มาเลย์ เสนอการเชื่อมต่อรถไฟผ่านสะพาน​โกลก คู่แข่ง แลนด์บริดจ์ ไทย

แอนโทนี ลก รมว.คมนาคม มาเลเซีย
แอนโทนี ลก รมว.คมนาคม มาเลเซีย บริเวณสะพานมิตรภาพชายแดนมาเลเซีย-ไทย

มาเลเซีย เสนอให้ทางการไทย เชื่อมต่อโครงการ รถไฟ ECRL หลังปิดสะพานมิตรภาพพรมแดนมานาน เพื่อขนส่งสินค้าและเชื่อมต่อรถไฟความเร็วสูงจากจีนลงไปสิ้นสุดสิงคโปร์ เป็นทางเลือกแทนท่ีจะลงทุนมหาศาลในโครงการ แลนด์บริดจ์

SCMP รายงานจากสื่อมาเลเซียว่า แอนโทนี ลก รมว.คมนาคม มาเลเซีย ออกมาเรียกร้องให้ ทางการไทย รื้อฟื้นเส้นทางรถไฟเส้นทาง Pan-Asia เพื่อเชื่อมต่อเครือข่ายรถไฟทั่วเอเชีย ซึ่งประเทศไทยในปัจจุบันว่าเป็นศูนย์กลางของเส้นทางรถไฟทั่วเอเชียขณะเดียวกันจะทำให้มาเลเซียเข้าถึงเครือข่ายทั้งหมดของไทย เชื่อต่อไปลาว และ จีน

ทั้งนี้ สะพานมิตรภาพ ซึ่งอยู่ระหว่างเมืองรันเตาปันยัง ในรัฐกลันตัน เชื่อมต่อกับเมืองสุไหงโก-ลก ในจังหวัดนราธิวาส สร้างขึ้นในปี 2464 กับความยาวเพียง 65 เมตร แต่ถูกปิดตายลงเมื่อ 18 ปีที่ผ่านมา รถไฟขบวนสุดท้ายแล่นข้ามสะพานเหล็กที่ทอดข้ามฝั่งแม่น้ำโกลก

จนถึงขณะนี้ ทั้งสองข้างถูกปิดผนึกแล้ว สภาพสะพานเกิดสนิมจากการถูกน้ำท่วมแทะไปตามราง สภาพไม้หมอนที่ผุพัง

วิสัยทัศน์ของ แอนโทนี ลก ได้ออกมาเสนอให้รื้อฟื้นปรับปรุงสะพานเพื่อใช้เชื่อมต่อการขนส่งสินค้าและรถไฟความความเร็วสูงบรรทุกผู้คนจากประเทศจีน ผ่าน ลาว ไทย มาลเซีย ไปสิ้นสุด สิงคโปร์ 

จุดมุ่งหมายคือ ต้องการให้สะพานแห่งนี้เป็นจุดเชื่อมต่อหลักตามเครือข่ายรถไฟ Pan-Asia

“หากเราเชื่อมต่อเครือข่ายระบบรางอีกครั้ง เราจะเข้าถึงเครือข่ายทั้งหมดของประเทศไทย และจากที่นั่นไปจนถึงลาวและจีนในที่สุดเราก็สามารถมีทางรถไฟสายเอเชียได้” เขากล่าว

อย่างไรก็ตามวิสัยทัศน์ของเขา ก็ยังแสดงถึงวิสัยทัศน์ที่แข่งขันกันในการเชื่อมโยงแม่น้ำโขงและคาบสมุทรมาลายู ด้วย

ทางฝั่งมาเลเซีย มีแผนจะสร้างเส้นทางรถไฟเชื่อมต่อชายฝั่งตะวันออก East Coast Rail Link (ECRL) จากศูนย์กลางการขนส่งของท่าเรือกลัง บนชายฝั่งตะวันตกไปยังรัฐกลันตัน ตรังกานู และปาหังทางตะวันออก แทนที่แนวเส้นทางยุคอาณานิคมที่ล้าสมัยด้วย เส้นทางรถไฟใหม่ล่าสุด โครงสร้างพื้นฐานที่สร้างโดยบริษัทจีน

ขณะที่ทางจีนได้สร้างรถไฟผ่านลาว และสรุปได้กับรัฐบาลไทยกำลังสร้างรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมต่อลงมายังกรุงเทพฯ แต่เส้นทางลงภาคใต้ไปสู่มาเลเซียยังเป็นส่วนที่ขาดหายไป

อย่างไรก็ตาม นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีของไทย กำลังขายแนวคิดการลงทุนสร้าง แลนด์บริดจ์ เพื่อเชื่ออต่อทะเลอันดามันกับอ่าวไทย ระยะทาง 90 กิโลเมตร  ซึ่งเป็นเส้นทางลัดสำหรับการขนส่งสินค้าแทนการล่องเรือรอบช่องแคบมะละกา

