กลยุทธ์ธุรกิจ กระดาษ ฝ่าพายุดิสรัป ฉบับ ดั๊บเบิ้ล เอ

คุณโยธิน ดำเนินชาญวณิชย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ลดาวัลย์ ดำเนินชาญวนิชย์ กระดาษ บริษัท ดั๊บเบิ้ล เอ (1991) จำกัด (มหาชน)
คอลัมน์คุณย่าขาซิ่ง วันที่ 6 เมษายน 2567

มีข้อสงสัยกันมากว่า เมื่อเทคโนโลยีล้ำยุคก้าวเข้ามามีบทบาทต่อชีวิตประจำวันของมนุษย์เพิ่มขึ้น กระดาษซึ่งถูกใช้เป็นปฐมบทของการเขียน อ่าน อันนำไปสู่การเรียนรู้ จะหมดประโยชน์ เพราะผู้คนเลิกใช้ หันไปพึ่งพาคอมพิวเตอร์ แล็ปท็อป และสมาร์ทโฟนกันจนหมดหรือไม่?

คำตอบอยู่ที่กลุ่มผู้ผลิตกระดาษรายใหญ่ที่ชื่อ บริษัท ดั๊บเบิ้ล เอ (1991) จำกัด (มหาชน) ซึ่งมี คุณโยธิน ดำเนินชาญวณิชย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เป็นเจ้าของร่วมกับธุรกิจในเครือตั้งแต่สวนอุตสาหกรรม ไปจนถึงโรงไฟฟ้าชีวมวล

กระดาษ บริษัท ดั๊บเบิ้ล เอ (1991) จำกัด (มหาชน)
คุณเสรี จินตนเสรี นักกฏหมายใหญ่ของประเทศ ในฐานะกรรมการบริหารบริษัท และประธานกลุ่ม คสร.(คนกลาง) และผู้บริหาร บริษัท ดั๊บเบิ้ล เอ (1991) จำกัด (มหาชน)

คุณโย มอบหมายให้ คุณเสรี จินตนเสรี นักกฏหมายใหญ่ของประเทศ ในฐานะกรรมการบริหารบริษัท และประธานกลุ่ม คสร.ตอบปัญหานี้แทน

“ก่อนไวรัสโควิด แพร่ระบาดเข้ามา พวกเราก็เริ่มรับรู้แล้วว่า ผู้คนหันไปใช้คอมพิวเตอร์สำหรับเก็บ และส่งผ่านข้อมูลถึงกันแทนที่กระดาษมากขึ้น แต่ก็ยังมั่นใจว่า เวลายังเยาว์ กระดาษยังคงต้องใช้ในงานราชการ และธุรกิจต่อไปอีกนาน”

กระทั่งโควิดระบาดไปทั่วโลก การเดินทางของผู้คนถูกปิดกั้น และ ทำให้เกิดช่วงเวลาแห่งความสูญเสียอย่างหนักตลอด 3 ปีติดต่อกัน อัตราการเร่งของการลดการใช้กระดาษ จึงมาก่อนกาลถึง 20 ปี 

ช่วงเวลานั้น กระดาษที่เคยผลิตมาเพื่อใช้สำหรับงานโฆษณา งานซีร็อกซ์ หรือ ปรินท์ข้อมูลจากห้องสมุด และนิตยสาร ได้รับผลกระทบ เพราะคนหันไปใช้คอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต และออนไลน์ แทน

ห้องสมุดถูกปิด โรงเรียน มหาวิทยาลัย บริษัทห้างร้าน และหน่วยงานราชการ ถูกสั่งปิด และนิตยสารที่เคยเป็นลูกค้าที่ดีต่อกันตัดสินใจปิดตัว 

คุณโยธิน ดำเนินชาญวณิชย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ลดาวัลย์ ดำเนินชาญวนิชย์ กระดาษ บริษัท ดั๊บเบิ้ล เอ (1991) จำกัด (มหาชน)
คุณโยธิน ดำเนินชาญวณิชย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ดั๊บเบิ้ล เอ (1991) จำกัด (มหาชน) และคุณลดาวัลย์ ดำเนินชาญวนิชย์

