ทีทีอาร์ ผลักดันร่วมมือด้าน การแพทย์ กับคิวบา

ผู้แทนการค้าไทย หารือแนวทางการส่งเสริมความร่วมมือด้านการแพทย์และสาธารณสุข ชวนจัดตั้งศูนย์การผลิตยาและเวชภัณฑ์ในไทย และใช้ไทยเป็นประตูสู่อาเซียน
ผู้แทนการค้าไทย หารือแนวทางการส่งเสริมความร่วมมือด้านการแพทย์และสาธารณสุข ชวนจัดตั้งศูนย์การผลิตยาและเวชภัณฑ์ในไทย และใช้ไทยเป็นประตูสู่อาเซียน

“ดร. นลินี ทวีสิน” หารือ ทูตคิวบา ผลักดันความร่วมมือด้าน การแพทย์ และสาธารณสุข

ดร. นลินี ทวีสิน ผู้แทนการค้าไทย และ ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี หารือกับคิวบา
นลินี ทวีสิน ผู้แทนการค้าไทย และ ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี หารือกับคิวบา

ดร. นลินี หารือ ทูตคิวบา หารือแนวทางการส่งเสริมความร่วมมือด้านการแพทย์และสาธารณสุข ชวนจัดตั้งศูนย์การผลิตยาและเวชภัณฑ์ในไทย และใช้ไทยเป็นประตูสู่อาเซียน พร้อมสนับสนุนการจัดคณะภาคเอกชนไทยเข้าร่วมงาน Havana International Fair เดือนพฤศจิกายนนี้

ดร.นลินี ทวีสิน ผู้แทนการค้าไทย เปิดเผยหลังจากการหารือร่วมกับนายเปโดร ปาโบล ซาน ฮอร์เฮ โรดดิเกซ เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐคิวบาประจำประเทศไทย ว่า ในปีนี้ ไทยและคิวบามีความสัมพันธ์ทางการทูตครบรอบ 66 ปี 

โดยที่ผ่านมามีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดและราบรื่นมาโดยตลอด ซึ่งตนและท่านทูตเห็นพ้องว่าทั้งสองประเทศยังมีโอกาสในการพัฒนาความร่วมมือในมิติอื่น ๆ เพิ่มเติม โดยเฉพาะการส่งเสริมความร่วมมือด้านการแพทย์และสาธารณสุข เนื่องจากคิวบามีองค์ความรู้ด้านการแพทย์และสาธารณสุขที่ก้าวหน้า ในขณะที่ไทยตั้งเป้าที่จะเป็นศูนย์กลางด้านการท่องเที่ยวและสาธารณสุข โดยตนได้ใช้โอกาสนี้เสนอให้ทางฝ่ายคิวบาจัดตั้งศูนย์การผลิตยาและเวชภัณฑ์ในไทย และใช้ไทยเป็นประตูสู่ตลาดอาเซียนประเทศต่าง ๆ ทั้งนี้ ในปัจจุบันคิวบาและไทยได้มี Joint ventures เพื่อพัฒนาและผลิตยากลุ่มชีวภัณฑ์สำหรับการรักษาโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง และข้ออักเสบเรื้อรัง   

หารือแนวทางการส่งเสริมความร่วมมือด้านการแพทย์และสาธารณสุข
หารือแนวทางการส่งเสริมความร่วมมือด้านการแพทย์และสาธารณสุข

ผู้แทนการค้าไทย กล่าวเพิ่มเติมว่า ท่านทูตคิวบายังได้เชิญตนและคณะภาคเอกชนไทยเข้าร่วมงาน Havana International Fair ในระหว่างวันที่ 4 – 9 พฤศจิกายน 2567 เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการไทยได้เล็งเห็นถึงศักยภาพของตลาดลาตินอเมริกาและแคริบเบียนมากขึ้น ซึ่งเป็นตลาดที่มีศักยภาพทั้งในด้านการเป็นแหล่งนำเข้าวัตถุดิบและทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ และยังเป็นตลาดส่งออกสินค้าไทย ที่มีผู้บริโภคจำนวนกว่า 600 ล้านคน นอกจากนี้ การจัดสัมมนาในหัวข้อ Flavours of Opportunities: Nourishing Trade and Investment between Thailand and Latin America

โดยกระทรวงการต่างประเทศไทย ก็จะเป็นโอกาสสำคัญในการให้นักธุรกิจทั้งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนข้อมูลทางเศรษฐกิจระหว่างกัน โดยเฉพาะสาขาอุตสาหกรรมอาหารและเกษตร ซึ่งไทยเป็นศูนย์กลางผลิตที่สำคัญของโลก

