พรหมลิขิต จะนำพาประเทศไทย ไปไหนต่อ ?

ประเทศไทยเคยผ่านการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่มีอัตราการเจริญเติบโตปีละ 7% มาแล้วในช่วงการลงทุนทำโครงการเมกะโปรเจกต์

  • อุตสาหกรรมในประเทศมีแต่อุตสาหกรรมเก่า ๆ
  • ไม่มีผู้ใดคิดจะลงทุนใน New Economy อย่างจริงจัง
  • ทยเลยเป็นประเทศล้าหลังเติบโตช้ากว่าทุกประเทศในอาเซียน

ดร.วิโรจน์ กุศลมโนมัย กูรูตลาดนีช ได้วิเคราะห์ว่า ประเทศไทยเคยผ่านการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่มีอัตราการเจริญเติบโตปีละ 7% มาแล้วในช่วงการลงทุนทำโครงการเมกะโปรเจกต์ โครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก หรือ Eastern Sea board Development Program (ESB) ซึ่งมีการสร้างนิคมอุตสาหกรรมและอุตสาหกรรมน้ำมันดิบเป็นพระเอก จึงทำให้ การเติบโตของ GDP หรือเศรษฐกิจเมื่อ 30 ปีที่ผ่านมา ไม่ใช่ว่าประชาชนทุกคนจะได้รับประโยชน์จากโครงการดังกล่าว โดยความเป็นจริงแล้ว มีคนเพียง 10% ที่เป็นทุนกลุ่มใหญ่  คุมเศรษฐกิจและมีทรัพย์สินมากกว่า 70% ของประเทศที่จะได้ประโยชน์ ตามมาด้วยความคึกคักในตลาดหุ้น ที่คนขาดทุนก็คือ แมงเม่า ที่มีทุนน้อย ต้องซื้อและขายหลายรอบจนทำให้ถูกกินค่าธรรมเนียมและขาดทุนในที่สุด บางครั้งข้อมูลที่โบรเกอร์ให้ก็เป็นข้อคิดเห็นเกินจากข้อเท็จจริงเพื่อให้เราได้ซื้อขายกันหลายรอบเท่านั้นเอง สุดท้ายเกิดฟองสบู่แตก ต้มยำกุ้ง

แต่แล้วทำไมทุก ๆ รัฐบาลยังต้องมาเอื้อประโยชน์ให้กลุ่มทุน หรือบางรัฐบาลเอากลุ่มทุนมาเป็นที่ปรึกษาด้วยซ้ำ เขาก็มีเหตุมีผลนะครับ  คิดง่าย ๆ ก็เพราะว่า กลุ่มทุนพวกนี้ เขาคือลูกค้ารายใหญ่ของรัฐบาลที่จ่ายภาษีประมาณ 70% ของคนในประเทศไงครับ? คนพวกนี้ เขาคือใคร?  เขาคือ นักธุรกิจคนไทยและต่างชาติ ที่มีหุ้นอยู่ในตลาดหลักทรัพย์นั่นเอง  ถ้ามองธุรกิจในตลาดหลักทรัพย์ของไทย ก็จะเห็นได้ว่า เกือบทั้งหมด 100% ยังดำเนินธุรกิจแบบเดิม ๆ เหมือนเมื่อ 30 ปีก่อนเลย รวมเรียกว่าเป็น Old Economy ทั้งนั้น แต่สภาพแวดล้อม ภูมิรัฐศาสตร์ และเทคโนโลยีได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากในด้านการผลิต การค้า อุตสาหกรรม เราตามเขาทันในเรื่องบริโภคนิยมและการท่องเที่ยวแค่นั้นเอง  ฉะนั้นอุตสาหกรรมในประเทศไทยจึงมีแต่อุตสาหกรรมเก่า ๆ ล้าหลัง ไม่มีใครกล้าปรับปรุงอุตสาหกรรมจาก 1.0 เป็น 4.0 ยกเว้นบริษัท ซีพีออล ที่เป็นผู้นำคือปรับปรุงผลิตภาพด้วยหุ่นยนต์ และ AUTOMATION แม้ไม่มีผู้ใดคิดจะลงทุนใน New Economy  อย่างจริงจัง และเป็นรูปธรรมให้เห็นเด่นชัด เพราะต้องใช้เงินลงทุนสูง ต้องใช้เงินทำวิจัยพัฒนา R&D มาก และใช้เวลานาน เช่น  S Curve, Green Economy, Digital Economy, Bio Economy เป็นต้น  ไทยเลยเป็นประเทศล้าหลังเติบโตช้ากว่าทุกประเทศในอาเซียน