สิ่งที่เราทำได้ในเวลานั้นคือ การปรับตัว เปลี่ยนวิธีคิด แนวทางการตลาด และวางแผนการผลิตกระดาษให้รองรับกับตลาดได้ในหลายระดับตั้งแต่ที่มีคุณภาพสูงสุด จนถึงคุณภาพรองลงมา การปรับตัวนี้ทำให้ดั๊บเบิ้ล เอ อยู่รอดมาได้อย่างแข็งแกร่งจนถึงวันนี้

วิกฤตโควิดทำให้สินค้าของบริษัทเป็นที่ชัดเจนมากขึ้น จากนี้ไป ดั๊บเบิ้ล เอ จะเป็นกระดาษที่ไม่ใช่กระดาษที่ใช้กันอย่างทิ้งๆขว้างๆเหมือนอดีตอีกต่อไป แต่จะเป็นกระดาษคุณภาพสูงสำหรับใช้งานสำคัญๆในระบบราชการ ระบบกฏหมายของประเทศ ในรัฐสภาซึ่งมีการตรากฏหมายออกมาใหม่ๆตลอด ในคำตัดสินของศาล และในงานของภาคธุรกิจ รวมถึงเอกสารที่จำเป็นต้องเก็บรักษา

“ดั๊บเบิ้ล เอ ปรับตัวได้รวดเร็วตั้งแต่การผลิตกระดาษให้มีคุณภาพที่ดีที่สุดในโลก และมีแบรนด์ที่รองรับความต้องการของตลาดทั่วโลกอย่างหลากหลาย“เราขยายตลาดได้มากขึ้นทั้งในจีน อินเดีย เกาหลี เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตะวันออก กลาง และแอฟริกา”

ขณะที่ทำการตลาดในแบบที่พึ่งพาอาศัยกันและกันมากขึ้น เช่นกับจีน และเกาหลีดั๊บเบิ้ล เอ เข้าไปจ้างให้เขาผลิต และหาตลาดภายในให้ บางประเทศอย่างออสเตรเลียซึ่งโรงงานผลิตกระดาษขนาดใหญ่มีอันต้องปิดไป บริษัทจึงเข้าไปซื้อ และใช้ชื่อแบรนด์เก่าขายในประเทศออสเตรเลีย โดยมีส่วนแบ่งการตลาดถึง 50%

คุณโยธิน ดำเนินชาญวณิชย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ลดาวัลย์ ดำเนินชาญวนิชย์ กระดาษ บริษัท ดั๊บเบิ้ล เอ (1991) จำกัด (มหาชน)
คุณโยธิน ดำเนินชาญวณิชย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ดั๊บเบิ้ล เอ (1991) จำกัด (มหาชน) และคุณลดาวัลย์ ดำเนินชาญวนิชย์ ดูแลกันอย่างดีระหว่างทริปพักผ่อน

ด้วยกลยุทธ์เช่นนี้ ทำให้บริษัทยังคงมีกำไรต่อเนื่อง และมีรายได้ปีละราว 40, 000 ล้านบาท คิดเป็นกำไรสุทธิราว 2,000 ล้านบาท ผลิตเพื่อป้อนตลาดในประเทศ 20% อีก 80% ส่งออก ทั้งในส่วนของกระดาษ และเยื่อ 5 – 7 ล้านตันในแต่ละปี

“โมเดลการทำธุรกิจของเรา จัดว่าเป็น Perfect Model ที่ให้ผลตอบแทนเป็นบวก กับ บวก เพราะการปลูกต้นกระดาษ คือ การลดก๊าซเรือนกระจก ทุกวันนี้ บริษัทให้ชาวไร่ชาวนาซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินปลูกต้นกระดาษที่ได้ Breed พันธุ์ใหม่ๆ และสร้างกระบวนการ Cloning ทางพันธุกรรมขึ้นใหม่เพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดีกว่า…

นอกจากจะช่วยให้ชาวไร่ชาวนามีรายได้เพิ่มขึ้น มีความสามารถในการส่งลูกหลานเรียนหนังสือสำเร็จมาหลายรุ่นแล้ว ธุรกิจในเครือซึ่งเตรียมตัวปรับเปลี่ยน ไปใช้ไฟฟ้า จะยิ่งทำให้เกิดอากาศสะอาดขึ้นแก่ชุมชนที่ดั๊บเบิ้ล เอ ไปตั้งอยู่ด้วย”

เข้าตำรา ใครปรับตัวได้ไวกว่า คนนั้นย่อมชนะ ว่างั้นเถอะ!!

คุณย่าขาซิ่ง