“ศักดิ์สยาม-อุตตม” เปิดใจเบื้องลึกปฏิบัติการกู้ชีพการบินไทย เป้าหมายเดียวกลับมาผงาดอย่างสมศักดิ์ศรี

หลังจากใช้เวลาต่อรองกับความพยายามในการปรับโครงสร้างองค์กร แก้ไขปัญหาหนี้สินสะสมที่มีจำนวนมากกว่า 300,000 ล้านบาท รวมถึงการดำเนินกิจการหลายด้านที่ไม่โปร่งใสของบริษัท การบินไทย จำกัด(มหาชน) มาเป็นเวลานานกว่า 5 ปี ตามมติคณะรัฐมนตรีที่ให้การบินไทยเป็น 1 ใน 7 รัฐวิสาหกิจที่ต้องได้รับการฟื้นฟูกิจการ

แต่เวลาผ่านไปผู้บริหารการบินไทยได้แต่อ้างว่ารัฐต้องช่วยอัดฉีดสภาพคล่องและมีเงินจ่ายเงินเดือนแก่พนักงานอยู่ตลอดเวลาขณะที่คณะกรรมการบอร์ดส่ังการให้ดำเนินการแก้ปัญหาอย่างใดอย่างหน่ึงพนักงานของการบินไทยก็มักจะไม่ได้ยินดีที่จะแก้ไขตามนั้น

ท้ายที่สุดเมื่อสถานการณ์เลวร้ายที่ไม่มีใครคาดคิดอย่างการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 มาถึง และกระทบกับวิถีชีวิตปกติของผู้คนท่ัวโลก ส่งผลให้คนจำนวนมากต้องหยุดการเดินทางไปมาระหว่างกัน ธุรกิจการบินจึงต้องรับผลกระทบอย่างหนัก

การบินไทยจึงเดินมาสู่สภาวการณ์ที่เจ้าหนี้ยื่นโนติ๊สเพื่อทวงเงินค่าเช่าเครื่องบินในขณะที่ไม่มีสภาพคล่องเพื่อจ่ายเงินเดือนหรือบริหารธรุกิจเพราะรายได้จากธุรกิจการบินกลายเป็น 0

หนทางที่รัฐบาลต้องเลือกระหว่าง 1.การใส่เงินเพื่อช่วยสภาพคล่อง และค้ำประกันเงินกู้ให้ 2.ปล่อยให้ล้มละลาย และ 3.เข้าสู่กระบวนการฟ้ืนฟูกิจการภรายใต้คำส่ังศาลล้มละลายกลาง

ทางเลือกที่ 3 ถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นเหตุผลและความคาดหวังว่าจะรักษาการบินไทย สายการบินแห่งชาติไว้ แต่ภายใต้กระบวนการฟื้นฟูกิจการดังกล่าว ดูเหมือนเจ้ากระทรวงคมนาคมที่มีหน้าที่กำกับดูแลการบริหารงานของการบินไทย กับ เจากระทรวงการคลังในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ จะมีความเห็นไม่ค่อยตรงกันนัก

The Journalist Club จึงจับประเด็นน่าสนใจนี้จาก หน้าเศรษฐกิจ นสพ.ไทยรัฐ ฉบับวันจันทร์ที่ 25 พ.ค.มาให้อ่านกัน

  • บินสู่จุดหมายปลายทางสุดท้าย
  • ปฏิบัติการกู้ชีพการบินไทย

เมื่อความเป็นจริงซึ่งหมายถึงการล้มละลายมาเคาะประตูอยู่หน้าบ้านหน่วยงานรับผิดชอบไม่ว่าจะเป็นกระทรวงคมนาคมในฐานะผู้กำกับดูแลหรือกระทรวงการคลังในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ก็จำต้องก้มหน้ายอมรับด้วยความคาดหวังว่าในสถานการณ์เลวร้ายที่สุดของการเข้าสู่กระบวนการพื้นฟูกิจการภายใต้คำส่ังศาลนั้นการบินไทยจะกลับมาให้บริการในฐานะเป็นสายการบินแห่งชาติได้อีก

ฟังจากสองผู้มีอำนาจในกระทรวงคมนาคมและกระทรวงการคลังกันเอง

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม

ข้อเสนอในตอนแรกที่กระทรวงการคลังให้คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) ทำมาเพื่อจะขออนุมัติค้ำประกันเงินกู้ให้การบินไทยมีสภาพคล่อง 54,000 ล้านบาทนั้น ทำมาในลักษณะเป็นมาสเตอร์แพลน (Master Plan) ขนาดใหญ่ เพื่อให้การปฏิบัติงานตามแผนดำเนินไปได้อย่างคล่องตัว จึงขอให้ทำแอคชั่นแพลน (Action Plan) มาให้ด้วย คือ ใครทำอะไร ที่ไหน เมื่อใด เพราะอะไร และอย่างไร Who What When Where Why How