โดยข้อมูลจากทางการไทยคาดว่า แลนด์บริดจ์จะช่วยละระยะเวลาการขนส่งโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 4 วัน และลดต้นทุนการขนส่งลง 15% เมื่อเทียบกับเส้นทางเดินเรือปัจจุบันผ่านช่องแคบมะละกา

ข้อเสนอของเขา (หากเป็นจริง) อาจก่อให้เกิดภัยคุกคามทางเศรษฐกิจที่สำคัญต่อมาเลเซียและสิงคโปร์ ซึ่งมีท่าเรือตั้งอยู่บนเส้นทางเดินเรือที่พลุกพล่านที่สุดสายหนึ่งของโลก

สำหรับช่องทางมะละกา มีตัวเลขระบุว่า เรือจำนวนกว่า 84,000 ลำ ได้แล่นผ่านช่องแคบแห่งนี้ ซึ่งล้อมรอบมาเลเซีย และ สิงคโปร์ เป็นเส้นทางทะเลที่สั้นที่สุด ระหว่างเศรษฐกิจหลักในเอเชียตะวันออก ได้แก่  จีน, ญี่ปุ่น,  เกาหลีใต้ อินเดีย และที่ อื่นๆ 

เส้นทางนี้ครอบคลุมการค้าประมาณ 30% ของโลก และคาดสิ้นทศวรรษนี้จะเพิ่มเป็น 50% โดยคาดว่าการขนส่งจะเกินความสามารถในการขนถ่าย เนื่องจากจีนมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับเศรษฐกิจของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากขึ้น

แลนด์บริดจ์ของประเทศไทยซึ่งมีท่าเรือน้ำลึกที่ระนองทางฝั่งอันดามันทางทิศตะวันตก และ ชุมพรทาง ทิศตะวันออก สู่อ่าวไทย สามารถบรรเทาปัญหาคอขวดรอบคาบสมุทรมลายูได้ด้วยถนนทางบกและทางเชื่อมทางรถไฟ จะช่วยกระตุ้นความมุ่งมั่นของเศรษฐาในการทำให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ชั้นนำในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

แต่ รัฐบาลไทยจะต้องระดมเงินทุนจากต่างประเทศสำหรับโครงการนี้ถึง 28,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ  จากนี้จะใช้เวลาอีกประมาณ 10 ปีสำหรับการก่อสร้างหากไม่มีความล่าช้า

อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญด้านโลจิสติกส์ ได้แสดงความกังขาต่อการคาดการณ์ในเชิงบวก ของนายกรัฐมนตรีไทย เมื่อต้องพิจารณาจากการขนส่งจากน้ำหนักสินค้าจำนวนมหาศาล ซึ่งมีความจำเป็นต้องยกขึ้นและลงเรือ จากทั้งสองฝั่งทะเล

Marco Tieman จากบริษัทที่ปรึกษาและวิจัยกลยุทธ์ห่วงโซ่อุปทาน LBB International กล่าวว่า โครงการแลนด์บริดจ์ของไทย ได้มีการนำเสนอหลายครั้ง แต่มีการลงทุนในสูงและมีปัญหาด้านความปลอดภัย รวมถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญ ดังนั้นตนมองว่าไม่น่าจะเกิดขึ้นได้

เขากล่าวเสริมว่า ข้อเสนอของมาเลเซียนั้นมีแนวคิดที่ดีกว่า โครงการแลนด์บริดจ์ และนักลงทุนอาจใช้ความระมัดระวัง โดยตระหนักว่ารัฐบาล และ นโยบายของไทยสามารถเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว

นับตั้งแต่ยกเลิกระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในปี พ.ศ. 2475 ราชอาณาจักรไทยมีนายกรัฐมนตรี 30 คน โดยมีอดีตทหารระดับสูงเพียงไม่กี่คน ได้แก่ จอมพลป. พิบูลสงคราม พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ และพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ซึ่งดำรงตำแหน่งมากว่า 5 ปี

ในขณะเดียวกัน มาเลเซียและสิงคโปร์กำลังผลักดันโครงการเชื่อมต่อของพวกเขา โครงการ ECRL ของมาเลเซีย ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นดาวเด่นของโครงการ Belt and Road Initiative ของจีน กำลังฟื้นตัวขึ้นมาอีกครั้งเนื่องจากการก่อสร้างยังคงดำเนินต่อไปตามกำหนดการซึ่งคาดว่าจะเริ่มดำเนินการได้ในปี 2570 ซึ่งเร็วกว่าเวลาของไทยสำหรับสะพานข้ามแดนที่อยู่ห่างออกไป 700 กม. อีกหลายปี

