Facebook แนะศิลปะในการสื่อสารยุคดิจิทัล: 10 มารยาทในการคุยแชท

507174052

วิธีการสื่อสารในยุคดิจิทัลได้เปลี่ยนแปลงไปในรูปแบบที่หลากหลาย ตั้งแต่การส่งข้อความธรรมดา ไปสู่อีโมจิและมีม ข้อความดิจิทัลเหล่านี้ช่วยให้การสื่อสารก้าวข้ามข้อจำกัดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นพรมแดนประเทศและกำแพงทางด้านภาษา และวัฒนธรรม เรียกได้ว่า ช่วยให้เราสามารถเชื่อมต่อกับใครก็ได้ ไม่ว่าจะอยู่ในสถานที่ใดหรือเวลาใด

ในแต่ละวัน ผู้คนหลายล้านคนที่ใช้งาน Facebook เพื่อการเชื่อมต่อ และวิธีการที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือการ ส่งข้อความดิจิทัล ในทุกๆ วัน มีการส่งข้อความบนแพลทฟอร์มการส่งเมสเสจของ Facebook กว่า 1 แสนล้านข้อความ แม้ว่าการส่งข้อความดิจิทัลกลายเป็นหนึ่งในกระแสความนิยมของการติดต่อสื่อสาร แต่ดูเหมือนว่ากติกาในการสร้างปฏิสัมพันธ์ผ่านทางแชทยังไม่ได้มีการกำหนดกฎกติกามารยาทอย่างชัดเจน

บางคนอาจเคยคิดว่า ข้อความของเรายาวเกินไปไหม ควรทิ้งระยะการส่งข้อความนานเท่าไรก่อนที่จะติดตามเรื่องต่อ หรือถ้าหากเรากดออกจากกลุ่มแชทที่มีข้อความมากเกินไป จะถือเป็นการเสียมารยาทหรือไม่ คำถามเหล่านี้ยังไม่มีผู้ให้คำตอบอย่างจริงจัง

เพื่อไขข้อสงสัยและสนับสนุนให้มีการใช้งานที่ดียิ่งขึ้นในยุคข้อความดิจิทัลนี้ Facebook ได้ทำงานร่วมกับเดอเบรตต์ ผู้เชี่ยวชาญด้านมารยาทในสังคม เพื่อรวบรวมคู่มือเกี่ยวกับมารยาทในยุคดิจิทัลขึ้นเป็นครั้งแรกอย่างเป็นทางการ หรือเรียกว่า “ศิลปะแห่งการส่งข้อความดิจิทัล: แนวทางของการสื่อสารในยุคดิจิทัล” 

เราขอนำเสนอเคล็ดลับ 10 ข้อที่จะช่วยให้แชทครั้งต่อไปของคุณไม่ถูกมองข้าม และยังไม่สร้างความบาดหมางใดๆ ไม่ว่าจะเป็นเพื่อน ครอบครัว เพื่อนร่วมงาน หรือใครก็ตาม

#1.สื่ออารมณ์และความหมายให้ดี

โทนเสียงในข้อความของคุณสามารถส่งผลต่อความหมายได้มากกว่าที่คิด ใช้โทนน้ำเสียงที่เป็นมิตรและเป็นกลางที่สุด หลีกเลี่ยงถ้อยคำเหน็บแนมหรือเสียดสี สัญลักษณ์ต่างๆ หรืออีโมจิน่ารักๆ ช่วยทำให้โทนของข้อความเป็นเชิงบวกได้ นอกจากนี้ เช็คก่อนเสมอว่าสะกดคำผิดหรือไม่ รวมถึงการใช้แก้ไขข้อความอัตโนมัติที่อาจทำให้ความหมายที่คุณต้องการ จะสื่อบิดเบือนไป

  • หากเป็นข้อความที่อาจสื่อถึงการเสียดสี พบว่าคนอเมริกันมักถามคู่สนทนาตรงๆ ให้แน่ใจเพื่อป้องกันการเข้าใจผิด ในขณะที่ร้อยละ 31 ของคนอังกฤษเลือกที่จะไม่สนใจและเมินเฉยข้อความประเภทนี้

