สรุปสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างอิสราเอล-ฮามาส (6 พ.ย. 2566)

สรุปสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างอิสราเอล-ฮามาส (6 พฤศจิกายน 2566)

สรุปสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างอิสราเอล-ฮามาส (6 พฤศจิกายน 2566) ประธานาธิบดีตุรเกียประกาศตัดสัมพันธ์เนทันยาฮู

  • หลังการมาเยือนของรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐ บลินเกน ประธานาธิบดี เรเซป ไตยิป เออร์โดกัน ของตุรเกีย เรียกร้องให้มีการหยุดยิงทันทีและให้มีการสถาปนากาซาให้เป็นส่วนหนึ่งของรัฐปาเลสไตน์ที่เป็นอิสระและมีอำนาจอธิปไตยเมื่อสิ้นสุดสงคราม พร้อมเสริมอีกว่าจะไม่สนับสนุนแผนใดๆ ที่จะลบปาเลสไตน์ออกจากประวัติศาสตร์
  • ตุรเกียไม่ถือว่าฮามาสเป็นองค์กรก่อการร้าย ประธานาธิบดีเออร์โดกันกล่าวว่าได้ตัดความสัมพันธ์กับนายกรัฐมนตรีอิสราเอล เบนจามิน เนทันยาฮู แต่อย่างไรก็ตามตุรเกียไม่ต้องการตัดความสัมพันธ์กับอิสราเอล
  • รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐ แอนโทนี บลิงเกน ยังคงพยายามผลักดันการหยุดสู้รบชั่วคราวในฉนวนกาซา ในระหว่างการเยือนตะวันออกกลางที่กรุงแบกแดด เขากล่าวว่า ผู้นำระดับภูมิภาคจะตอบรับการหยุดเพื่อมนุษยธรรมชั่วคราว
  • ในขณะที่อิสราเอลกล่าวว่า จำเป็นต้องมีความคืบหน้าในการปล่อยตัวประกันก่อนที่จะมีการตกลงหยุดยิงใดๆ
  • กองทัพอิสราเอลกล่าวว่ากองทหารได้รุกมาถึงฝั่งทะเลทางตอนใต้ของกาซาซิตี้ และเข้ายึดแนวนั้น ณ วันนี้มีกาซาเหนือและกาซาใต้
  • กระทรวงสาธารณสุขในกาซา ระบุว่า มีผู้เสียชีวิตแล้วกว่า 9,700 คนในเขตกาซานับตั้งแต่วันที่ 7
  • ขณะที่อดีตนายกรัฐมนตรีอังกฤษ บอริส จอห์นสัน และอดีตนายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย สก็อตต์ มอร์ริสัน อยู่ระหว่างการเดินทางมาเยือนอิสราเอลร่วมกันเพื่อ แสดงการสนับสนุน หลังจากเหตุการณ์โจมตีของกลุ่มฮามาสเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม

ทั้ง 2 ได้พบกับผู้นำฝ่ายค้าน ยาอีร์ ลิปิด ซึ่งกล่าวขอบคุณสำหรับการสนับสนุน

ทั้งอดีตนายกรัฐมนตรีอังกฤษ บอริส จอห์นสัน และอดีตนายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย สก็อตต์ มอร์ริสันยังได้ไปเยี่ยมคิบบุตซ์ คฟาร์ อาซา ที่ถูกกลุ่มฮามาสโจมตีด้วย

  • บอริส จอห์นสัน กล่าวว่าเหตุการณ์สังหารหมู่เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม ถือเป็นการโจมตีชาวยิวที่เลวร้ายที่สุดนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2

ขอบคุณ บีบีซี รอยเตอร์