ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองยกฟ้อง “ยิ่งลักษณ์”

น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี

ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองยกฟ้อง “ยิ่งลักษณ์” คดีแต่งตั้ง โยกย้าย “ถวิล เปลี่ยนศรี” พ้นจากตําแหน่งเลขาธิการสมช.

  • รับฟังไม่ได้ว่า จําเลยสั่งการให้รับโอนนายถวิลโดยมีเจตนา
  • เพื่อจะให้ตําแหน่งผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติว่างลง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง อ่านคําพิพากษาคดีหมายเลขดําที่ อม. 11/2565 หมายเลขแดงที่ 30/2566 ระหว่าง อัยการสูงสุด โจทก์ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จําเลย โดยโจทก์ฟ้องและแก้ฟ้องว่า จําเลยดํารงตําแหน่งนายกรัฐมนตรีและรักษาการนายกรัฐมนตรี ได้แต่งตั้ง โยกย้าย และให้นายถวิล เปลี่ยนศรี พ้นจากตําแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ โดยไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 57 วรรคสอง

ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งและเชื่อมโยงกับการโอนย้ายพลตํารวจเอก ว. ซึ่งขณะนั้นดํารงตําแหน่งผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติให้ไปดํารงตําแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติแทน และบรรจุ แต่งตั้งพลตํารวจเอก พ. ขึ้นดํารงตําแหน่งผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติ อันเป็นการแทรกแซงและก้าวก่ายการแต่งตั้ง โยกย้าย หรือการให้พ้นจากตําแหน่งข้าราชการซึ่งมีตําแหน่งเงินเดือนประจําและมิใช่ข้าราชการการเมือง ต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 268 ประกอบมาตรา 266 (2) (3) และเป็นไปเพื่อประโยชน์ของ พลตํารวจเอก พ. เครือญาติของจําเลย

และเป็นความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต และฐานเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในตําแหน่งหรือหน้าที่ หรือใช้อํานาจในตําแหน่งหรือหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความ เสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157

ทั้งนี้ในส่วนที่โจทก์อ้างว่าจําเลยต้องการให้พลตํารวจเอก พ. ญาติของจําเลยขึ้นดํารงตําแหน่งผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติ นั้น เมื่อทางไต่สวนไม่มีประจักษ์พยานมาเบิกความยืนยัน กรณีจําเป็นต้องพิจารณาจากพยานแวดล้อมที่ปรากฏในการ ไต่สวน ซึ่งพยานหลักฐานดังกล่าวยังไม่อาจบ่งชี้อย่างชัดแจ้งว่าบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการโยกย้ายได้มีการคบคิดวางแผนกันล่วงหน้าในลักษณะแบ่งหน้าที่กันทํากับจําเลยมาตั้งแต่แรก

ทั้งหากจําเลยมีเจตนาตระเตรียมการให้รับโอนนายถวิลมา แต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่ง ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจํา และรับโอนพลตํารวจเอก ว. มาแต่งตั้งให้ดํารง ตําแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติแทน เพื่อที่จะให้ตําแหน่งผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติว่างลงแล้ว น่าจะต้องมี การแจ้งหรือทาบทามพลตํารวจเอก ว. ให้ยินยอมที่จะมาดํารงตําแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติเสียก่อน

แต่ขณะที่นาย บ. จัดทําบันทึกขอรับโอนนายถวิล จนถึงวันที่คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติการโอนนายถวิลมาแต่งตั้งให้ดํารง ตําแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจํานั้น ไม่มีพยานปากใดยืนยันว่าจําเลยสั่งการหรือมอบหมายผู้ใด ทาบทามพลตํารวจเอก ว. ให้มาดํารงตําแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ข้อเท็จจริงกลับได้ความว่า หลังจาก คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้นายถวิลไปดํารงตําแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจํา พลตํารวจเอก ก. ได้ โทรศัพท์มาทาบทามพลตํารวจเอก ว. แล้วพลตํารวจเอก ว. จึงตัดสินใจไปดํารงตําแหน่งดังกล่าว อันเป็นการยินยอม

ภายหลังจากที่โยกย้ายนายถวิลไปแล้วนานถึง 22 วัน ยิ่งกว่านั้นขณะที่จําเลยสั่งการให้โอนนายถวิลก็ไม่มีข้อบ่งชี้ว่าจําเลย ทราบว่าต่อมาภายหลังพลตํารวจเอก ว. จะสมัครใจย้ายหรือไม่ หรือจะย้ายไปดํารงตําแหน่งใด เมื่อใด ย่อมรับฟังไม่ได้ว่า จําเลยสั่งการให้รับโอนนายถวิลโดยมีเจตนาเพื่อจะให้ตําแหน่งผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติว่างลง และไม่อาจฟังได้ว่าการสมัครใจย้ายของพลตํารวจเอก ว. เป็นผลโดยตรงจากการโยกย้ายนายถวิลอีกด้วย

ส่วนการดําเนินการในการขอรับโอน ขอรับความเห็นชอบ และเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อมีมติอนุมัติตามที่ สํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอ รวมทั้งการที่จําเลยได้มีคําสั่งให้นายถวิลไปปฏิบัติราชการที่สํานักนายกรัฐมนตรีใช้ เวลาเพียง 4 วัน ก็ได้ความว่าการเสนอแต่งตั้งโยกย้ายเป็นเรื่องที่ต้องเร่งรัดให้ทันต่อการเข้าประชุมคณะรัฐมนตรีเป็นเรื่อง ปกติและเกิดขึ้นบ่อย จึงไม่ถือเป็นข้อพิรุธ และที่จําเลยมีส่วนในการดําเนินการโยกย้ายนายถวิลให้พ้นจากตําแหน่ง เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ โดยเป็นผู้อนุมัติให้นําเรื่องดังกล่าวเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่ออนุมัติในวันที่ 5 กันยายน 2554 ได้ร่วมประชุมคณะรัฐมนตรีและร่วมลงมติอนุมัติให้นายถวิลพ้นจากตําแหน่ง

เมื่อได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีแล้ว จําเลยได้ออกคําสั่งให้นายถวิลไปปฏิบัติราชการที่สํานักนายกรัฐมนตรีภายหลังคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแล้ว ก็เป็น กระบวนการและขั้นตอนของกฎหมายในการโอนย้ายข้าราชการระดับสูง การกระทําของจําเลยในส่วนนี้ย่อมไม่อาจนํามา รับฟังว่าจําเลยมีเจตนาทุจริตเพื่อประโยชน์ของพลตํารวจเอก พ. จําเลยจึงไม่มีความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือ ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต และฐานเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในตําแหน่งหรือหน้าที่ หรือใช้อํานาจในตําแหน่งหรือ หน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตตามฟ้อง จึงพิพากษายกฟ้อง