#2.กระชับเข้าไว้ แต่อย่าสั้นจนเกินไป

ความยาวเป็นเรื่องสำคัญเมื่อส่งข้อความ ทุกครั้งที่แชท ควรใส่ใจถึงความสั้นยาวของข้อความอยู่เสมอ ข้อความที่ยาวเป็น ย่อหน้าอาจทำให้หลายคนเบือนหน้าหนี แต่การตอบข้อความด้วยคำสั้นๆ แค่หนึ่งคำ หรือส่งอีโมจิแค่รูปเดียวอาจสื่อว่าคุณยุ่งเกินจนกว่าจะตอบหรือไม่สนใจในบทสนทนานั้นๆ ขอแนะนำให้ส่งข้อความที่มีจำนวนประโยคน้อยๆ ลองใช้วิดีโอแชท หากมีเรื่องมากมายที่อยากคุย และเมื่อต้องการจบบทสนทนาและแจ้งอีกฝ่ายว่ารับทราบเรื่องแล้ว ตอบกลับด้วยประโยคสั้นๆ แต่นิ่มนวลแทนการส่งแค่คำเดียว

  • โดยเฉลี่ยแล้ว ความยาวของข้อความที่ส่งบน Messenger มีแค่ 5 คำ

#3.อย่าส่งหลายข้อความติดๆ กัน

เก็บใจความสำคัญให้ครบภายในข้อความเดียว และถ้าเป็นไปได้ หลีกเลี่ยงการส่งหลายข้อความติดๆ กัน เพราะอาจทำให้ผู้รับรู้สึกรำคาญและเสียสมาธิได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการแชทกลุ่ม การส่งข้อความเยอะๆ ในครั้งเดียวอาจทำให้ ผู้ร่วมบทสนทนาคนอื่นสับสนและตามบทสนทนาไม่ทัน

  • ร้อยละ 37 ของผู้ตอบแบบสอบถามทั่วโลกเห็นพ้องต้องกันว่าการรัวข้อความติดๆ กันนั้นเสียมารยาท (เช่น การตอบเพียงหนึ่งข้อความ ด้วยแชทมากกว่า 10 ข้อความขึ้นไป)
1035508224

#4.แคร์สักนิดก่อนคิดแชร์

ขออนุญาตเจ้าของข้อความเสมอก่อนจะส่งต่อข้อความ รูปภาพหรือเอกสารใดๆ ให้กับคนอื่นๆ และควรเป็นกติกาเช่นเดียวกันกับการแชทแบบกลุ่ม เลี่ยงการเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวของคนอื่น เช่น ถามเพื่อนอย่างเปิดเผยถึงวีรกรรมเมื่อ ไปเดทล่าสุด ซึ่งอาจทำให้เพื่อนรู้สึกว่าโดนแฉและอับอายได้

  • เกือบครึ่งหนึ่งของผู้ร่วมตอบแบบสอบถามทั่วโลกมองว่าการส่งต่อข้อความของเพื่อนไปให้คนอื่นนั้นเป็นการ เสียมารยาท

#5.ต้องรู้ว่ากำลังแชทอยู่กับใคร

สิ่งแรกที่ต้องทำเมื่อได้รับคำเชิญเข้าแชทกลุ่มคือเช็คดูว่ามีใครอยู่ในกลุ่มแชทนั้นบ้าง เพื่อที่คุณจะได้ทราบว่ากลุ่มนี้สนใจ บทสนทนาในเรื่องใด หลีกเลี่ยงการเล่นมุกเฉพาะกลุ่มหรือพูดถึงเรื่องที่คนอื่นไม่เข้าใจ และควรส่งข้อความที่มีความเกี่ยวข้องกับคนส่วนใหญ่อยู่เสมอ หากต้องการพูดคุยกับใครสักคน ควรแชทแยกออกไป

  • ร้อยละ 42 ของผู้ร่วมตอบแบบสอบถามทั่วโลกชอบให้แชทกลุ่มมีสมาชิกน้อยกว่า 6 คน

#6.อย่าปล่อยให้เขารอเก้อ


หากว่าเพื่อนที่อยู่ในกลุ่มแชทของคุณส่งข้อความมาแต่ไม่มีใครตอบ อย่าปล่อยให้พวกเขารอเก้อ ตอบกลับ อาจเพียงแค่ตอบแบบง่ายๆ อย่างการกด ‘ถูกใจ’ ข้อความของพวกเขา หรือบอกว่าคุณไม่รู้คำตอบก็ได้

การทำเช่นนี้จะช่วยกระตุ้นผู้อื่นให้ตอบกลับเช่นกัน แต่หากคุณเป็นคนที่ถูกปล่อยให้รอเก้อเองก็อย่าไปถือสา รอให้เวลาผ่านไป 24 ชั่วโมงก่อนแล้วค่อยติดตามการสนทนาโดยทักด้วยน้ำเสียงสบายๆ ว่า “แค่อยากรู้ว่าเป็นยังไงบ้างนะ…”