“ผมอยากเห็นข้อเท็จจริงในการบินไทยว่า หนี้มีจำนวนเท่าใดแน่ เป็นหนี้ในประเทศเท่าไหร่ หนี้ต่างประเทศเท่าไหร่ ใครเป็นหนี้ประเภทไหน ที่ตามมาคือ รายได้การบินไทยเป็นอย่างไร ตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน และการคาดการณ์ในอนาคต ที่สำคัญ การบริหารทรัพย์สินเป็นอย่างไร…

Business Unit ของการบินไทยเป็นอย่างไร ดำเนินไปในทิศทางใด เรื่องแบบนี้ผมว่า ทุกคนก็เรียนมานะ ต้องมี Milestone ต้องมีตัวชี้วัด

ประสิทธิภาพ หรือ KPI แต่ปรากฏว่า เขาไม่สามารถจะเสนออะไรมามากไปกว่านี้ได้ และเขาบอกเขาจะต้องรีบเอาเข้าครม. ผมจึงต้องขอให้ท่านปลัดกระทรวงคมนาคมไปหาดร๊าฟที่เขาทำมาให้ดู ก็ปรากฏเขาทำมา 23 ความเสี่ยง “เขาทำมาเองว่า เขามีความเสี่ยงถึง 23 ข้อ”

ตลอดช่วงเวลาที่เข้ามารับตำแหน่งหน้าที่ เมื่อแบ่งงานกันไปแล้วก็ให้ นายถาวร เสนเนียม รมช.คมนาคมไปดูปัญหาของการบินไทยมา 8 – 9 เดือน โดยที่ไม่ได้เข้าไปยุ่งอะไรด้วย “ส่วนของผม ผมก็ดูเรื่องของระบบการขนส่งอื่นๆ เช่น การรถไฟแห่งประเทศไทย และ ขสมก.ซึงกำลังจะนำเสนอรูปแบบการปรับโครงสร้างองค์กรใหม่เข้าที่ประชุมครม. ก็ให้ปรากฏว่า มีเรื่องของการบินไทย สลับฉากเข้ามา”

  • ขอให้การบินไทยทำแผนพื้นฟูเป็นเอกสารมา
  • มีข้อสงสัยว่า ทำไมต้นทุนรายจ่ายจึงมากนัก

นายศักดิ์สยาม กล่าวว่า ช่วงนั้น แม้จะขาดทุน แต่สภาพคล่องของการบินไทยยังมีอยู่ และก็ได้รับคำยืนยันว่า เขายังทำการบินไทยต่อเนื่องไปได้ “ผมเพียงแต่ถามว่า ทำไมพนักงานการบินไทยจึงมากมายขนาดนี้ และก็ขอให้ช่วยดูเรื่องต้นทุนหน่อย แล้วเขาก็บอกว่า การบินไทยมีปัญหาไปเก็งค่าเงินบาท และราคาน้ำมันผิดพลาด แต่ผมก็ยังไม่ได้เข้าไปดู” ทำไปทำมา วันหน่ึง ดีดีการบินไทยก็วิ่งมาเสนอว่า เขาจะขอทำแผนพื้นฟูกิจการ วันนั้นจึงขอให้เขาเอาเอกสารมาดูด้วย เมื่อได้ดูเอกสาร จึงได้รับรู้ว่า ทำไมต้นทุนรายจ่ายของการบินไทยจึงมากมายขนาดนี้ และดูๆแปลกประ หลาดมากทั้งเรืองน้ำมัน และการจัดซื้อต่างๆ

รมว.คมนาคม กล่าวต่อไปว่า เขาได้ขอให้อดีตดีดีคนเก่า (นายสุเมธ ดำรงชัยธรรม) ไปจัดทำรายละเอียดเป็นเอกสารมาให้ชัดเจน ระหว่างนั้นก็เกิดสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 เข้ามา จึงทำให้ Option ต่างๆเปลี่ยนไป กระท่ังดีดีลาออก และกระทรวงการคลังขอใช้สิทธิการเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ส่งคนของตนเข้ามารักษาการดีดีแทน

ช่วงเวลานั้น ผมได้กราบเรียนท่านนายกฯว่า การบริหารรัฐวิสาหกิจในแบบที่เป็นอยู่ไม่ได้แสดงให้เห็นถึงการที่จะทำให้มีประสิทธิภาพ หรือพื้นฟูการบริหารงานที่มีเป้าหมายทำให้เกิดความสำเร็จได้เลย เพราะการที่มาทำแบบนี้คล้ายๆกับว่าไม่ไว้ใจรัฐมนตรีที่กำกับดูแลองค์กรนั้นๆ จริงๆตั้งแต่ปี 2521 เป็นต้นมา ครม.มีมติให้แยกการกำกับดูแลกิจ การขนส่งสาธารณทุกประเภทมาให้กระทรวงคมนาคม

  • ตั้งข้อสังเกตเรื่องอำนาจการกำกับดูแล
  • โยนกลับครม.จับตาดูคลังแอบใส่เงิน?!

