อะไรคือ “แอเรีย ควอรันทีน&วัคซีน พาสปอร์ต”

ตั้งแต่ช่วงต้นปี 2564 ที่่ผ่านมา หลายประเทศทั่วโลกเริ่มมีความหวังในการยุติ “ยุคความซบเซาของเศรษฐกิจจากโควิด-19” หลังจากความสำเร็จในการคิดค้นวัคซีนต้านโควิด-19 และมีการกระจายฉีดวัคซีนของต่างค่ายต่างยี่ห้อไปแล้วในหลายประเทศ

โดยมีการคาดการณ์กันว่า หากมีการกระจายวัคซีนได้ตามเป้าหมาย มีโอกาสสูงมากที่ประชากรอย่างนอย 50% ของประชาการทั้งโลก อาจจะได้รับวัคซีนภายสิ้นปี 2565

“ภาคการท่องเที่ยว” ดูเหมือนว่าจะเป็นภาคที่ขานรับข่าวดีนี้มากที่สุด เนื่องจากเห็นโอกาสของการเปิดประเทศไทยเพื่อรับนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น แม้ว่าจะยังไม่ใช่การรับนักท่องเที่ยวอย่างเต็มรูปแบบ โดยไม่มีอะไรกั้นเหมือนในช่วงก่อนยุคโควิด-19 แต่ถือเป็นจุดเริ่มตนที่ชัดเจนกว่าทุกครั้งที่ผ่านมา

ทำให้มี  2 คำที่เราได้ยินกันบ่อยๆในช่วงนี้ คือ แอเรีย ควอรันทีน (Area Quarantine) และ วัคซีนพาสปอร์ต (Vaccine Passport ) ซึ่งในภาคการท่องเที่ยว มองว่าจะเป็นทางออกของการกระตุ้นการท่องเที่ยวของไทย ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว และทั้งสองคำนี้มีความหมายอย่างไร และจะช่วยการท่องเที่ยวได้อย่างไร มาทำความเข้าใจกัน

  เริ่มจากคำแรก “แอเรีย โฮเทล ควอรันทีน (Area Hotel Quarantine)” ซึ่งจะเป็นแนวทางที่ประเทศไทยจะนำมาใชในระยะแรกของ “การเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยว” โดยเตรียมพร้อมเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยว ตั้งแต่เดือนเม.ย.-พ.ค.นี้เป็นต้นไป 

และจะเปิดนำร่องก่อนใน  5 จังหวัดท่องเที่ยวหลัก คือ เชียงใหม่ ภูเก็ต  กระบี่ สุราษฎร์ธานี ใน 3 เกาะหลัก คือ เกาะสมุย เกาะเต่า เกาะพะงัน และ พื้นที่พัทยา ชลบุรี โดยเน้นเป้าหมายนักท่องเที่ยวที่เข้ามาพักระยะยาว 1- 3 เดือน

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ระบุว่า  นักท่องเที่ยวกลุ่มที่เข้ามาในลอตแรกนี้ ยังต้องอยู่ในพื้นที่ควบคุม 14 วันเช่นเดิม แต่จะปรับจากการอยู่ในห้อง หรือพืนที่จำกัด เป็นอยู่ในสถานที่จำกัดแทน หรือที่เรียกว่า  แอเรีย ควอรันทีน (Area Quarantine) 

โดยนักท่องเที่ยวกักตัวในโรงแรม 3 วันแรก กักตัวแบบเข้มในห้องพัก  หลังจากวันที่ 3 จะมีการสวอปเพื่อตรวจหาเชื้อโควิด-19  ถ้าไม่มีการติดเชื้อ สามารถออกมาพักผ่อนในบริเวณโรงแรม หรือบริเวณที่ตกลงกันไว้ได้ แต่ในระหว่างนั้นช่วงวันที่ 9  วันที่ 13 และวันที่ 14 จะมีการสวอปหาเชื้อเป็นช่วงๆ  ตามมาตรฐานการป้องกันโรคระบาดของกระทรวงสาธารณสุข

ครบวันที่ 15 หากผลการตรวจไม่มีการติดเชื้อโควิด-19  นักท่องเที่ยวกลุ่มนี้จะถือเป็นนักท่องเที่ยวปลอดภัย สามารถเดินทางไปท่องเที่ยวจังหวัดอื่นๆ ได้  

และจาก “แอเรีย โฮเทล ควอรันทีน” หากสถานการณ์โควิด-19 ของประเทศไทยและทั่วโลกดีขึ้นเรื่อยๆ  อาจจะมีการพิจารณาขยับการเปิดประเทศเพื่อรับนักท่องเที่ยวให้กว้างมากขึ้น เช่น เป็นการเปิดทั่วไประหว่างประเทศที่ปลอดโควิด หรือมีการฉีดวัคซีนต้านโควิด-19 เป็นลักษณะเฉพาะกลุ่ม ในรูปแบบ  “ทราเวล บับเบิล หรือ แซนด์บ๊อกฎ เชื่อมระหว่างเมืองต่อเมือง หรือประเทศต่อประเทศ ที่มีการฉีดวัคซีนใกล้เคียงกัน คนที่มีประวัติได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว อาจจะมีโอกาสเข้ามาท่องเที่ยวไดโดยไม่ต้องกักตัวได้

