สภาพัฒน์เผย”จีดีพี”ไตรมาส 3/64 หดตัว 0.3%

.สภาพัฒน์ยอมรับพ้นจุดต่ำสุด คาดทั้งปี 64 จีดีพีขยายตัวร้อยละ 1.2

.หนุนคลังออกมาตรรกระตุ้นกำลังซื้อปลายปี

นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยว่า  จีดีพี ไตรมาส  3 /2564   หดตัวตัวร้อยละ 0.3 ลดลงร้อยะล 1.1  เมื่อเทียบกับไตรมาส 2 รวม 9 เดือนแรกจีดีพีขยายตัวร้อยละ 1.3  หลังจากการบริโภคหดตัวรุนแรงติดลบร้อยละ -3.2  เนื่องจากช่วงนั้น การแพร่ระบาดโควิด -19 รุนแรง รัฐบาลจึงล็อคดาวน์ กระทบการใช้จ่ายและเปิดกิจการร้านค้า    สศช.ยังปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยทั้งปี 64  ขยายตัวร้อยละ 1.2 เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 เร่ิมคลี่คลาย ฟื้นตัวจากการติดลบร้อยละ 6.3 ในปี 63 นับเป็นการฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป คาดว่าไตรมาส 3 จะเป็นจุดต่ำสุดแล้ว ทั้งปี 64 อัตราเงินเฟ้อร้อยละ 1.2 ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุงร้อยละ 2.5 ต่อGDP

ทั้งนี้ปัจจัยสนับสนับให้เศรษฐกิจขยายตัว คือ ความต้องการกำลังซื้อในประเทศเริ่มดีขึ้น การฟื้นตัวของภาคท่องเที่ยวหลังรัฐบาลเปิดประเทศตั้งแต่ 1 พ.ย. และได้ผ่อนคลายมาตรการต่างๆเพิ่มเติมเพื่อนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าไทย คาดการณ์นักท่องเที่ยวเดินทางเข้าไทยประมาณ 2.5 แสนคน และแรงขับเคลื่อนจากการใช้จ่ายภาครัฐ โดยการแพร่โควิด-19 ระบาดในประเทศปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง ยอดผู้ป่วยลดลง ประมาณ 6 พันคนต่อวัน จากเดิมหนักสุด 2 หมื่นคนต่อวัน ผู้ป่วยอาการหนักลดลง 2 คนลดเหลือ 1,700 คน จากนั้นเศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวอย่างช้าๆ การระบาดเร่ิมอยู่ในวงจำกัด ในช่วง พ.ย.-ธ.ค. 64 วัคซีนนำเข้ามา 40 ล้านโคส และในต้นปีฉีดวัคซีน เข็ม 3-4 และยารักษาตัวใหม่เร่ิมนำเข้ามาในต้นปีหน้า การฉีดวัคซีน 84 ล้านโดส ครอบคลุมประชาชนร้อยละ 63 เข็ม 2 สัดส่วนร้อยละ 50 นับว่าได้สร้างความเชื่อมั่นให้กับทั้งคนไทยและต่างชาติมากขึ้น และต้องจับตาการแพร่ระบาดอีกครั้งในยุโรป จากเชื้อกลายพันธุ์ หลายประเทศจะจัดการปัญหาดังกล่าวอย่างไร

นอกจากนั้นทางสภาพัฒน์ ยังสนับสนุน กระทรวงการคลัง ออกมาตรการกระตุ้นกำลังซื้อช่วงปลายปี เพื่อส่งผลไปยังภาคการผลิต แต่ไม่ได้ใช้เงินกู้ จาก พ.ร.ก. เงินกู้ 5 แสนล้านบาท เหลืออยู่ 2.2 แสนล้านบาท เพื่อเตรียมการรองรับแก้ปัญหาแพร่ระบาดในปี 65 แนะให้ประชาชนเตรียมเงินเอาไว้ใช้จ่ายผ่านมาตรการรัฐ หลังช่วงที่ผ่านมารับข้อเสนอของภาคเอกชน ให้นำมาตรการ “ช้อปดีมีคืน” กลับมาใช้อีกครั้ง และ ธปท. เร่งรัดแก้ปัญหาหนี้ภาคครัวเรือนที่ยังอยู่ในระดับสูง ขณะที่รัฐบาลกำลังออกมาตรการช่วยเหลือการระดับการจ้างงานของเอสเอ็มอีให้ได้ร้อยละ 95 ของทั้งองค์กร สำหรับลูกจ้างมาตรา 33 ในช่วงสิ้นเดือน พ.ย.นี้

สำหรับแนวโน้มเศรษฐกิจในปี 65  คาดว่าจีดีพีขยายตัวร้อยละ 3.5-4.5 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการฟื้นตัวของกำลังซื้อในประเทศ และภาคการผลิต การแพร่ระบาดโควิด-19 คลี่คลายลง การท่องเที่ยวค่อยๆฟื้นตัว จากการเปิดประเทศให้นักท่องเที่ยวต่างชาติ มูลค่าการส่งออกขยายตัวร้อยละ 4.9  ดุลบัญชีเดินสะพัดเร่ิมกลับมาเป็นบวกร้อยละ 1 อัตราเงินเฟ้อร้อยละ 0.9-1.9 โดยรัฐบาลต้องเร่งส่งเสริมการฟื้นตัวของภาคธุรกิจ ส่งเสริมการลงทุนในเขตอีอีซี และเศรษฐกิจตามแนวชายแดน เร่งรัดเจรจาและหาข้อสรุปในกรอบความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภมิภาค RCEPT และกลุ่ม CPTPP เพื่อขยายตลาดการส่งออก