พิพิธภัณฑ์ศิลปะเดนเวอร์เตรียมจัดส่งโบราณวัตถุคืนไทย 3 รายการ

DAM ออกแถลงการณ์จะส่งโบราณวัตถุในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 11 ชิ้นคืนเวียดนาม ไทยและกัมพูชา จากการถูกแรงกดดันทางกฏหมายและสื่อมวลชน

ลอรี อิลิฟฟ์ นักวิจัยอาวุโสของ พิพิธภัณฑ์ศิลปะเดนเวอร์ (DAM) ได้ออกแถลงการณ์ ว่าทาง DAM ยังคงให้ความร่วมมือทางการสหรัฐฯและต่างประเทศ โดยปีที่ผ่านมา ทาง DAM ได้ถอดโบราณวัตถุ จำนวน 11 จากภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ออกจากคอลเลคชั่นในพิพิธภัณฑ์แล้วและรอการส่งคืนไปยังประเทศเวียดนาม ไทยและกัมพูชา

โดยยืนยันการเตรียมการส่งคืนวัตถุ 1 ชิ้นคือกริชสำริดโบราณ ซึ่งมีการยืนยันตรงกันว่ามาจากประเทศเวียดนาม โดยทางการเวียดนามร้องขอการส่งคืนจำนวน 4 ชิ้น แต่ทาง DAM ระบุว่าที่เหลือ 3 ชิ้นไม่ได้อยู่ในคอลเลคชั่นของ DAM และดูเหมือนจะไม่เคยอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ด้วย 

ทั้งนี้โบราณวัตถุ 11 ชิ้น 5 ชิ้นถูกเชื่อมโยงกับ ดักลาส เอเจ แลธ์ชฟอร์ด ชาวอังกฤษ นักสะสมศิลปะและโบราณวัตถุ และ เอ็มมา ซี. บังเกอร์ ซึ่งเป็นผู้ดูแลทรัพย์สินและหุ้นส่วน DAM มายาวนาน

พระยืน ในชุดพระราชพิธี ประเทศไทย ประาณปี 1800 บรอน สูง 52″x12″

ทั้งนี้ บังเกอร์ มีบทบาทสำคัญกับธุรกิจการค้าของ แลธ์ชฟอร์ด มายาวนานได้บริจาคโบราณวัตถุที่กล่าวมาทั้งหมดให้กับ DAM แต่ในปี 2564 ทาง DAM ได้ทำการลบชื่อของเธอออกจากผนังในพิพิธภัณฑ์และคืนเงิน 185,000 ดอลลาร์ที่เธอและครอบครัวบริจาคไว้

ในเดือนมีนาคม ปีที่ผ่านมามีการยอมรับอย่างเป็นทางการว่า บังเกอร์ได้ช่วยช่วยแลทช์ฟอร์ดในการโน้มน้าวให้พิพิธภัณฑ์ได้รับงานศิลปะที่ถูกขโมยไป

หนังสือพิมพ์เดนเวอร์โพสต์รายงานเพิ่มเติมว่าบังเกอร์ใช้พิพิธภัณฑ์เป็น “สถานีนำทาง” สำหรับโบราณวัตถุที่ถูกขโมย โดยแลทช์ฟอร์ดซึ่งพ่อค้าในกรุงเทพฯ ซึ่งใช้เวลาในอาชีพของเขาขายโบราณวัตถุและชิ้นส่วนที่ถูกขโมยมาจากเขมรให้กับสถาบันและนักสะสมโบราณวัตถุ

พระโพธิสัตว์ (ประติมากรรม) ประเทศไทย ศตวรรษที่ 8-9 เนื้อทองแดง ขนาด 4”x3”

ปัจจุบันทั้งสองรายได้เสียชีวิตไปแล้วโดยบังเกอร์ซึ่งเสียชีวิตในปี 2564 และแลทช์ฟอร์ดซึ่งเสียชีวิตในปี 2563 

ทั้งนี้บังเกอร์ได้แนะนำ แลทช์ฟอร์ดรู้จัก DAM และแนะนำให้เจาทำการขายและบริจาคโบราณวัตถุที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ของเขมร  บังเกอร์ไม่เคยถูกตั้งข้อหาก่ออาชญากรรมอย่างเป็นทางการ แต่ชื่อของเธอปรากฏในคดีแพ่งและอาญา 5 คดีที่เกี่ยวข้องกับการติดต่อของแลทช์ฟอร์ด