ถ้าจะให้กระทรวงการคลังไปกำกับดูแลงานของกระทรวงคมนาคม ก็ต้องใช้มติครม.ไปล้างมติครม. “อันนี้เป็นเรื่องที่ผมต้องขอตำหนิจริงๆว่า ไม่ถูกต้อง ตั้งแต่เรื่องจะซื้อโน่นซื้อนี่แล้ว คุณจะเป็นผู้ควบคุม ในเวลาเดียวกันก็จะเป็นผู้ปฏิบัติด้วย นั่นคือเหตุผลที่ทำให้คุณผิดพลาดไปหมด ทั้งเก็งค่าเงิน และราคาน้ำมันผิดพลาด”

กรณีดังกล่าว ทำให้เจ้ากระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ล่าสุดเขาได้ทำหนังสือส่งกลับไปยังครม.เพื่อขอเปลี่ยนมติจากการให้กระทรวงคมนาคมเป็นผู้จัดทำแผนเป็นให้กระทรวงการคลังเป็นผู้จัดทำแผนเองเพื่อให้ทุกอย่างถูกต้อง การโอนอำนาจกลับคืนไปดังกล่าวจำเป็นต้องจับตาดูด้วยว่า จะมีการใส่เงินกลับเข้าไปในการบินไทย หรือ ทำให้ปัญหาวนกลับมาที่เดิมหรือไม่

กลับมาดูเรื่องที่กระทรวงคมนาคมเป็นผู้จัดทำแผนพื้นฟู ผมคิดว่าเป็นโชคดีที่เราทำได้ทันเวลา ไม่เช่นนั้น การบินไทยจะล้มละลาย ทำให้ประเทศไทยเสียหายมากมาย เราไม่อยากทำให้การบินไทยล้มะลาย แต่ถ้าปล่อยไว้อย่างเดิมอีก 2 เดือนมาบอก เขากำลังจะตาย ต้องใส่เงินเข้าไป อีก 2 เดือนก็จะมาบอกใหม่ว่า เขากำลังจะตายอีก ต้องใส่เงินอีกแล้ว แบบนี้มันไม่ได้

มันจะตายจริงๆก็คือล้มละลาย ถ้าเป็นเช่นนั้นล่ะก็ ระเนระนาด พังเลย แต่เราจะไม่ปล่อยให้เป็นเช่นนั้น เราจะพื้นฟูเขา ส่วนจะฟื้นฟูแล้วทำให้เขาออกมาในลักษณะใด ค่อยไปดูกันในรายละเอียด ซึ่ง รมว.คมนาคม ให้ความเห็นว่า โมเดลของสายการบินเจแปนแอร์ไลน์  (JAL) ของญี่ปุ่น น่าจะเป็นโมเดลที่ดีที่สุดในการปรับใช้กับการฟื้นฟูกิจการของการบินไทย

  • ถ้าปล่อยบินไทยล้มจะเกิดเรื่องใหญ่
  • ขอเวลาพื้นฟูกิจการ 24 เดือนก่อน

สำหรับการเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูภายใต้คำส่ังศาลนั้น มี 10 ขั้นตอน เร่ิมจากวันที่ครม.มีมติเห็นชอบวันที่ 19 พ.ค.จากนั้นก็เร่ิมตั้งคณะทำงานเพื่อเจรจาเจ้าหนี้ และคณะผู้จัดทำแผนฟื้นฟูฯแล้วนำเสนอศาล เมื่อศาลรับคำร้องก็ให้ดำเนินการไปตามกระบวนการต่างๆจนจบขั้นตอนสุดท้ายที่ให้ศาลแต่งตั้งผู้บริหารแผนเพื่อดำนินการฟื้นฟูกิจการ

…ซึ่งคิดว่า น่าจะเสร็จส้ินได้ในเดือนก.ย.ที่จะถึง ต่อจากนั้น อาจจะใช้เวลาปรับโครงสร้างองค์กร ฟื้นฟูกิจการ ปัญหาการขาดทุนต่างๆอีกราว 24 เดือน ไทม์ไลน์ของเรา อาจจะเป็นเดือน ก.ค.2565 การบินไทยจะกลับมาให้บริการได้ตามปกติ