มองเหรียญอีกด้านนึง การเติบโตของไทยก็ต้องมาแลกด้วยความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม ทุกสิ่งทุกอย่างต้อง Trade off ไม่มีของฟรีในโลก ! เหมือนการสร้างเขื่อน ประชาชนบางส่วนก็ต้องเสียสละ เดือดร้อน ย้ายบ้านหนีน้ำ แต่กลยุทธ์การทำศึกสงคราม เป้าหมายคือชนะสงคราม Win the War  โดยไม่จำเป็นต้องชนะศึก Win the Battle เหมือนฟุตบอล เราแพ้ Match โน้น Match นี้ แต่เราชนะศึกใหญ่ที่เป็นเป้าหมายก็พอแล้ว เพราะเราเป็นประเทศเล็ก มีทรัพยากรที่จำกัด วางเป้าหมายให้ชัดเจน ไม่ต้องมีหลายเป้า แล้วทุ่มทรัพยากรทั้งหมดไปเป้าหมายนั้นอย่างใจจดใจจ่อ จริงจัง และขอความร่วมมือจากทุกฝ่าย ผมไม่ได้พูดถึง Digital Wallet นะครับ  เพราะนั่นไม่ใช่คำตอบของเป้าหมายที่จะทำให้ประชาชนอยู่ดีกินดี มันแค่เป็นจิตวิทยา และแก้ปัญหาได้ในระยะสั้น ๆ เท่านั้นเอง ไทยควรมีเอกภาพ ทุกฝ่ายร่วมมือร่วมใจกันทำเป้าหมายที่ทุกคนเห็นชอบด้วยให้สำเร็จได้ แม้จะใช้เวลา 3 ปี 5 ปี 10 ปีก็ตาม

“ผมขอยกตัวอย่าง ประเทศจีน เนื่องจากเขาเป็นระบอบคอมมิวนิส์  ภาครัฐฯ เขาทุบโต๊ะเลยว่า จะสนับสนุนยานยนต์ EV ภาคเอกชนก็ทำตาม พัฒนา EV และบุกไปทั่วโลก คนที่ทำรถยนต์สันดาป ICE ก็มองตาปริบ ๆ จะค้านก็ค้านไม่ได้ แต่ยังไงรถในจีนก็ยังใช้น้ำมันเบนซินและดีเซล มากกว่าไฟฟ้าอยู่ดี สัดส่วนตอนนี้ รถไฟฟ้ายังไม่ถึง 20% เลยครับ ใช้แต่เมืองใหญ่ ๆ เท่านั้น แต่จีนเน้นบุกต่างประเทศ สู้กับค่ายญี่ปุ่น”

คำถามแล้วประเทศไทย จะไปทางไหนต่อ ?

ทั้งนี้สมมุติว่า ถ้าเราขาดแพทย์และต้องการแพทย์เพิ่ม 1,000 คนต่อปี เราก็ประกาศรับสมัคร หรือให้มหาวิทยาลัยผลิตแพทย์ออกมา 1,000 คนในปีหน้า เพื่อมาบริการประชาชนให้เพียงพอ แต่ผ่านมา 50 ปีเราก็ยังทำไม่ได้  ที่เราทำไม่ได้ เพราะว่าเราไปยึดติดกับกฎระเบียบของ 50 ปีที่แล้วมาใช้กับปัจจุบัน นั่นคือปัญหาที่ใหญ่ที่สุดของประเทศนี้  ที่ต้องแก้ก่อนอันดับแรก ..กฎหมาย กฎระเบียบ การถือยศ ถือตัว ถือศักดิ์ศรี และการขาดความกล้าหาญของผู้นำองค์กร กลัวว่า ทำแล้วจะผิดโน่น ผิดนี่ ก่อนทำก็แก้กฎหมาย กฎระเบียบก่อนซิครับ ไม่มีอำนาจก็เสนอขึ้นมาซิครับ เช่น ข้อสอบเอ็นทราน เกณฑ์ตัดสินว่าผ่านหรือตก ใช้ค่าเฉลี่ย หรือตัด Curve แทนการพิจารณาจากคะแนน จะหย่อนยานไปบ้าง แต่ก็ได้หมอตามเป้าหมาย มารับใช้ประชาชน ถูกต้องไม๊ครับ? 