แอนโทนี ลก และ Malaysian Rail Link (MRL) ผู้ดำเนินการของ ECRL และ Malayan Railway ผู้ดำเนินการเครือข่ายเดิม กล่าวว่าจุดมุ่งเน้นของมาเลเซียจะอยู่ที่การบูรณาการกับโครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่

“มีเส้นทางรถไฟที่เชื่อมต่อประเทศต่างๆ จากประเทศจีนไปยังลาว ไทย และมาเลเซียแล้ว เรากำลังพิจารณาการบูรณาการเพิ่มเติม ไม่เพียงแต่ในรางรถไฟเท่านั้น แต่ในแง่ของพิธีการศุลกากร ความเข้าใจระหว่างรัฐบาล เพื่อให้การค้าระหว่างประเทศต่างๆ มีความรื่นไหล” เขากล่าว

เหมือนโครงการแลรนด์บริดจ์ของไทย  โครงการ ECRL จะเชื่อมต่อศูนย์ขนถ่ายสินค้าหลักของมาเลเซียในท่าเรือกลังบนช่องแคบมะละกาไปยังท่าเรือกวนตัน สิ่งนี้จะเชื่อมโยงชายฝั่งตะวันตกที่มีการขยายตัวของเมืองของคาบสมุทรมาเลเซียเข้ากับชายฝั่งตะวันออก

เส้นทางรถไฟเดินทางขึ้นเหนือผ่านรัฐตรังกานู ซึ่งไม่เคยมีรถไฟให้บริการมาก่อน เข้าสู่รัฐกลันตันซึ่งเป็นรัฐที่ยากจนที่สุดของมาเลเซีย ซึ่งทางรถไฟสิ้นสุดที่พื้นที่เพาะปลูกที่ว่างเปล่าด้านนอกเมืองหลวงของรัฐโกตาบารู เมื่อสิ้นสุดเส้นทาง เส้นทาง 665 กม.

ข้อเสนอของมาเลเซียต้องการให้ทางการไทยใช้ประโยชน์จาก โครงการรถไฟ ECRL เพื่อขนส่งสินค้าไปทางภาคใต้ ซึ่งช่วยประหยัดการลงทุนจำนวนหลายหมื่นล้านดอลลาร์ที่จำเป็นในการสร้างท่าเรือน้ำลึก 2 แห่ง และโครงสร้างพื้นฐานทางบกในภาคใต้ของประเทศไทย

เพื่อให้การเชื่อมโยงทำงานได้ผล มาเลเซียจำเป็นต้องขยายเส้นทางเพิ่มอีก 33.5 กม. จากปลายทางปัจจุบันไปยังสิ่งอำนวยความสะดวกการรถไฟมลายูที่มีอยู่ที่ชายแดน เพื่ออำนวยความสะดวกในการถ่ายโอนสินค้าที่เชื่อมโยง ECRL เข้าและออกจากการรถไฟของไทย

อย่างไรก็ตาม ยังมีรายละเอียด ระยะห่างความกว้างของรางรถไฟ โดยมาเลเซียจะใช้มาาตรฐานที่กว้างขึ้นซึ่งใช้เหมือนจีน,  อเมริกาเหนือ ยุโรปส่วนใหญ่ และ ตะวันออกกลาง

แอนโทนี ลก กล่าวว่านี่ไม่ใช่โครงการขนาดเล็ก คาดว่าจะต้องใช้งบลงทุนถึง 2,000 ล้านริงกิต

มาเลเซียคาดว่าจะใช้งบประมาณการลงทุนในโครงการไว้ที่ 5.03 หมื่นล้านริงกิต โดยการนำเสนอต่อวุฒิสภาเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา  เขาได้กล่าวว่า  การเชื่อมต่อระบบรางที่ทันสมัยระหว่างมาเลเซียและไทยถือเป็น “ผลประโยชน์ส่วนรวม” ที่จะช่วยเพิ่มการเติบโตทางเศรษฐกิจของทั้งสองฝ่าย

ขณะที่มีการนำเสนอข้อกังวลของสหรัฐฯ ไม่ว่า โครงการแลนด์บริดจ์  ของไทย หรือ ECRL ของมาเลเซีย จีนก็กลายเป็นผู้ชนะ  โดยถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการจัดหาเงินทุน การสร้าง และใช้โครงสร้างพื้นฐานใหม่ 

https://www.scmp.com/week-asia/economics/article/3264057/malaysia-urges-thailand-revive-pan-asia-rail-links-instead-chasing-landbridge-dream

https://thejournalistclub.com/landbridge-game-changers/261168