ทำเนียบรัฐบาล

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : กรมการแพทย์ ชวนดูแลสุขภาพ เน้นพฤติกรรมบริโภคถูกต้อง

แพทยศาสตร์ หรือ การแพทย์ (อังกฤษ: medicine) เป็นวิทยาศาสตร์ประยุกต์สาขาหนึ่ง มุ่งแสวงหาความรู้ และให้การดูแลสุขภาพแก่ผู้ป่วย และคนทั่วไป ทั้งในแง่การวินิจฉัยโรค พยากรณ์โรค ส่งเสริมสุขภาพ ป้องกัน และรักษาโรค ฟื้นฟูสุขภาพ และ ให้การประคับประคองผู้ป่วย ที่มีโรค หรือการบาดเจ็บต่างๆ ประกอบไปด้วยศาสตร์ย่อยๆ มากมายที่ถูกพัฒนามา เพื่อดูแลผู้ป่วย และป้องกันโรค

การแพทย์สมัยใหม่ใช้องค์ความรู้จากวิทยาศาสตร์ชีวการแพทย์ การวิจัยทางการแพทย์ พันธุศาสตร์การแพทย์ เทคโนโลยีทางการแพทย์ เพื่อ นำมาวินิจฉัย รักษา ป้องกันโรคและการบาดเจ็บต่างๆ โดยใช้ยาและการผ่าตัด รวมไปถึงการบำบัดแขนงต่างๆ เช่น จิตบำบัด การเข้าเฝือก วัสดุการแพทย์ ยาชีวภาพ และ การรักษาด้วยรังสี เป็นต้น

การแพทย์เป็นศาสตร์ที่เก่าแก่ มีอยู่คู่กับมนุษย์มาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งในสมัยนั้น การแพทย์มักทำอย่างเป็นศิลปศาสตร์ มักมีความเชื่อมโยงกับศาสนา ปรัชญา และ ความเชื่อในท้องถิ่น เช่น หมอยาพื้นบ้านอาจใช้สมุนไพรมร่วมกับการสวดอธิษฐานในการรักษาโรค หรือ นักปรัชญาและ แพทย์โบราณอาจใช้การปล่อยเลือด ในการรักษาโรคตามความเชื่อ เรื่องธาตุเหลวที่เป็นองค์ประกอบของร่างกาย

ในช่วงไม่กี่ศตวรรษมานี้ ซึ่งมีความก้าวหน้าในวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ การแพทย์ส่วนใหญ่นำเอาความรู้ที่เป็นวิทยาศาสตร์ (ทั้งวิทยาศาสตร์พื้นฐานและ วิทยาศาสตร์ประยุกต์ รวมกันเรียกว่าวิทยาศาสตร์การแพทย์) และ ศิลปศาสตร์มาประกอบกัน อย่างเช่น การเย็บแผล มีทั้งส่วนที่เป็นศิลปศาสตร์ที่ต้องใช้ฝีมือในการเย็บ และ ส่วนที่เป็นวิทยาศาสตร์ที่ใช้ความรู้ และการคิดพิจารณาว่าเนื้อเยื่อจะสมานกันได้อย่างไรในระดับเซลล์ และระดับโมเลกุล เป็นต้น

การแพทย์ในยุคก่อนที่จะเป็นวิทยาศาสตร์มักถูกเรียกว่าการแพทย์พื้นบ้าน (traditional) เมื่อนำมาใช้ในปัจจุบันโดยไม่ผ่านการทดสอบแบบวิทยาศาสตร์อาจถูกเรียกว่าการแพทย์ทางเลือก และการแพทย์ทางเลือกที่ไม่มีประสิทธิภาพและไม่มีความปลอดภัยอาจถูกเรียกว่าทุเวชปฏิบัติ (quackery) หรือหมอเถื่อน

แพทยศาสตร์มีศาสตร์เฉพาะทางต่าง ๆ อีกมากมาย เช่น กุมารเวชศาสตร์, อายุรศาสตร์, ศัลยศาสตร์, ศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ (ศัลยศาสตร์กระดูก), สูติศาสตร์, นรีเวชวิทยา, โสตศอนาสิกวิทยา, นิติเวชศาสตร์, จักษุวิทยา, จิตเวชศาสตร์, รังสีวิทยา, ตจวิทยา, พยาธิวิทยา, เวชศาสตร์ชุมชน, อาชีวเวชศาสตร์, เวชศาสตร์ฟื้นฟู, เวชระเบียน, เวชสถิติ เป็นต้น และในแต่ละสาขายังแบ่งย่อยเป็นสาขาย่อยลงไปอีกตามอวัยวะหรือกลุ่มของโรค เช่น ศัลยศาสตร์หัวใจและทรวงอก อายุรศาสตร์โรคไต เป็นต้น