ตามบันทึกของพิพิธภัณฑ์ แลทช์ฟอร์ดเก็บโบราณวัตถุไว้ 5 ชิ้นในกรุงเทพฯ ก่อนที่จะตกไปอยู่ในความครอบครองของบังเกอร์ เธอให้ยืมหรือบริจาคให้กับเขื่อนระหว่างปี 2547 ถึง 2559 สิ่งประดิษฐ์ห้าชิ้นยังปรากฏในหนังสือ Adoration and Glory ของ Bunker และ Latchford ในปี 2547:

เอ็มมา ซี. บังเกอร์ ภัณฑารักษ์พิพิธภัณฑ์ศิลปะเดนเวอร์ รัฐโคโลราโด สหรัฐอเมริกา ผู้ตีพิมพ์งานศึกษาพระสำริดกรุประโคนชัย ระบุว่า ประติมากรรมสำริดกรุนี้ มาจากปราสาทเขาปลายบัด 2

เธอได้ออกหนังสือเกี่ยวกับประติมากรรมศิลปะเขมรร่วมกับดักลาส เอเจ แลธ์ชฟอร์ด ชาวอังกฤษ นักสะสมศิลปะและโบราณวัตถุในกรุงเทพและลอนดอน  ถึง 3 เล่ม

แลธ์ชฟอร์ด มีชื่อไทยว่า นายภัคพงษ์ เกรียงศักดิ์ อดีตนายกสมาคมกีฬาเพาะกายแห่งประเทศไทย เขายังเคยเป็นเจ้าของประติมากรรมสำริดกรุประโคนชัย ขนาด 22.5 เซนติเมตร ซึ่งอยู่ในความดูแลของพิพิธภัณฑ์คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากรในปัจจุบัน

พระนั่งงูมุขลินท์ เขมร ไทย ศตวรรษที่ 12 เนื้อทองแดง สูง 10.5”

พ.ศ. 2562 แลธ์ชฟอร์ด  ถูกอัยการเขตนิวยอร์กใต้ตั้งข้อหาค้าโบราณวัตถุผิดกฎหมาย หลังจากพบว่า เขาเป็นผู้ขายประติมากรรมศิลปะเขมรที่ถูกขโมยมาให้กับลูกค้าในสหรัฐอเมริกาเป็นจำนวนมาก หนึ่งในนั้นคือ แนนซี่ วีนเนอร์ นักธุรกิจค้าศิลปะและวัตถุโบราณระดับโลกที่นิวยอร์ก

แลธ์ชฟอร์ด ถูกอัยการเขตนิวยอร์กใต้ตั้งข้อหาว่าปลอมแปลงและบิดเบือนที่มาของศิลปะและโบราณวัตถุ ทั้งนี้ ในสำนวนการสอบสวนยังระบุว่า เอ็มม่ามีส่วนสนับสนุนฟอกวัตถุโบราณให้กับนดักลาสหลายครั้งเช่นกัน ทว่าปัจจุบัน นายดักลาสวัย 88 ปีเสียชีวิตที่กรุงเทพมหานครเมื่อเดือนสิงหาคม 2563 ที่ผ่านมา

ที่ผ่านมา ประเทศไทยถูกกล่าวหาจากหลายประเทศ หลายสถาบัน ว่าเป็นทางผ่านของศิลปะและโบราณวัตถุจากประเทศใกล้เคียงเพื่อส่งออกไปยังต่างประเทศ โดยเฉพาะช่วงสงครามในอดีต เช่น สมัยเขมรแดง สมัยสงครามเวียดนาม ฯลฯ ของต่างๆ ถูกส่งมาจากจากลาว กัมพูชา เข้ามายังประเทศไทย เพื่อส่งออกไปต่างประเทศอย่างผิดกฎหมาย

ที่มา

https://www.theartnewspaper.com/2024/03/20/denver-art-museum-latchford-bunker-antiquities-repatriation

https://www.denverartmuseum.org/en/blog/return-pending-deaccessioned-vietnamese-dagger-and-other-asian-artworks

https://www.thaipbs.or.th/news/content/297412