป้าไปยังอินเดีย-อาฟริกาใต้

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า เมื่อวันพุธคณะบริหารของประธานาธิบดี ‘โจ ไบเดน’ ได้ตัดสินใจสนับสนุนการผ่อนคลายกฏสิทธิบัตรวัคซีนต้านไวรัสโควิด-19 หลังจากได้มีการถกกันอย่างเข้มข้นและการต่อต้านอย่างรุนแรกจากผู้ผลิตวัคซีนของสหรัฐฯ ซึ่งอาจจะทำให้การผลิตวัคซีนทั่วโลกขยายตัวและลดช่องว่างของการฉีดวัคซีนระหว่างชาติที่ร่ำรวยและยากจน

อย่างไรก็ตามการเคลื่อนไหวดังกล่าวไม่ได้หมายความว่ากฏสิทธิบัตรจะถูกยกเลิกทันที แต่เป็นสัญญาณการสนับสนุนกลุ่มองค์กรช่วยเหลือและพรรคโดโมแครตช่วยเร่งกดดัน

“แคทเธอรีน ไท” ผู้แทนการค้าสหรัฐกล่าวในแถลงการณ์

“ฝ่ายบริหารเชื่อมั่นอย่างมากในการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา แต่เพื่อเป็นการยุติการแพร่ระบาดนี้ จึงสนับสนุนการเว้นความคุ้มครองสำหรับวัคซีน” แคทเธอรีนไทผู้แทนการค้าสหรัฐกล่าวในแถลงการณ์

“ไบเดน” และ “ไท” ได้ร่วมกันชั่งน้ำหนักถึงข้อเรียกร้องจากกลุ่มองค์กรช่วยเหลือจากทั่วโลก และพรรคเดโมแคตรเพื่อสนับสนันการละเว้นดังกล่าว ซึ่งเสนอโดยประเทศอินเดียและอาฟริกาใต้

ทั้งนี้ “ไบเดน” ช่วงหาเสียงเลือกตั้งได้สัญญาว่าจะสนับสนุนการผ่อนคลายสิทธิบัตร แต่ได้รับความกดดันจากบริษัทผู้ผลิตวัคซีน

“ไท” กล่าวว่า เป้าหมายของฝ่ายบริหารคือการได้รับวัคซีนที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพให้กับผู้คนให้ได้มากที่สุดโดยเร็วที่สุด เนื่องจากการจัดหาวัคซีนสำหรับชาวอเมริกันของเรามีความปลอดภัยฝ่ายบริหารจะพยายามเพิ่มความพยายามอย่างต่อเนื่องโดยทำงานร่วมกับภาคเอกชนและพันธมิตรที่เป็นไปได้ทั้งหมด เพื่อขยายการผลิตและการจัดจำหน่ายวัคซีน นอกจากนี้ยังจะดำเนินการเพื่อเพิ่มวัตถุดิบ จำเป็นในการผลิตวัคซีนเหล่านั้น 

ได้มีการถกเถียงเรื่องสิทธิบัตรในกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพและการพัฒนาของฝ่ายบริหารในทำเนียบขาวกำลังระมัดระวังความไม่พอใจและมีความกังวลของผู้ผลิตวัคซีนรายใหญ่เช่นไฟเซอร์และโมเดิร์นนา ซึ่งเป็นส่วนสำคัญให้ประเทศเริ่มกลับสู่สภาวะปกติ

ทาง “ไท” ได้รวบรวมข้อมูลก่อนที่จะเป็นตัวแทนของสหรัฐฯในการประชุมชาติสมาชิกองค์กรการค้าโลกที่จะมีขึ้นในวันพุธ โดยทางทำเนียบขาวระบุว่า เธอจะให้คำแนะนำแก่ประธานาธิบดีไบเดนว่าจะสนับสนุนต่อหน้าที่ประชุมที่จัดโดยอินเดียและอาฟริกาใต้จะยกเว้นข้อตกลงด้านด้านทรัพย์สินทางปัญญาเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ยาหรือไม่