“เฉลิมชัย”สั่งกรมปศุสัตว์ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรรายย่อยเพิ่ม-หวังแก้ปัญหาหมูแพงระยะยาว

“เฉลิมชัยสั่งกรมปศุสัตว์ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรรายย่อยเพิ่มเติมเพื่อช่วยเหลือเบื้องต้นโดยด่วนและส่งเสริมการเลี้ยงในระยะยาว ด้านอธิบดีกรมปศุสัตว์ระบุ จะประชุมหารือกับสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติเพื่อสรุปแนวทางแก้ปัญหาราคาสุกรปรับสูงขึ้น เพื่อเสนอ Pig Board พิจารณาและเร่งดำเนินการเพื่อลดผลกระทบต่อประชาชน

นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.เกษตรและสหกรณ์กล่าวว่า จะเร่งดำเนินการแก้ปัญหาเนื้อสุกรแพงตามมาตรการที่กระทรวงเกษตรฯ และกระทรวงพาณิชย์หารือร่วมกันเพื่อลดผลกระทบต่อประชาชน นอกจากนี้ยังสั่งกรมปศุสัตว์เร่งขึ้นทะเบียนเกษตรกรรายย่อยเพิ่มเติมให้เร็วที่สุดเพราะเป็นกลุ่มผู้เลี้ยงสุกรที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาต่างๆ อย่างมากเพื่อช่วยเหลือในเบื้องต้นให้ทันสถานการณ์ รวมถึงให้เข้าถึงแหล่งสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำได้ง่ายและสะดวกรวดเร็วเพื่อใช้ในการปรับระบบการเลี้ยงให้ได้มาตรฐานป้องกันโรคระบาด รวมทั้งส่งเสริมการรวมกลุ่มและหาตลาดในราคาที่เกษตรกรอยู่ได้อย่างดี

นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์กล่าวว่า ในวันพรุ่งนี้ (7 ม.ค.) กรมปศุสัตว์จะหารือกับสมาคมเลี้ยงสุกรแห่งชาติเพื่อกำหนดแนวทางแก้ปัญหาราคาสุกรปรับสูงขึ้น รวมถึงมาตรการส่งเสริมการให้ผู้เลี้ยงรายย่อยและรายกลางที่หยุดเลี้ยง กลับมาเลี้ยงใหม่ การช่วยเหลือด้านราคาอาหารสัตว์ โดยเฉพาะส่วนที่นำเข้ามาจากต่างประเทศเช่น การงดเว้นการเก็บค่าธรรมเนียมหรือภาษี การจัดสินเชื่อพิเศษของธ.ก.ส. เพื่อให้เกษตรกรที่สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขได้ กลับมาเลี้ยงใหม่ในพื้นที่ความเสี่ยงต่ำ การกำหนดโซนเลี้ยงและออกมาตรการบังคับใช้อย่างเหมาะสมเพื่อควบคุมโรค

oard) ที่มีรมว. เกษตรฯ เป็นประธาน เมื่อ Pig Board เห็นชอบจะเร่งดำเนินการเพื่อลดผลกระทบต่อประชาชนให้เร็วที่สุด

จากฐานข้อมูลทะเบียนเกษตรกรล่าสุด ผู้เลี้ยงสุกรทั้งประเทศมี 189,152 ราย กลุ่มที่มีจำนวนมากที่สุดคือ ผู้เลี้ยงรายย่อยซึ่งมีถึง 91.21% แต่ผลิตสุกรได้ 15.28% ของจำนวนสุกรทั้งประเทศ รายเล็กมี 12,477 ราย คิดเป็น 6.6% ผลิตสุกรได้ 12.89% รายกลางมี 3,856 ราย คิดเป็น 2.04%  ผลิตสุกรได้ 35.31% และรายใหญ่มีเพียง 291 ราย คิดเป็น 0.15% แต่สามารถผลิตสุกรได้ถึง 36.52% หรือประมาณ 1 ใน 3 ของสุกรทั้งประเทศ

ส่วนจำนวนผลผลิตสุกรในประเทศพ.ศ. 2563 และ 2564 จากข้อมูลขออนุญาตเคลื่อนย้ายในระบบ E-movement พบว่า ในพ.ศ. 2563 สุกรขุนทั้งประเทศมี 22.05 ล้านตัว ส่วนพ.ศ. 2564 มี 19.27 ล้านตัว โดยแบ่งเป็นเข้าโรงฆ่ามี 18.29 ล้านตัวและส่งออก 0.98 ล้านตัว ลดลง 12.61% จึงไม่ใช่ลดลง 30-40% ตามที่มีบางคนประเมิน

นอกจากนี้กรมปศุสัตว์ยังสอบทานการลดลงของจำนวนสุกร ด้วยการคำนวณจากแม่พันธุ์ในพ.ศ. 2564 ซึ่งมี 0.963 ล้านตัว ลดลงจากปี 2563 ซึ่งมี 1.102 ล้านตัว คิดเป็น 13% ทั้งนี้แม่สุกร 1 ตัวให้สุกรขุน 20 ตัว ซึ่งสอดคล้องกับจำนวนแม่พันธุ์ ล่าสุดกรมปศุสัตว์กำหนดแนวทางแก้ปัญหาแม่พันธุ์สุกรที่ลดลง โดยจะให้เกษตรกรใช้สุกรขุนตัวเมียมาใช้ทำพันธุ์ชั่วคราวและเจรจาผู้เลี้ยงรายใหญ่กระจายลูกสุกรขุนแก่ผู้เลี้ยงรายย่อยและรายเล็กด้วยซึ่งจะทำให้จำนวนสุกรขุนในประเทศมีเพิ่มขึ้น