“กรณ์” เสนออาเซียน+3 ตั้งกองทุนช่วยเหลือ วิกฤตทางการแพทย์-เพิ่มความร่วมมือทางการค้า

นายกรณ์ จาติกวณิช ว่าที่หัวหน้าพรรคกล้า และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โพสต์เฟซบุ๊ก ถึงประเด็นการประชุมอาเซียน + 3 ที่นายกรัฐมนตรีของไทยร่วมประชุมหารือเรื่องโควิด-19 ว่า ประเด็นต่างๆ ที่ผู้นำอาเซียนควรพูดคุยกัน คือ เรื่องความช่วยเหลือทางด้านการแพทย์ การตั้งกองทุนเพื่อช่วยเหลือเพื่อนบ้านในกรณีที่มีวิกฤติทางการแพทย์ การเพิ่มความร่วมมือทางการค้าระหว่าง 13 ประเทศ เพื่อสร้างอุปสงค์ภายในกลุ่ม เพราะเชื่อว่าการค้าขายภายในภูมิภาคจะมีความสำคัญมากขึ้น หลังวิกฤติคลี่คลายควรกำหนดนโยบายฟื้นฟูเศรษฐกิจที่สอดคล้องกัน ทั้งในทิศทางและจังหวะเวลา กำลังซื้อ และกระบวนการการผลิต

นอกจากนั้นยังเสนอว่า ควรกำหนดระบบการดูแล และการขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าว และระบบการกำกับการเคลื่อนไหว เพราะโควิด-19 ที่วิกฤติในเอเชียและทั่วโลกส่วนสำคัญมาจากแรงงาน ที่มีลักษณะการทำงานและอยู่อาศัยที่สุ่มเสี่ยงต่อการติดและแพร่เชื้อโรค ควรการวางแผนการรื้อฟื้นการท่องเที่ยวภายในกลุ่ม และเงื่อนไขที่จะนำไปสู่การเปิดตลาด เพราะเชื่อว่าในช่วงแรกการท่องเที่ยวภายในภูมิภาคจะฟื้นก่อน และจะพึ่งการท่องเที่ยวจากโซนตะวันตกไม่ได้ไปอีกระยะหนึ่ง โดยข้อความที่โพสต์ดังนี้…..

ASEAN+3 สู้โควิด
.
เช้านี้ท่านนายกฯมี video conference กับผู้นำอาเซียน +3 (จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้)
.
จากวิกฤติ Covid มีหลากหลายประเด็นที่คงต้องหารือกัน
ในความเห็นของผม..มีประเด็นต่างๆ ควรที่จะต้องถกรายละเอียดพูดคุยกันอย่างเข้มข้นดังต่อไปนี้ครับ
.
1. ความช่วยเหลือทางด้านการแพทย์ – การตั้งกองทุนเพื่อช่วยเหลือเพื่อนบ้านในกรณีที่มีวิกฤติทางการแพทย์เป็นเรื่องที่ดีมาก ซึ่งนอกจากประเด็นมนุษยชนแล้ว โควิดทำให้เราเห็นว่าหากเพื่อนบ้านป่วย เราก็เสี่ยงด้วย
.
2. การกำหนดการเพิ่มความร่วมมือทางการค้าระหว่าง 13 ประเทศ เพื่อสร้างอุปสงค์ภายในกลุ่ม – ผมเชื่อว่าการค้าขายภายในภูมิภาคจะมีความสำคัญมากขึ้นหลังวิกฤติคลี่คลาย
.
3. การกำหนดนโยบายฟื้นฟูเศรษฐกิจที่สอดคล้องกัน ทั้งในทิศทางและจังหวะเวลา – กำลังซื้อและกระบวนการการผลิตที่ฟื้นพร้อมกันมีพลังมากกว่า
.
4. การกำหนดระบบการดูแล และการขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าว และระบบการกำกับการเคลื่อนไหว – โควิดที่วิกฤติในเอเชียและทั่วโลกส่วนสำคัญมาจากแรงงานที่มีลักษณะการทำงานและอยู่อาศัยที่สุ่มเสี่ยงต่อการติดและแพร่เชื้อโรค
.
5. การวางแผนการรื้อฟื้นการท่องเที่ยวภายในกลุ่ม และเงื่อนไขที่จะนำไปสู่การเปิดตลาด – ผมเชื่อว่าในช่วงแรกการท่องเที่ยวภายในภูมิภาคจะฟื้นก่อน และเรายังจะพึ่งการท่องเที่ยวจากโซนตะวันตกไม่ได้ไปอีกระยะหนึ่ง
.
6. การส่งเสริมระบบ logistic ในภูมิภาคให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการ SME ทั่วทั้งเอเชีย
.
7. การแชร์ data และนวัตกรรมระหว่างกันจะช่วยให้การแก้ปัญหาต่างๆมีประสิทธิภาพมากขึ้น
.
8. การส่งเสริมการสร้าง platform มีความจำเป็นเพื่อหลีกเลี่ยงการผูกขาดโดย platform provider ในระบบปัจจุบัน
.
.
#กล้า#อาเซียนบวกสาม
#เรามาเพื่อลงมือทำ