โฆษกกลาโหม ระบุ “ปฏิรูปกองทัพ” คืบหน้าต่อเนื่อง ทั้งปรับโครงสร้าง-ใช้กำลังพลสำรอง-ลดภาระงบประมาณด้านบุคลากรระยะยาว

พล..คงชีพ ตันตระวาณิชย์ โฆษกกระทรวงกลาโหม เปิดเผยถึงการปฏิรูปกองทัพว่า ขณะนี้การปฏิรูปนั้นมีความคืบหน้าอย่างต่อเนื่อง โดยกระทรวงกลาโหมจัดกลุ่มภารกิจงานให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง  และให้น้ำหนักกับภารกิจของภัยจากสงครามรูปแบบใหม่มากขึ้น โดยปรับปรุงโครงสร้างและอัตรากำลังของทุกเหล่าทัพ ให้มีขนาดที่เหมาะสม มีความยืดหยุ่นมากขึ้น สามารถรองรับภัยคุกคามด้านความมั่นคงในมิติต่างๆ ที่มีความซับซ้อนและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

ในปีนี้ พล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ได้กำหนดเป็นนโยบายเร่งด่วนในการปฏิรูปกองทัพ และส่งเสริมการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล ให้นำกำลังพลสำรองเข้าทำหน้าที่ทหารเป็นการชั่วคราวและนำข้าราชการพลเรือนกลาโหมมาบรรจุรับราชการ เพื่อทดแทนการบรรจุกำลังทหารประจำการ” พล..คงชีพกล่าว

ทั้งนี้กระทรวงกลาโหมปฏิรูประบบงานกำลังพล โดยตั้งเป้าหมายปรับลดอัตรากำลังทหารประจำการลง ด้วยเงื่อนไขไม่เพิ่มจำนวนข้าราชการและงบประมาณ บนพื้นฐานการบริหารจัดการงานหลักๆ ทั้งด้านสมรรถนะ ด้านผลงาน ตลอดจนด้านคุณธรรม และความเป็นมืออาชีพ 

นอกจากนี้ในส่วนความคืบหน้าของการนำระบบข้าราชการพลเรือนกลาโหมมาใช้ เพื่อลดจำนวนอัตราข้าราชการทหาร และแก้ปัญหาความคับคั่งในแต่ละชั้นยศ โดยเฉพาะชั้นยศระดับสูงในอนาคต ได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) แล้ว เมื่อ 9 มิ..ที่ผ่านมา โดยคาดว่าจะสามารถบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนให้รับราชการในกระทรวงกลาโหม โดยมีตำแหน่งที่มิใช่อัตราทหารและไม่มีชั้นยศได้ตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ 2564 เป็นต้นไป เพื่อปฏิบัติหน้าที่ที่ต้องใช้ความชำนาญเฉพาะทางในกลุ่มลักษณะงานต่างๆ เช่น  ด้านการแพทย์ ด้านกฎหมายด้านการงบประมาณและการบัญชี ด้านครูอาจารย์ นักวิจัยและนักวิทยาศาสตร์ ด้านธุรการและอื่นๆ

พล..คงชีพ กล่าวว่า สำหรับความคืบหน้าการนำกำลังสำรองเข้าทำหน้าที่ทหารเป็นการชั่วคราวในหน่วยรบและหน่วยสนับสนุนการรบนั้น ขณะนี้ได้เริ่มดำเนินการสัญญาจ้างแล้วตั้งแต่เดือน เม..ที่ผ่านมา และจะรับสมัครและสอบคัดเลือกครบทุกเหล่าทัพให้เสร็จภายในปีงบประมาณ 2563 โดยจะดำเนินการในรูปแบบสัญญาจ้างระยะเวลา 4-8 ปีเพื่อให้ได้กำลังพลสำรองที่มีอายุน้อย ร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ ทดแทนการบรรจุข้าราชการทหารประจำการในหน่วยรบ ซึ่งจะเป็นการประหยัดและลดภาระผูกพันงบประมาณด้านบุคลากรในระยะยาว