“ภูมิธรรม”เร่งปลดล็อกประมงไทย แก้ปัญหาน้ำมันเขียว

“ภูมิธรรม” เตรียมเร่งปลดล็อกประมงไทย แก้ไขปัญหาน้ำมันเขียว พร้อมบรรเทาความเดือดร้อน และวิถีการทำการประมงที่เป็นจริงในปัจจุบัน

  • หวังบรรเทาความเดือดร้อนประชาชน
  • อนุญาตให้ผู้ประกอบการนำน้ำมันดีเซลออกไปจำหน่าย

วันที่ 16 ธันวาคม 2566 นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยหลังการประชุมคณะกรรมการแก้ไขปัญหาการประมงทะเล เพื่อฟื้นฟูการประมงทะเลและอุตสาหกรรมการประมงครั้งที่ 3/2566 ที่กระทรวงพาณิชย์ พร้อมกับ กรมประมง และผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจากภาครัฐและเอกชน ว่า ที่การประชุมรับทราบ

ดังนี้ 1. มติที่ประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาและเสนอแนะการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกิจการประมงให้เกิดความเหมาะสมและเป็นธรรมกับผู้ประกอบการประมงและกิจการประมงทั้งระบบ

รวมถึงพัฒนาการในการแก้ไขพระราชกำหนดการประมงมาจนถึงปัจจุบัน 2.ความก้าวหน้าการดำเนินการของคณะอนุกรรมการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายลำดับรองที่เกี่ยวข้องกับภาคการประมง

และ3.การแก้ไขปัญหาโครงการน้ำมันเขียวในเขตต่อเนื่อง นอกจากนี้ ได้มีการพิจารณา 1. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 และที่แก้ไขเพิ่มเติม 2. ความเคลื่อนไหว ของ EU และ NGO ในต่างประเทศ เรื่อง การแก้ไขพระราชกำหนดการประมงของประเทศไทย

จากนั้น นายปลอดประสพ สุรัสวดี ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี นายภูมิธรรม เวชยชัย เป็นประธานการประชุมแก้ไขปัญหาโครงการน้ำมันเขียวในเขตต่อเนื่อง ร่วมกับหน่วยงานชุดเดียวกันกับประมง เพื่อหารือกรณีสมาคมผู้ค้าน้ำมันประมงในเขตต่อเนื่อง

ได้เข้าพบรองนายภูมิธรรม เวชยชัย เมื่อเดือนพฤศจิกายน และยื่นหนังสือ เพื่อขอความอนุเคราะห์ให้ช่วยแก้ไขปัญหาโครงการน้ำมันเขียวในเขตต่อเนื่อง 5 ประเด็น ได้แก่ การอนุญาต ให้ผู้ประกอบการนำน้ำมันดีเซลออกไปจำหน่ายในเขตต่อเนื่องของราชอาณาจักรไทย

ทั้งนี้การกำหนดหน่วยงานที่มี หน้าที่รับรองความถูกต้องของเรือประมงที่เข้าโครงการน้ำมันเขียว การให้เรือที่ใช้บรรทุกน้ำมันและเป็นสถานี บริการน้ำมันในเขตต่อเนื่องได้ใช้น้ำมันเขียวกับเครื่องยนต์เรือของตัวเองได้ การหาแนวทางหรือช่วยเหลือให้ โครงการน้ำมันเขียวของรัฐบาลที่จัดตั้งขึ้นมาช่วยเหลือชาวประมง และการกำหนดหน่วยงานที่ควบคุมเรือ บริการในโครงการน้ำมันเขียว

” ที่ประชุมได้มอบหมายกรมประมง กรมสรรพสามิต กรมศุลกากร กรมเจ้าท่า พิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายลำดับรองที่เกี่ยวข้อง เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนและให้สอดคล้องกับบริบท และวิถีการทำการประมงที่เป็นจริงในปัจจุบัน ก็จะนำมาหารืออีกครั้งในปีหน้า ”