รถไฟก็ไม่เว้นเมื่อ Social Distancing : เมื่อ โควิด-19 ทำให้เราต้อง “ห่างกันสักพัก” # CO VID19

นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า ตามที่มีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) อย่างรวดเร็วและมีการแพร่กระจายพบผู้ติดเชื้อทั่วภูมิภาคของประเทศไทย ดังนั้นทางการรถไฟฯ จึงขอกําหนดมาตรการเพื่อความปลอดภัยของส่วนรวมในการเฝ้าระวังและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เป็นระยะคือ ในการจําหน่ายตั๋วโดยสารรถไฟ ตั้งแต่วันที่ 27 มีนาคม 2563 เป็นต้นไป การรถไฟฯ จะใช้มาตรการ Social Distancing กับขบวนรถโดยสารเชิงพาณิชย์ (ขบวนรถที่มีการสํารองที่นั่ง) โดยการจํากัดการขายตั๋ว เพื่อให้มีระยะห่างที่ปลอดภัยต่อการแพร่กระจายเชื่อในขบวนรถไฟ โดยรถนั่งชั้น 3 รถนั่งชั้น 3 ปรับอากาศ  รถนั่งชั้น 2 และรถนั่งชั้น 2 ปรับอากาศ จะจําหน่ายตัว  25 %ของที่นั่ง ทั้งนี้เมื่อจําหน่ายเต็มตามที่ระบุแล้ว จะไม่มีการจําหน่ายตั๋วอีก รวมทั้งตัวไม่มีที่นั่ง (ตั๋วยืน) 

ส่วนรถนั่งและนอนชั้นที่ 2 รถนั่งและนอนชั้นที่ 2 ปรับอากาศ และรถนั่งและนอนชั้นที่ 1 ปรับอากาศ จะจําหน่ายตัว 50 %ของที่นั่งทั้งหมด เมื่อจําหน่ายเต็มตามที่ระบุแล้ว จะไม่มีการจําหน่ายตั๋วอีก โดยทั้งหมเมื่อจําหน่ายตั๋วเต็มตามประเภทรถที่ระบุแล้วไม่พ่วงรถเพิ่มอีก เนื่องจากต้องนํารถไปใช้ตามมาตรการ Social Distancing กับขบวนรถอื่นที่มีความจําเป็น จึงขอให้ผู้โดยสารที่ไม่ได้สํารองที่ล่วงหน้างดการเดินทาง

นายวรวุฒิ กล่าวต่อว่า สําหรับขบวนรถบริการเชิงสังคม (ระหว่างเมือง) ขบวนรถชานเมือง ขอให้ผู้โดยสารทำตามมาตรการ Social Distancing โดยรักษาระยะห่างระหว่างบุคคลไม่น้อยกว่า 1 – 2 เมตร ตามข้อกําหนดฉบับที่ 1 ลงวันที่ 25 มีนาคม 2563 ซึ่งออกตามพระราชกําหนดการบริหารราชการใน สถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ทั้งนี้ พนักงานประจําขบวนรถ จะเป็นผู้พิจารณากําหนดที่นั่งให้ผู้ใช้บริการตามความเหมาะสมต่อไป

นอกจากนั้นในส่วนของการซื้อตั๋วโดยสารที่สถานีรถไฟ และการโดยสารบนขบวนรถไฟ ผู้ใช้บริการซื้อตั๋วโดยสารที่สถานีรถไฟทุกแห่งจะต้องปฏิบัติ ดังนี้ คือ ผู้โดยสารจะต้องสวมใส่หน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้า ทุกครั้งเมื่อเข้าใช้บริการซื้อตั๋ว โดยสารที่สถานีรถไฟและขณะโดยสารบนขบวนรถ และต้องกรอกคําร้องประกอบการซื้อตั๋วโดยสาร ซึ่งต้องระบุ ชื่อ – สกุล เลขที่บัตรประจําตัวประชาชน 13 หลัก สัญชาติ เลขหมายโทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้ พร้อมเหตุผลในการเดินทาง และระบุที่พักปลายทาง และผู้ใช้บริการจะต้องยืน หรือนั่งตามจุดที่เจ้าหน้าที่ รฟท.กําหนดไว้อย่างเคร่งครัด นอกจากนั้นทางเจ้าหน้าที่ รฟท. จะดําเนินการคัดกรองการตรวจวัดอุณหภูมิก่อนใช้บริการที่สถานีรถไฟทุกครั้ง หากพบอุณหภูมิสูงกว่า 37.5องศาเซลเซียส ขอให้ผู้โดยสารหลีกเลี่ยงการเดินทาง หากจําเป็นต้องเดินทางขอให้มีใบรับรองแพทย์แสดง และกรอกแบบประเมินและรับรองตนเองเพื่อคัดกรองและยืนยันตนก่อนการเดินทาง

อย่างไรก็ตามหากผู้โดยสารเป็นบุคคลในกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อ เช่น ผู้ใช้บริการที่มีอายุตั้งแต่ 70 ปีขึ้นไป กลุ่มคนที่มีโรคประจําตัว และกลุ่มเด็กเล็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปีลงมา ควรงดการเดินทาง เว้นแต่บุคคลกลุ่มดังกล่าวมีความจําเป็นตามข้อกําหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการใน สถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ลงวันที่ 25 มีนาคม 2563 และหากกรณีเมื่อรัฐบาลโดยศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด – 19 ประกาศห้ามการเดินทางของประชาชน รถไฟ จะงดให้บริการขบวนรถโดยสารทุกขบวนทั้งหมดในทันที 

นายวรวุฒิ กล่าวเพิ่มเติมว่า หากผู้โดยสารที่ซื้อตัวสํารองที่นั่งแล้วไม่ประสงค์เดินทาง สามารถนำตั๋วโดยสารมาขอคืนเงินได้ที่สถานีรถไฟทุกแห่ง ตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม 2563 เป็นต้นไป หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์บริการลูกค้าสัมพันธ์ หมายเลขโทรศัพท์ 1690 ตลอด 24 ชั่วโมง