สนค.แนะไทยส่งออกโปตีนทางเลือกลุยตลาดโลก

Variety of plant based meat, food to reduce carbon footprint

.หลังพบสุดออตในกลุ่มผู้บริโภครักสุขภาพ-ไม่กินเนื้อสัตว์
.มูลค่าตลาดในยุโรปพุ่งไม่ต่ำกว่า 20% ต่อปี
.ส่วนไทยยอดขายปังไม่แพ้กันและโตได้ทุกปี

นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยว่า จากการติดตามสถานการณ์โปรตีนทางเลือก อาหารของคนรักสุขภาพ พบว่า ปัจจุบัน ความนิยมบริโภคโปรตีนทางเลือกเพิ่มขึ้นมาก ทั้งจากพืช สาหร่าย แมลง เชื้อราที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ฯลฯ โดยเฉพาะในยุโรป ที่ข้อมูลจาก Globenewswire ระบุว่า ในปี 64 มีมูลค่าทางการตลาดสูงถึง 1,906.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และคาดว่า ช่วงปี 66-71 จะขยายตัวเฉลี่ยถึง 20.2% ต่อปี อีกทั้งตลาดโปรตีนทางเลือกในยุโรปมีสัดส่วนถึง 2 ใน 3 ของการบริโภคโปรตีนทางเลือกทั่วโลกภายในปี 78 ส่งผลให้มีการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่หลากหลายมากขึ้น และรัฐบาลบางประเทศ ให้ทุนสนับสนุนโครงการวิจัยและนวัตกรรม และจัดตั้งกองทุน “The Plant Fund” เพื่อส่งเสริมนวัตกรรม และเร่งการผลิตให้เพียงพอ


ขณะที่ไทย มีการบริโภคโปรตีนทางเลือกเช่นกัน โดยปี 64 การบริโภคโปรตีนทางเลือกที่มาจากนวัตกรรมอาหารใหม่ของไทย มีมูลค่าราว 4,500 ล้านบาท สัดส่วน 12% ของตลาดโปรตีนทางเลือกทั้งหมดของไทย ที่มีมูลค่า 36,200 ล้านบาท และมูลค่าตลาดมีโอกาสเพิ่มขึ้น 8% ต่อปี จนขยับไปสู่ 5,670 ล้านบาทได้ภายในปี 67 ซึ่งไทยสามารถนำทรัพยากรธรรมชาติที่หลากหลายและอุดมสมบูรณ์ มาผลิตและแปรรูปเป็นโปรตีนทางเลือกได้ อาทิ พืช เช่น ถั่ว เห็ด สาหร่าย ขนุนอ่อน ไข่ผำ และแมลง เช่น จิ้งหรีด ตั๊กแตน หนอนไหม


“ตลาดโปรตีนทางเลือก ยังขยายตัวอย่างต่อเนื่องจากพฤติกรรมการเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภค ประกอบกับ ไทยมีทรัพยากรธรรมชาติหลากหลาย และเป็นแหล่งโปรตีนสำคัญ จึงเป็นโอกาสให้ผลิตและพัฒนานวัตกรรมโปรตีนทางเลือกได้ แต่ผู้ประกอบการจะต้องศึกษาและปฏิบัติตามกฎระเบียบ มาตรฐานส่งออกของคู่ค้าแต่ละประเทศด้วย ซึ่งที่ผ่านมากระทรวงพาณิชย์ ได้เร่งรัดผลักดันการส่งออกสินค้าที่เป็นเมกะเทรนด์ของโลก โดยเฉพาะอาหารแห่งอนาคต อย่าง โปรตีนทางเลือกจากพืช และแมลง ไปยุโรป สหรัฐฯ และเอเชีย”

Chemist injecting vegan beef meat with protein using medical syringe for microbiology experiment. Biochemist woman researching vegetareian food modified genetically working in chemistry laboratory