บินไทยรอกดปุ่มสร้างศูนย์ซ่อมอากายานอู่ตะเภา

  • “แอร์บัส” รอดูเชิงรัฐมนตรีคมนาคมคนใหม่
  • ก่อนเดินหน้าร่วมทุนศูนย์ซ่อมอากาศยานอู่ตะเภา
  • ด้านการบินไทยอ้างขั้นตอนรับฟังความคิดเห็น2ฝ่าย

นายสุเมธ ดำรงชัยธรรม กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด(มหาชน) เปิดเผยถึงความคืบหน้าในการดำเนินการร่วมทุนในโครงการศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานอู่ตะเภา กับบริษัท Airbus S.A.S (แอร์บัส) ว่า ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนของการทำรับฟังความคิดเห็นทั้ง 2ฝ่ายคือ ฝ่ายการบินไทย โดยรัฐบาลไทย และ ฝ่าย แอร์บัส ซึ่งยังไม่ได้ข้อสรุปร่วมกัน เนื่องจากทั้งสองฝ่ายยังมีบางประเด็นที่เห็นไม่ตรงกันทั้งในเรื่องของข้อกฎหมาย และ เรื่องๆทั่วไปที่จะเข้ามาร่วมทุนกัน เพราะในเรื่องของข้อกฎหมายประเทศเราก็มีข้อกำหนด ความเข้าใจอย่างหนึ่ง ในส่วนของต่างประเทศก็ไม่สามารถมาเข้าใจในแง่มุมกฎหมายของไทยเหมือนที่ประเทศเราเข้าใจกัน เป็นต้น ดังนั้นขณะนี้จึงยังไม่สามารถสรุปเรื่องการร่่วมทุนได้อย่างชัดเจน ต้องรอให้ได้ข้อสรุปของความคิดเห็นของทั้ง2ฝ่ายสรุปและตกผลึกก่อน

ส่วนประเด็นที่ว่าที่การดำเนินการในโครงการล่าช้า เนื่องจากทางการบินไทย ต้องรอนโยบายที่ชัดเจนจากรัฐบาลชุดใหม่ก่อนนั้น ในรื่องนี้ทางการบินไทย และ แอร์บัส ไม่ได้รอ เพียงแต่ว่าขั้นตอนการรับฟังความคิดเห็นของทั้ง2ฝ่ายยังไม่ได้ข้อสรุปมากกว่า การจะลงทุนร่วมกันในโครงการนี้ถือเป็นโครงการขนาดใหญ่ ดังนั้นการที่จะทำอะไรจะต้องรอคอบให้มากที่สุด 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับปัญหาที่ไม่สามารถสรุปการดำเนินการในโครงการศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานอู่ตะเภาได้นั้น เนื่องจากรัฐบาลที่ผ่านมา โดยเฉพาะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ที่รับผิดชอบในโครงการโดยตรง ที่ไม่สามารถสรุปแผนการจัดซื้อจัดหาเครื่องบินจำนวน 38 ลำของ บริษัท การบินไทย จำกัด(มหาชน)ได้ว่า จะจัดซื่อเครื่องบินของ บริษัท แอร์บัส หรือไม่อย่างไร และ หากจัดซื้อจะจำนวนเท่าไหร่ นั่นจึงเป็นสาเหตุหลักที่ไม่สามารถทำให้การผลักดันในโครงการสามารถเดินหน้าไปอย่างต่อเนื่องได้ตามที่นโยบายของนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี เป็นผู้ผลักดันได้สำเร็จตามที่ตั้งเป้าหมายไว้

อย่างไรก็ตามในแผนลงทุนของการบินไทยพบว่า โครงการศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานจะดำเนินการบนพื้นที่ประมาณ 210 ไร่ เป็นพื้นที่ของกรมธนารักษ์ที่อยู่ในความครอบครองของกองทัพเรือ โดยแบ่งระยะการลงทุนออกเป็น ระยะแรกช่วงปี 2565-2583 จะลงทุนประมาณ 6,400 ล้านบาท โดยการบินไทยลงทุนเอง 2,000 ล้านบาท ที่เหลือจะเป็นการลงทุนของภาคเอกชน เพื่อใช้ในการก่อสร้างโรงซ่อมบำรุง และจัดซื้ออุปกรณ์

นอกจากนี้จะรองรับการซ่อมบำรุงอากาศยานได้ 80-100 ลำ ตามแผนคาดว่าจะเปิดดำเนินการได้ในปี 2565 มีเป้าหมายสร้างรายได้ในปีแรกอยู่ที่ 400-500 ล้านบาท จากการซ่อมอากาศยาน 10 ลำ และประเมินว่าจะมีการเติบโตของรายได้เฉลี่ยอีกปีละ 2% และในช่วง 50 ปีจะมีรายได้รวม 200,000ล้านบาท….

ขอบคุณภาพจาก บริษัท การบินไทย จำกัด(มหาชน)