“ปลัดกระทรวงคมนาคม” เผยโครงสร้างพื้นฐานกระทรวงคมนาคม เน้นตอบโจทย์คนไทย เพิ่มความสะดวกการเดินทาง-การท่องเที่ยว

  • ช่วยลดค่าขนส่งและเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจำนวนมหาศาล
  • ช่วยให้คนเมืองเดินทางสะดวกลดมลพิษ เชื่อมการเดินทางต่างจังหวัดง่ายขึ้น เชื่อมการค้าลงทุนโลก

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากงานสัมมนา “Thailand Future Smart and Sustainable Mobility ขับเคลื่อนประเทศไทยสู่อนาคตที่ยั่งยืน” ซึ่งจัดโดยไทยรัฐ กรุ๊ป ร่วมกับกระทรวงคมนาคม ในช่วงเสวนา เรื่อง “โอกาสของประเทศไทยจากการได้ใช้ประโยชน์จากการพัฒนาโครงข่ายคมนาคม” ซึ่งจะเป็นช่วงที่ทำให้เห็นภาพชัดเจนขึ้นอีกว่า คนไทยจะได้ประโยชน์อย่างไรจากโครงข่ายคมนาคมที่กำลังจะเกิดขึ้น

นายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม  ได้กล่าวในหัวข้อ “แผนพัฒนาโครงข่ายกับการผลักดันการเติบโตทางเศรษฐกิจและการส่งเสริมคุณภาพชีวิต” ว่า จากแผนที่กระทรวงคมนาคมวางไว้ ต่อจากนี้คนไทยจะเห็นโครงการเกิดขึ้นมากมาย และทั้งหมดเป็นความพยายยามเพื่อตอบโจทย์ประชาชน และจะช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไทยในดีขึ้น ตามนโยบายของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี  ที่ให้โจทย์กระทรวงคมนาคมผ่าน รมว.คมนาคมว่า การวางแผนของกระทรวงคมนาคมจะต้องสร้างประโยชน์จากประชาชนให้ได้อย่างมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน  

“จากดำเนินการที่ผ่านมา กระทรวงได้แบ่งเป็นปัญหาออกเป็น 3 ส่วนคือ ปัญหาในเมือง ปัญหานอกเมือง การเชื่อมโยงภูมิภาคและเชื่อมโยงโลก  เพื่อให้การขนส่งคน และสินค้าไปจากต้นทางไปสู่ปลายทาง ได้อย่างสะดวก ปลอดภัยตรงเวลา  และราคาสมเหตุสมผลโดยในส่วนของ “คน” จะดูแลในส่วนของความสะดวกสบายในการเดินทางและท่องเที่ยว ขณะที่ด้านสินค้า เพื่อตอบโจทย์การพัฒนาเศรษฐกิจ และการส่งออก จะเน้ยการเชื่อมโยงการขนส่งทางบก ในประเทศ และการขนส่งทางน้ำ ในการส่งออกไปต่างประเทศ”

ทั้งนี้ สำหรับกลุ่มในเมือง ปัญหาสำคัญคือ การจราจรติดขัด และปัญหามลพิษ ซึ่งพบมากทั้งในกรุงเทพ ฯ และปริมณฑล จากปริมาณรถยนต์ที่เพิ่มขึ้นทุกปี ซึ่งปัญหาส่วนหนึ่งมาจากระบบการขนส่งมวลชนที่ไม่เพียงพอ หรือไม่ดีพอดังนั้น การทำให้ระบบการขนส่งสาธารณะดีขึ้นเหมือนเมืองใหญ่หลายๆ เมืองในโลกจึงเป็นเป้าหมาย  โดยการสร้่างรถไฟฟ้า 554 กม 14 สาย ในเกิดขึ้นครบทั้งวงจรภายในปี 2572  รวมทั้งการสร้างเครือข่ายการขนส่งระยะสั้น (ฟีดเดอร์) เพื่อเชื่อมจากบ้านของประชาชนสู่จุดหมายได้  ผ่านทั้งการปรับสายรถเมล์ และเรือโดยสารให้เข้าสู่สถานีรถไฟฟ้าสุดท้ายจะเปลี่ยนแนวคิดจากเดิมที่ เราคิดว่า “เราจะไปเส้นไหนที่รถติดน้อยที่สุด เป็นไปสถานีรถไฟฟ้าที่ใกล้ที่สุดแทน” ซึ่งหากคนมาใช้ระบบขนส่งมวลชนจริง จะช่วยประหยัดเวลา และลดการใช้น้ำมัน ซึ่งจะแปรเป็นมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจได้

ปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวต่อว่า จากปัญหาในมือง ต่อเนื่องมายังการขนส่งระหว่างเมือง โดยเฉพาะการขนส่งและโลจิกส์ติกส์ จากเดิมที่ใช้ระบบรถบรรทุกเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งส่งผลให้เกิดปัญหารถติด และสร้างมลพิษเพิ่มขึ้น แนวคิดของกระทรวงจึงจะเปลี่ยนระบบถนนเป็นระบบราง โดยการสร้างรถไฟทางคู่จะเข้ามารองรับในส่วนนี้ แต่คีย์สำคัญที่จะทำให้นักธุรกิจจะเลือกขนส่งทางรางมากขึ้น คือ การสร้างจุดเชื่อมต่อจากโรงงานสู่ทางรถไฟ โดยอาจจะยังใช้รถบรรทุกอยู่เพื่อบรรทุกจากโรงงานมายัง “จุดเชื่อมต่อ” เพื่อขนถ่ายเข้าสู่ระบบราง และจุดเชื่อมต่อจะใช้ระบบออโตเมชั่น เป็นหลักเพื่อให้รวดเร็วสะดวก และราคาสมเหตุสมผล ซึ่งเชื่อว่าจะสามารถดึงดูดให้นักธุรกิจเข้ามาใช้ระบบรางในการขนส่งมากขึ้นในนอนาคต  และทำให้ต้นทุนโลจิสติกส์ของไทยลดลงมากจากปัจจุบันนี้

ขณะที่ในมิติที่ 3 คือ การเชื่อมภูมิภาค และการเชื่อมโลก โดยใช้ข้อดีของประเทศไทยที่มีพื้นที่ที่เป็นศูนย์กลางของภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ เชื่อมโยงทั้งทางถนนน มอเตอร์เวย์เส้นต่างๆ ที่เชื่อมเหนือใต้ ตะวันออกไปตะวันตกและที่จะเห็นภาพชัดเจนคือ โอกาสของไทยในการขนส่งน้ำมัน ซึ่งปัจจุบันมีการขนส่งสูงถึง 16 ล้านบาร์เรลต่อวัน ผ่านช่องแคบมะละกา ซึ่งเราไม่ได้ประโยชน์ แต่ถ้าทำตามแผนตัดตอนของเรา คือ การแลนด์บริจด์ ระหว่างชุมพร และระนองจะทำให้การขนส่งน้ำมันส่วนนี้มาสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับประเทศมหาศาล และแลนด์บริจด์ที่สร้างขึ้นไม่ได้ขนส่งน้ำมันอย่างเดียว ซึ่งทั้งหมดเป็นประโยชน์ของโครงข่ายโครสร้่างพื้นฐานเศรษฐกิจ จะสร้างได้ทั้งความสะดวกของประชาชน การสร้างรายได้ให้กับคนในประเทศ และการสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจเพิ่มการขยายตัวของเศรษฐกิจของประเทศได้