“เลขาธิการพรรคกล้า”ย้ำจะอุ้มการบินไทยต้องกล้าเข้าฟื้นฟูกิจการตาม “พ.ร.บ.ล้มละลาย” ไม่งั้นสำเร็จยาก

นายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี เลขาธิการพรรคกล้า ได้โฟสต์เฟซบุ๊กส่งข้อความถึงบริษัท การบินไทย จำกัด(มหาชน) โดยกล่าวว่า รักการบินไทยและยังจำได้ว่าขากลับจากเรียนหนังสือที่สหรัฐ แค่นั่งในเครื่องทีจีก็รู้สึกอบอุ่นเหมือนได้กลับถึงบ้านแล้ว ทั้งที่เครื่องยังไม่ทันขึ้นจากสนามบินในลอสแองเจอลีสด้วยซ้ำไป ขอใช้สิทธิปกป้องสายการบินแห่งชาติ และประโยชน์ของรัฐไปพร้อม ๆ กัน

โดยเห็นว่าการอุ้มการบินไทยต้องมีแผนฟื้นฟูกิจการที่ชัดเจน ผูกพันตามกฎหมายล้มละลาย ส่งสัญญาณเป็นการผ่าตัดใหญ่ให้เจ้าหนี้และคู่ค้าตื่นตัว รวมถึงเป็นการสร้างความชอบธรรมที่จะชะลอการซื้อฝูงบินใหม่ 38 ลำ มูลค่า 1.5 แสนล้านจากบริษัทโบอิ้ง สหรัฐอเมริกาด้วย โดยเนื้อหาระบุว่า…

แผนอุ้มการบินไทยต้องชัดเจน
ต้องกล้าเข้าฟื้นฟูกิจการ
ตาม “พ.ร.บ.ล้มละลาย” ไม่งั้นสำเร็จยาก
.
ผมรักการบินไทย และยังจำได้ว่า
ขากลับจากเรียนหนังสือที่สหรัฐ
แค่นั่งในเครื่อง TG ก็รู้สึกอบอุ่นเหมือน
ได้กลับถึงบ้านแล้ว ทั้งที่เครื่องยังไม่ทัน
ขึ้นจากสนามบินในลอสแอนเจอลีสด้วยซ้ำไป
ผมขอใช้สิทธิปกป้องสายการบินแห่งชาติ
และประโยชน์ของรัฐไปพร้อมๆ กัน
.
ผมเห็นว่าการอุ้มการบินไทยต้องมีแผนฟื้นฟู
กิจการที่ชัดเจน ผูกพันตามกฎหมายล้มละลาย
ส่งสัญญาณเป็นการผ่าตัดใหญ่
ให้เจ้าหนี้และคู่ค้าตื่นตัว รวมถึงเป็นการสร้าง
ความชอบธรรมที่จะชะลอการซื้อฝูงบินใหม่ 38 ลำ มูลค่า 1.5 แสนล้าน จากบริษัทโบอิ้ง สหรัฐอเมริกา
.
การทำแผนฟื้นฟู ตาม “พ.ร.บ.ล้มละลาย”
จะทำให้เกิดผลทางกฎหมาย คือ Automatic stay ภาษาบ้านๆ คือ จะมาตัดน้ำตัดไฟไม่ได้
ธุรกิจเดินต่อได้ เจ้าหนี้ต้องมาดูแผนฟื้นฟูร่วมกัน
ยอมลดหนี้ ประหนึ่งมาช่วยทำให้ธุรกิจเดินต่อได้
ไม่งั้นอดได้หนี้คืน เพราะถ้าเจ้าหนี้จะไม่ให้ทำธุรกิจต่อ หรือไม่อนุมัติแผนฟื้นฟูแล้ว เจ้าหนี้จะต้องไปรอการชำระบัญชี รอขายซากของธุรกิจที่ไม่คุ้มค่า
.
รัฐบาล การบินไทย สหภาพ เจ้าหนี้ต่างๆ
ทุกฝ่ายต้องตัดสินใจ และมาช่วยกันทำ
“แผนฟื้นฟูกิจการอย่างเป็นทางการภายใต้
พ.ร.บ.ล้มละลาย” ไม่ใช่แค่แผนการปรับปรุง
ภายในองค์กรแต่เรียกชื่อว่า แผนฟื้นฟูกิจการ
แบบที่เอาไปผ่าน คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) มานั้น น้ำหนักมันน้อยไป ไม่พอจะกระตุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องครับ
.
การที่รัฐจะช่วย 5 หมื่นล้านคราวนี้
มันได้แค่เอาเครื่องขึ้นกลับไปบินเหมือนก่อน
วิกฤตโควิดเท่านั้น ไม่ได้ช่วยให้หลุดพ้น
จากสภาพร่อแร่จากเดิม ถ้าไม่มีกลไกทางกฎหมาย
บีบให้เจ้าหนี้และทุกฝ่าย มาทำแผนฟื้นฟู
ภายใต้กฎหมายล้มละลายแล้ว ใส่เงินใหม่ลงไป
ในกิจการอีกแสนล้าน ก็ยังไม่พอกับสถานการณ์ปัจจุบัน
.
การทำแผนฟื้นฟูกิจการภายใต้ พ.ร.บ.ล้มละลาย เป็นการส่งสัญญาณถึงสหรัฐอเมริกาด้วยว่า
การรับมอบฝูงเครื่องบินโบว์อิ้งนั้นทำไม่ได้
เพราะการบินไทยอาการหนักจริง
หมดเวลาเกรงใจสหรัฐแล้ว !
เพราะ 25 เมษายน 2563 ที่ผ่านมาคำสั่งประธานาธิบดีโดนัล ทรัมส์ มีผลเป็นการตัดสิทธิประโยชน์ทางภาษีศุลกากร GSP
ทำให้สินค้าของไทยต้องเจอกับกำแพงภาษีนำเข้าของสหรัฐ การสหรัฐที่ตัดสินใจกีดกันทางการค้าเพราะขาดดุลทางการค้าอย่างหนักกับไทย
ไทยเองก็น่าจะใช้สิทธิ์ไม่รับเครื่องบินโบว์อิ้ง
เพราะการบินไทยก็ขาดทุนอย่างหนักหน่วงเช่นเดียวกัน เล่นกันแฟร์แฟร์ ไปเลย
.
ผมขอให้การบินไทยมีแผนฟื้นฟูกิจการภายใต้ พ.ร.บ.ล้มละลาย แบบชัดเจน จะทำให้การบินไทยมีอำนาจการต่อรอง ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องตื่นรู้
และทำให้เงินใหม่ที่ลงไปคุ้มค่า…ต้องใช้ความกล้าผ่าตัดใหญ่ให้รอด อย่าใช้ความกลัวเลี้ยงไข้รอวันตาย.
.
อรรถวิชช์ สุวรรณภักดี
#กล้า
#เรามาเพื่อลงมือทำ