ซึ่งความคืบหน้าเหล่านี้ นำมาสู่คำที่ 2 ที่เราได้ยินกันบ่อยๆ ในช่วงนี้คือ วัคซีนพาสปอร์ต (Vaccine Passport ) ซึ่งจะเป็นเหมือนสมุดรับรองการฉีดวัคซีน ที่แต่ละประเทศต้องการให้ผู้ที่จะเข้าประเทศดำเนินการฉีดให้เสรจสิ้นก่อนเข้าประเทศนั้นๆ

  และแม้ว่าเราจะได้ยิน คำว่า วัคซีนพาสปอร์ต (Vaccine Passport ) บ่อยๆ แต่คนที่เดินทางบ่อยๆ จะรู้ว่า “เจ้าสมุดสีเหลือง” นี้ ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นสมุดรับรองการฉีดวัคซีนที่มีมานานแล้ว โดยเฉพาะการเดินทางไปประเทศในอัฟริกา หรือซาอุดิอาระเบีย

สำหรับประเทศไทยในขณะนี้นั้น ผู้ต้องการหนังสือรับรองการฉีดวัคซีนโควิด-19 ก็สามารถทำได้ โดยขั้นตอนคือ เมื่อเราฉีดวัคซีนต้านโควิด-19 จนครบ ทางโรงพยาบาลจะออกใบรับรองการฉีดวัคซีนครบให้ และหลังจากนั้น หากต้องการหนังสือรับรองการฉีดวัคซีนอย่างเป็นทางการก็สามารถมาขอได้ที่กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

แต่ในกรณีเร่งด่วน พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ มีกฎหมายโดยมอบอำนาจให้เจ้าหน้าที่ด่านควบคุมโรคติดต่อ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด(สสจ.) หรือผู้อำนวยการโรงพยาบาลเป็นผู้ออกหนังสือรับรองให้กับประชาชนที่ฉีดวัคซีนโควิดจนครบได้เช่นกัน

อย่างไรก็ตาม สำหรับการรับรองผลของการฉีดวัคซีนโควิด-19 นั้น เมื่อมี “วัคซีนพาสปอร์ต” กรณีหากคนไทยต้องการจะไปนอกพื้นที่ หรือ ไปต่างประเทศ จะต้องมีการกักตัว 14 วัน หรือ กักตัวตามกำหนดอีกหรือไม่ รวมทั้ง กรณีของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้ามาท่องเที่ยว หรือพำนักในประเทศไทยนั้น

องค์การอนามัยโลก (WHO) ยังอยู่ระหว่างการพิจารณา ทั้งกรณีการกักตัวของแต่ละประเทศ และการจัดทำ “วัคซีนพาสปอร์ต” ในแต่ละประเทศ ควรทำเป็นแบบฟอร์มมาตรฐานเหมือนกันหรือไม่ แต่คาดว่าจะมีโอกาสที่จะไม่ต้องกักตัว หรือลดจำนวนการกักตัวลงสูง เช่น 3 วัน

  แต่การตัดสินขององค์การอนามัยโลกจะเป็นเพียง “คำแนะนำ” ซึ่งขึ้นอยู่กับผู้บริหารของแต่ละประเทศว่าจะตกลงอย่างไรในที่สุด ซึ่งในส่วนกระทรวงสาธารณสุขของไทย ระบุว่า จะมีการประชุมกันอีกครั้ว โดยดูความชัดเจนจากการตัดสินขององค์การอนามัยโลกก่อนเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม ในทางแรก วัคซีนพาสปอร์ต (Vaccine Passport ) อาจจะเป็นคำตอบของการเดินทางทำธุรกิจ และการท่องเที่ยว แต่อีกด้านการมี วัคซีนพาสปอร์ต (Vaccine Passport ) ยังมีข้อถกเถียงว่าจะทำให้คนบางกลุ่มเสียประโยชน์หรือเช่น

เช่น กลุ่มคนที่ไม่ต้องการฉีดวัคซีน (ไม่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง ) กลุ่มคนไม่สามารถฉีดวัคซีนได้เพราะจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ และชีวิต หรือกลุ่มคนที่ไม่สามารถเข้าถึงวัคซีนในช่วงแรก

ดังนั้น การตัดสินใจที่ชัดเจนในระยะต่อไป หน่วยงานรัฐจำเป็นต้องมีข้อมูล ข้อเท็จจริง และการใช้ดุลยพินิจที่เหมาะสม 

#Thejournalistclub #เศรษฐกิจคิดง่ายๆ #วัคซีคโควิด19 #พาสปอร์ต