สรุปสถานการณ์ “น้ำ-น้ำท่วม” ทั่วประเทศ วันที่ 25 ส.ค.67

น้ำท่วม


สทนช. สรุปสถานการณ์ น้ำ-น้ำท่วม ทั่วประเทศ วันที่ 25 ส.ค. 67 เวลา 7.00 น. ด้านจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก ลำปาง ยังเสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน

  • เชียงราย ฝนตกสะสมมากสุด (147 มม.)
  • ภาคกลาง คือ นนทบุรี

1.ปริมาณฝนสะสม 24 ชม. สูงสุด ได้แก่ ภาคเหนือ : จ.เชียงราย (147 มม.) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จ.ชัยภูมิ (71 มม.) ภาคกลาง : จ.นนทบุรี (114 มม.) ภาคตะวันออก : จ.ตราด (95 มม.) ภาคตะวันตก : จ.ประจวบคีรีขันธ์ (84 มม.) ภาคใต้ : จ.พังงา (156 มม.)

สภาพอากาศวันนี้ : ร่องมรสุมพาดผ่านตอนบนของภาคเหนือและประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณ ประเทศเวียดนามตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ในขณะที่ มีแนวพัดสอบของลมตะวันตกเฉียงใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ในระดับบนพัดปกคลุม

ด้านตะวันออกของ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก ทำให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคเหนือตอนบน

คาดการณ์ : ช่วงวันที่ 26 – 30 ส.ค. 67 ร่องมรสุมจะเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางตอนบน ในขณะที่จะมีหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศลาวตอนบนเคลื่อนผ่านภาคเหนือตอนบนและประเทศเมียนมา ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น

ทำให้ประเทศไทยจะมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก

2.สถานการณ์น้ำอ่างเก็บน้ำในภาพรวม : ปริมาณน้ำรวม 58% ของความจุเก็บกัก (46,585 ล้าน ลบ.ม.) ปริมาณน้ำใช้การ 39% (22,423 ล้าน ลบ.ม.)

3.ประกาศสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ :

4.ประกาศสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 11/2567 เรื่อง เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ในช่วงวันที่ 24 – 30 ส.ค. 67 พบว่ามีพื้นที่เสี่ยงต้องเฝ้าระวัง ดังนี้

  • พื้นที่เสี่ยง น้ำท่วม ฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่มและบริเวณชุมชนเมือง ที่เกิดน้ำท่วมขังอยู่เป็นประจำ บริเวณ.จ.เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก ลำปาง พะเยา น่าน แพร่ สุโขทัย อุตรดิตถ์ พิษณุโลก เพชรบูรณ์ เลย หนองคาย หนองบัวลำภู บึงกาฬ อุดรธานี สกลนคร นครพนม กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์นครนายก ปราจีนบุรี จันทบุรี ตราด ระนอง พังงา ภูเก็ต สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ตรัง พัทลุง และสตูล
  • เฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำขนาดกลางและเล็กที่มีปริมาณน้ำมากกว่าร้อยละ 80
  • เฝ้าระวังระดับน้ำเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลันและระดับน้ำล้นตลิ่งในพื้นที่ลุ่มต่ำ บริเวณแม่น้ำสายหลักและลำน้ำสาขาของ ลำน้ำงาว แม่น้ำสาย แม่น้ำอิง แม่น้ำน่าน แม่น้ำยม แม่น้ำแควน้อย แม่น้ำป่าสัก ลำน้ำก่ำ และแม่น้ำตราด

ประกาศสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ เฝ้าระวังผลกระทบจากระดับน้ำแม่น้ำโขงเพิ่มขึ้น ช่วงวันที่ 25-31 ส.ค. 67 ขอให้เฝ้าระวังระดับน้ำเพิ่มขึ้นและเตรียมรับมือจากสถานการณ์น้ำล้นตลิ่งและท่วมขังบริเวณริมแม่น้ำโขง บริเวณ จ.เลย หนองคาย บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี

ขณะที่ แนวทางการบริหารจัดการน้ำ : วานนี้ (24 ส.ค. 67) ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ลงพื้นที่ จ.ลำปาง และ จ.พะเยา เพื่อติดตามผลการดำเนินการมาตรการฤดูฝน ปี 67 การบริหารจัดการน้ำเขื่อนกิ่วลม และติดตามสถานการณ์น้ำอ่างเก็บน้ำหนองขวาง อ.ดอกคำใต้

รวมทั้งติดตามสถานการณ์น้ำบริเวณที่ประสบปัญหาอุทกภัยริมกว๊านพะเยา บริเวณจุดน้ำท่วมอนุสาวรีย์พ่อขุนงำเมือง อ.เมืองพะเยา จ.พะเยา

โดย สทนช. ได้รับมอบหมายจากนายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรี ให้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในพื้นที่บูรณาการการบริหารจัดการน้ำอย่างเคร่งครัด เร่งด่วน และมีการประเมินสถานการณ์อย่างต่อเนื่องเพื่อป้องกันและลดผลกระทบจากอุทกภั

ส่วนสถานการณ์น้ำท่วม : วันที่ 24 ส.ค. 67 ในพื้นที่ 6 จังหวัด ได้แก่ จ.เชียงราย (อ.เวียงชัย เชียงแสน ป่าแดด พญาเม็งราย แม่สาย แม่จัน เทิง เชียงของ เวียงแก่น เวียงป่าเป้า และขุนตาล) จ.น่าน (อ.เมืองฯ ปัว เวียงสา เชียงกลาง ทุ่งช้าง บ้านหลวง ท่าวังผา นาน้อย เฉลิมพระเกียรติ และภูเพียง บ่อเกลือ)

จ.พะเยา (อ.เมืองฯ ภูซาง ดอกคำใต้ เชียงม่วน เชียงคำ และปง) จ.แพร่ (อ.ร้องกวาง สอง เมืองฯ สูงเม่น เด่นชัยและหนองม่วงไข่) จ.เพชรบูรณ์ (อ.เมืองฯ วังโป่ง และชนแดน) และจ.นครศรีธรรมราช (อ.ฉวาง)

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : “สุริยะ” ห่วงใยพี่น้องประชาชน ประสบภัยเหตุ น้ำท่วมภาคเหนือ

: เว็บไซต์สทนช.