  • ผู้ร่วมตอบแบบสอบถามทั่วโลกรู้สึกไม่พอใจเป็นที่สุดเมื่อไม่มีใครตอบคำถามหรือตอบรับความคิดเห็นของพวกเขา และสิ่งที่ทำให้ผู้คนไม่พอใจในลำดับถัดมาคือเมื่อมีคนเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวให้เห็นกันทั้งกลุ่ม

#7.ตอบกลับให้ฉับไว


การตอบกลับข้อความในทันทีเป็นวิธีที่สุภาพ แต่ก็ไม่ใช่สิ่งที่สำคัญที่สุดหากคุณกำลังยุ่งและรู้ว่าข้อความนั้นไม่ได้เป็นเรื่องเร่งด่วน คุณสามารถเก็บข้อความนั้นไว้โดยไม่เปิดอ่านจนกว่าคุณจะมีเวลาว่างตอบกลับ อีกทางเลือกคือคุณสามารถเปิดการแจ้งเตือนแบบพุช (push) ที่ช่วยให้อ่านข้อความได้ก่อน โดยที่อีกฝ่ายไม่รู้ว่าคุณอ่านแล้ว ซึ่งช่วยให้คุณสามารถตอบกลับในเวลาที่สะดวกได้

1144985460

#8.เลิกนิสัยชอบเท


หมดความสนใจในบทสนทนานี้แล้วใช่ไหม แม้ว่าจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่อย่าตัดขาดการติดต่อทั้งหมดไปอย่างห้วนๆ การเพิกเฉยข้อความของผู้อื่นมักนำไปสู่การเท และยังสร้างความรู้สึกกระวนกระวายและความไม่แน่ใจให้อีกฝ่าย หากคุณต้องการยุติการปฏิสัมพันธ์ ให้ทำอย่างเปิดเผยและนุ่มนวล ด้วยการอธิบายที่กระชับและสุภาพ หากคุณกำลังคบหาหรือรู้จักอีกฝ่ายมาสักพักแล้ว ควรโทรศัพท์ไปหาเขาหรือบอกเขาต่อหน้าเมื่อพบกัน

  • ร้อยละ 47 ของผู้ร่วมตอบแบบสอบถามทั่วโลกเคยถูกเทระหว่างการสนทนาและร้อยละ 39 ของผู้ร่วมตอบแบบสอบถามยอมรับว่าเคยเทคนอื่นมาแล้ว

#9.ฝึกลาให้ถูกธรรมเนียม


เบื่อใช่ไหมกับการส่งรูปอาหารในแชทครอบครัวที่ไม่เคยหยุดหย่อน ไม่อยากเห็นอัพเดทการเตรียมงานแต่งงานรายวันในกลุ่ม “เพื่อนเจ้าสาว” แล้วใช่ไหม แต่ก่อนจะออกจากกลุ่มใด ต้องวางแผนให้ดี อธิบายเหตุผลสั้นๆ ให้ใกล้เคียงกับความจริงที่สุดเท่าที่จะทำได้ เช่น คุณต้องเร่งทำงานให้ทันกำหนดส่งเลยต้องพักจากมือถือสักหน่อย จากนั้นก็ออกจากกลุ่มไปเลย โดยไม่จำเป็นต้องรอคำตอบ แต่หากคุณคิดว่าการออกจากแชทเป็นการกระทำที่รุนแรงเกินไป ก็แนะนำให้ “ปิดการ แจ้งเตือน” การสนทนาแทน

#10.ทิ้งท้ายอย่างมีสไตล์


อย่าประเมินค่าของการกล่าวอำลาต่ำไปเด็ดขาด เราอาจจะชอบหยอกล้อกลุ่มคนยุคเบบี้บูมเมอร์กับการทิ้งท้ายทุกข้อความด้วยการพิมพ์ว่า “รักนะ จากพ่อ” แต่ที่จริงแล้ว การที่คุณหายไปจากบทสนทนาเฉยๆ อาจสร้างความสับสนให้กับอีกฝ่าย หากคุณจะเปลี่ยนไปทำกิจกรรมอื่น ที่ดีที่สุดคือแจ้งให้อีกฝ่ายทราบ แค่บอกว่า “เดี๋ยวมานะ” ก็ยังดี

  • เกือบครึ่งของผู้ร่วมตอบแบบสอบถามจากทั่วโลกที่มีอายุระหว่าง 45-64 ปีทิ้งท้ายการสนทนาผ่านข้อความเสมอ ในขณะที่มีเพียงหนึ่งในสามของผู้คนอายุ 18-24 ปีเท่านั้นที่รู้สึกว่าต้องกล่าวทิ้งท้าย