สรุป รัฐบาลอาสามาบริหารประเทศตอบสนองความต้องการประชาชน หรือตอบสนองกฎหมาย ตัวหนังสือกันแน่ครับ ???? หรือถ้าไม่ส่งเสริมคนไทย ไม่เอาวิธีนี้ ก็ต้องเสี่ยงรับคนต่างชาติที่เก่ง ๆ เข้าทำงาน หรือมาเป็นครูสอนคนไทย คือ แมวสีอะไรถ้าจับหนูได้ ก็เป็นแมวชั้นดี เราต้องการ S Curve, Green Economy, Digital Economy, Bio Economy เป็นต้น  เราไม่เก่ง ก็ชวนคนเก่งจากต่างชาติมาลงทุน ไม่ใช่ไปมองรัฐบาลในแง่ลบ เอ้า ขายชาตินี่  !  เอ้า เอื้อประโยชน์คนต่างชาตินี่ !  ถ้าคนต่างชาติเขามาสร้างประโยชน์ ก็จะดีต่อประเทศไทยในระยะยาวครับ ที่จีนเขาเติบโต เจริญรุ่งเรืองได้ ก็เพราะเขาเปิดให้คนต่างชาติ คนเก่ง ๆ มาช่วยเขาเมื่อ 20 ปีก่อนนี่ไง ! สุดท้าย คนจีนก็เรียนรู้ที่จะทำเอง  ไม่ใช่ซื้อเขาตลอด หรือไม่ศึกษาเรียนรู้ ..ถ้าขี้เกียจ คนไทยไม่ยอมลำบาก ก็จะไม่มีวันทำเป็นเองหรอกครับ !

ส่วนที่เราเก่ง เช่น เกษตร เราก็ซื้อ ชวนคนต่างชาติมาช่วยพัฒนาเทคโนโลยี เช่น ไต้หวัน พัฒนาคนของเรา ให้ไปศึกษาเพิ่มเติม หรือหาครู อาจารย์  ที่ปรึกษาคนเก่ง จากต่างชาติมาสอน ให้เกิดประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น เกิด Productivity มากขึ้นกว่าเดิม…

สรุปก็คือ การพัฒนาเทคโนโลยี  พัฒนาคน และแก้ไขกฎระเบียบที่กีดกันการพัฒนา แค่ 3 อย่างนี้ละครับ ทั้ง 3 ข้อต้องเริ่มจาก ฝ่ายบริหารประเทศ หรือรัฐบาลก่อน เพื่อนำเสนอให้ฝ่ายนิติบัญญัติแก้ไขกฎหมาย ให้ราชการไฟเขียวทำได้ และส่งเสริมเอกชนหรือจูงใจนักลงทุนให้สานงานทำต่อให้สำเร็จ ถ้านักการเมือง สส. ไม่เริ่ม ก็ไม่เกิดครับ  ทุกคนก็เห็นแก่ตัว ไม่ทำอะไรให้ประเทศชาติพัฒนา คนรวยกินของเก่าผูกขาดประเทศ และประชาชนก็ย่ำอยู่กับที่ ! เอาแบบนี้ไม๊ครับ ย่ำมา 30 ปีแล้ว จะไม่ไปไหนจริงๆหรือครับ? ลูกหลานคนไทยทำยังไง ??? อนาคตอยู่ที่ไหน? ตอนนี้ไทยเสียดุลการค้าจีนมหาศาลเป็นเท่าตัว ทั้งนำเข้า ค้าขาย คู่แข่งออฟไลน์ออนไลน์ แม้กระทั่งธุรกิจร้านอาหารจีน มาแย่งที่อยู่ มาแย่งอาชีพ แล้วยังมีทุนสีเทา ๆ มาหลอกคนไทยอีก ! ไทยต้องรุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลง และทำอะไรสักอย่างไม่ให้เสียเปรียบจีนมากกว่านี้แล้วละครับ ! ไม่งั้นอาชีพลูกหลาน จะถูกจีนกลืนหมดนะครับท่าน! เราอาจสู้จีนไม่ได้ด้านการผลิต แต่ชวนเขามาร่วมทำกับเราได้ มาช่วยเราได้ !  ให้สิ่งที่ประเทศเขาให้ไม่ได้! รับรองคนเก่ง ๆ คนรวย ๆ มาเข้าแถวให้ไทยเลือก ผมรับประกัน !

สำหรับการส่งออกหรือท่องเที่ยว เพื่อนำเงินตราเข้าประเทศ กระตุ้นเศรษฐกิจ พึ่งพาได้ในระยะสั้น เพราะมันมีความผันผวนสูง ผมเปรียบเทียบเหมือนเราเปิดร้านขายอาหาร  ถ้าฝนตกก็ไม่มีลูกค้า ไม่ได้ขายดีทุกวัน

สำหรับการลงทุนเมกะโปรเจกต์ เปรียบได้กับการสร้างอพาร์ทเม้นท์ให้ลูกค้าเช่า เก็บค่าเช่าระยะยาว 30  ปีเป็นต้น ส่วนการบริโภคหรือจับจ่ายใช้สอย ก็ยิ่งผันผวนใหญ่ เพราะว่าถ้าบริโภคเกินตัว หรือมากกว่าอัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ จะทำให้เกิดเงินเฟ้อ และก่อหนี้ เช่น เราซื้อรถคันใหม่ ขายคันเก่าออกไป ก็ขาดทุนครึ่งนึง แต่ต้องมาก่อหนี้ก้อนใหม่ เป็นต้น