ธปท. หนุนสร้างโอกาสคนรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวใน งาน BOT Symposium 2022 ภายใต้แนวคิด “ก้าวสู่ยุคใหม่เศรษฐกิจการเงินไทย : Strengthening Economic and Financial Foundations for the Next Generation” ว่า ธปท.มุ่งส่งเสริมการลดความเหลื่อมล้ำ การสร้างความเท่าเทียมด้านการศึกษา โอกาสในการหางานทำ โอกาสการทำธุรกิจ การแสวงหาโอกาสในการลงทุน  เพื่อตอสนองโอกาสในการทำธุรกิจของคนรุ่นใหม่  

ธปท. จึงมีนโยบายหลัก 2 ด้านคือ การสร้างโอกาส และลดความไม่ปลอดภัย ผ่านการพัฒนาโครงสร้างทางการเงินใหม่ เพราะถนนหนทาง รถไฟ เครื่องบิน ของไทยพัฒนาพร้อมแล้ว จากนี้ไป ต้องพัฒนาระบบการโอนเงิน การชำระเงินให้กับประชาชนทำได้อย่างรวดเร็ว ปลอดภัย รวมถึงการค้าชายดแดน  ด้วยการเปิดกว้างให้ผู้ใช้บริการหลากหลายกลุ่ม ค่าบริการเหมาะสม ให้ผู้บริโภคมีทางเลือก การแชร์ระบบข้อมูล เพื่อให้ภาครัฐ เอกชนนำมาใช้ผ่านระบบดิจิทัลมากขึ้น  ธปท. จึงต้องพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินขึ้นมาใหม่ 

ขณะนี้ไทยได้จับมือกับสิงค์โปร์ เชื่อมโยงระบบ Pay Now กับระบบพร้อมเพย์ของไทย อำนวยความสะดวกในการชำระเงินข้ามแดน นอกจากนี้ ธปท. ยังเชื่อมระบบข้อมูลกับ ธนาคารกลางฮ่องกง UAE และจีน นอกจากนี้ยังส่งเสริมระบบการเงินเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน เช่น การระดมทุนเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจะได้รับความสนใจจากนักลงทุน หรือปล่อยกู้ให้กับโครงการดูแลสิ่งแวดล้อม จึงต้องการสร้างความตระหนักรู้ให้กับคนรุ่นใหม่

นายปิติ ดิษยทัต เลขานุการ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) กล่าวในหัวข้อ “เมื่อโลกหมุนไว นโยบายการเงินกับการปรับตัวต่อความท้าทายใหม่” ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ ยุโรป คาดการณ์อัตราเงินเฟ้อในช่วง 9 เดือนก่อนร้อยละ 3-4 แต่ขณะนี้อัตราเงินเฟ้อร้อยละ 8-9 สำหรับดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 1 สิ้นปีคาดว่าเฟดเพิ่มดอกเบี้ยเป็นร้อยละ4  ส่วนไทยเดิมคาดการณ์เงินเฟ้อร้อยละ 2 ขณะนี้อัตราเงินเฟ้อร้อยละ 6  ส่วนสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐเทียบกับเงินเยนยูโร แข็งค่าในรอบ 20 เทียบกับปอนด์สเตอร์ลิงอังกฤษ แข็งค่าในรอบ 40 ปี 

นับว่ากระแสเศรษฐกิจของโลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วในโลกยุคใหม่  กรอบนโยบายการเงินขณะนี้เป็นเรื่องใกล้ตัวของทุกคน จึงได้เปิดให้คนรุ่นใหม่สะท้อนแนวคิด การออกแบบนโยบายการเงินให้สอดคล้องกับยุคปัจจุบันโดยเป้าหมายนโยบายการเงินสำหรับปี 2565   ครม.   อนุมัติกรอบอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในช่วงร้อยละ 1-3 เป็นเป้าหมายนโยบายการเงิน  และกนง.เคยประเมินว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ย 12 เดือนข้างหน้า ตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 (เมษายน-มิถุนายน) ปี 2565  ถึงไตรมาสที่ 1 (มกราคม-มีนาคม) ปี 2566 อยู่ที่ร้อยละ 4.1 สูงกว่ากรอบเป้าหมายนโยบายการเงิน 

น.ส.ณชา อนันต์โชติกุล  นักเศรษฐศาสตร์  ธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าวว่า เศรษฐกิจโลกหลังโควิด-19 มีปัญหาเศรษฐกิจหยุดชะงัก ความขัดแย้งระหว่างประเทศ และความท้าทายอื่นๆ เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เมื่อโลกหมุนเร็วขึ้น กรอบนโยบายการเงินปัจจุบันจะเหมาะสมกับยุคปัจจุบันหรือไม่ เพราะหัวใจสำคัญของการทำนโยบายการเงิน คือการชั่งน้ำหนัก จากเป้าหมายเงินเฟ้อ การขยายตัวจีดีพี และความมีเสถียรภาพ กรอบนโยบายการเงิน จึงต้องรองรับความต้องการบริโภคของประชาชน 

นายพิม  มโนพิโมกษ์   นักเศรษฐศาสตร์ ธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าวว่า  อัตราเงินเฟ้อต่ำ ในช่วงยุคก่อนโควิด-19  แต่ขณะนี้ ผู้ประกอบการย้ายฐานการผลิตกลับประเทศตนเอง อัตราเงินเฟ้อจะไม่ต่ำเหมือนกับช่วงก่อนโควิดอีกต่อไป  ดังนั้น เมื่ออยู่ในช่วงเงินเฟ้อสูง นโยบายการเงินต้องดูแล ความต้องการของผู้บริโภค  อัตราเงินเฟ้อ จะมีความไม่แน่นอนสูง จึงต้องปรับตัวรองรับกับเศรษฐกิจยุคใหม่