

ประเสริฐ จันทรรวงทอง รมว. ดีอี หารือ กรมอุตุนิยมวิทยา หารือ วางมาตรการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบข่าวสาร ลดผลกระทบ พายุฤดูร้อน
วันนี้( 8 พฤษภาคม 2567 ) นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) กล่าวว่า เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม ที่ผ่านมา ได้เชิญ นางสาว กรรวี สิทธิชีวภาค อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา
รมว. ดีอี หารือ อธิบดี กรมอุตุนิยมวิทยา เตือนประชาชนรับมือ พายุฤดูร้อน
ประชุม พร้อมสั่งการ ให้เตรียมพร้อม รับมือกับ พายุฤดูร้อน ซึ่งอาจ สร้างผลกระทบ กับประชาชน ตามข้อสั่งการ ของ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ในการ ประชุม คณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่ผ่านมา
โดยได้ มอบหมายให้ กรมอุตุนิยมวิทยา ติดตาม สภาพอากาศ และ ประชาสัมพันธ์ ให้ประชาชน รับทราบ อย่างสม่ำเสมอ ในกรณีที่ กรมอุตุนิยมวิทยา เห็นว่า อาจมีผลกระทบ ต่อ ประชาชน ให้แจ้ง ให้ประชาชน ทราบอย่างทันที
เพื่อเตรียมพร้อม รับมือ เช่น กรณี พายุฤดูร้อน กรณีเกิดเหตุฟ้ าผ่า จาก ฝนฟ้าคะนอง และ กรณี ดัชนีความร้อน ที่เพิ่มสูงขึ้น อันก่อให้เกิดอันตราย ต่อชีวิต ของประชาชน
และหากมี เหตุรุนแรง ที่กระทบ ต่อชีวิต และทรัพย์สิน พี่น้องประชาชน ให้แจ้งหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง รับทราบ อย่างทันท่วงที เช่น การเกิดเหตุ อุทกภัย วาตภัย
ขอให้ประชาชน เฝ้าระวังอันตรายจาก พายุฤดูร้อน
ทั้งนี้ ด้วยสภาพอากาศ มีความแปรปรวนสูง ให้ประชาชน เตรียมพร้อม รับมือ พายุฤดูร้อน พายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ขอให้ ประชาชน เฝ้าระวัง อันตราย จาก พายุฤดูร้อน
โดย หลีกเลี่ยง การอยู่ในที่ โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้าง สำหรับ เกษตรกร ควรเตรียมการ ป้องกัน และ ระวังความเสียหาย ที่อาจจะเกิด ต่อ ผลผลิตทางการเกษตร และ อันตราย ต่อ สัตว์เลี้ยง
และรับฟัง ข้อมูล การเตือนภัย จาก กรมอุตุนิยมวิทยา เพื่อให้ เกิดความปลอดภัย ในชีวิต แล ะทรัพย์สินของประชาชน
ทั้งนี้เมื่อวันที่ 7 พ.ค. ที่ผ่านมา กรมอุตุนิยมวิทยา ได้ออกประกาศ เรื่อง พายุฤดูร้อน บริเวณประเทศ ไทยตอนบน ฉบับที่ 14 (92/2567)
โดยระบุว่า แนวพัดสอบ ของ ลมตะวันออกเฉียงใต้ และ ลมใต้ พัดปกคลุม บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง
ลักษณะเช่นนี้ ทำให้บริเวณ ดังกล่าว มีฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และมีฝนตกหนัก บางพื้นที่ ในขณะที่ ความกดอากาศต่ำ เนื่องจากความร้อน ยังคงปกคลุม ภาคเหนือ ทำให้มี อากาศร้อน ถึง ร้อนจัด และมี พายุฤดูร้อน เกิดขึ้นได้
โดยมี ลักษณะ ของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึง อาจมีฟ้าผ่า เกิดขึ้นได้ บางพื้นที่
ขอให้ ประชาชน ระวังอันตราย จากพายุฤดูร้อน โดยหลีกเลี่ยง การอยู่ในที่ โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้าง และป้ายโฆษณา ที่ไม่แข็งแรง
สำหรับ เกษตรกร ควรเตรียมการ ป้องกัน และ ระวังความเสียหาย ที่อาจจะเกิดต่อ ผลผลิตทางการเกษตร และ อันตรายต่อสัตว์เลี้ยง
จังหวัดที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ จาก พายุฤดูร้อน มีดังนี้
วันที่ 7 พฤษภาคม 2567
- ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ ตาก พิจิตร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จังหวัดจังหวัดเลย หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร นครพนม ชัยภูมิ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ และศรีสะเกษ
- ภาคกลาง : จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี นครปฐม สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
- ภาคตะวันออก : จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
- ภาคใต้ : จังหวัดเพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์
ขณะที่ ในช่วงวันที่ 8 – 10 พ.ค. 67 แนวพัดสอบ ของ ลมตะวันออกเฉียงใต้ และ ลมใต้ ยังคงพัดปกคลุม ประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าว ยังคงมีฝนฟ้าคะนอง กับมีลมกระโชกแรง บางแห่ง รวมทั้ง มีฝนตกหนัก บางพื้นที่
ขอให้ประชาชน ติดตามประกาศจาก กรมอุตุนิยมวิทยา และสามารถติดตามข้อมูล ที่เว็บไซต์ กรมอุตุนิยมวิทยา http://www.tmd.go.th หรือที่ 0-2399-4012-13 และ 1182 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
ข้อมูลจาก : กรมอุตุนิยมวิทยา กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
ข่าวที่เกี่ยวข้อง : ไทย ตอนบน อุตุฯเตือน ฝนตกหนัก น้ำท่วม