ระหว่างนี้ ต้องมีกระบวนการจัดตั้งคณะทำงานเพื่อขอลดหย่อนหนี้กับเจ้าหนี้เป็นการแก้ปัญหาสภาพคล่อง อาจดำเนินการในลักษณะของการปรับโครงสร้างหนี้ แปลงหนี้เป็นทุน จากนั้นเราต้องให้ผู้เป็นมืออาชีพเข้ามาเป็นผู้บริหารแผน

“เราจะดูศักยภาพของหน่วยงานที่มีความสามารถในการสร้างรายได้ และทำกำไร ซึ่งขณะนี้มองเห็นมีอยู่ราวๆ 6 Business Model ที่สามารถสร้างรายได้ให้แก่การบินไทยได้เป็นอย่างดี”

ขอความชัดเจนอีกครั้งว่า ถ้าปล่อยให้การบินไทยล้มละลายจะเกิดอะไรขึ้น รมว.คมนาคมตอบว่า  1.เจ้าหนี้จะเป็นผู้ยื่นขอให้การบินไทยล้มละลาย  2.มีผลให้การบินไทยถูกพิทักษ์ทรัพย์ 3.การบินไทยต้องหยุดดำเนินกิจการทันที 4.เจ้าหน้าที่พิทักษ์ทรัพย์จะเข้ายึดทรัพย์ และขายทอดตลาดทันที 5.แปลว่า พนักงานทั้งหมดจะถูกลอยแพ 6.ผู้ถือหุ้นและเจ้าหนี้รายอื่น ๆ จะสูญเสียทรัพย์สินอย่างเป็นการถาวรไป 7.ผู้บริหาร รวมบอร์ด ต้องรับผิดทางอาญา

ดร.อุตตม สาวนายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

การบินไทย จะเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการในไม่ช้านี้ และส่ิงที่เขาจะต้องทำเป็นอันดับแรกคือ คณะกรรมการบอร์ดของบริษัท จะต้องไปเจรจากับเจ้าหนี้เพื่อขอผ่อนปรน หรือยืดระยะเวลาการชำระหนี้ออกไปเพื่อให้มีสภาพคล่องพอที่จะดำเนินกิจการในช่วงระหว่างนี้ต่อไปได้ เนื่องจากการบินไทยไม่มีรายได้เลย

สองคือ ตั้งผู้จัดทำแผนฟื้นฟูกิจการเพื่อนำเสนอต่อศาลล้มละลายกลาง ส่วนศาลท่านจะพิจารณาอย่างไร เราต้องรอ ผมคิดว่า บอร์ดการบินไทยน่าจะสามารถยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการ และผู้ทำแผนได้ภายในเดือน มิ.ย.นี้

ดร.อุตตม กล่าวถึงสถานภาพของการบินไทย หลังจากที่กระทรวงการคลังลดการถือครองหุ้นลง 3.17% จาก 51% เศษ ว่า การบินไทย จะมีฐานะเป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ จะเรียกว่า ปลดแอกจากการเป็นรัฐวิสาหกิจของกระทรวงการคลัง และกระทรวงคมนาคมก็ได้

แต่แม้ว่า การบินไทย จะปลดแอกออกจากความเป็นรัฐวิสาหกิจของรัฐแล้ว แต่ความเป็นผู้กำกับดูแลทั้งในส่วนของกระทรวงการคลังที่ต้องค้ำประกันเงินกู้ให้ หรือ การกำกับดูแลการบริหารงานด้านกิจการเดินอากาศของกระทรวงคมนาคมในการบินไทย ก็ยังคงมีสถานะไม่เปลี่ยนแปลงไป

  • ร่วมกับกระทรวงคมนาคมดันแผนฟื้นฟู
  • ยันไม่มีความขัดแย้งระหว่างสองกระทรวง

สถานภาพที่เปลี่ยนไปของการบินไทย ทำให้ ดร.อุตตม บอกว่า เขาจึงนัดกับ “คุณโอ๋” นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม ไปขอความเข้าใจในหลักการปฏิบัติเรื่องกฏหมายกับ ดร.วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เพื่อดูว่า กระทรวงการคลัง กับคมนาคม จะทำอะไรได้บ้างต่อจากนี้

“ผมคิดว่า เราต้องช่วยกันเป็นที่ปรึกษาให้การบริหารแผนฟื้นฟูกิจการนี้ประสบความสำเร็จ”

ส่วนที่มีผู้เข้าใจผิดว่า กระทรงการคลัง กับ กระทรวงคมนาคม เกิดความขัดแย้งกันนั้น ดร.อุตตม ชี้แจงว่า ไม่เป็นความจริง เขาทั้งสองคน และทั้งสองหน่วยงานไม่เคยมีความขัดแย้งกันเลย และที่ผ่านมา เรามักจะซักซ้อมความเข้าใจกันอยู่ตลอดเวลา

“ผมว่า เป็นเรื่องที่ดีที่ท่านนายกฯแต่งตั้งดร.วิษณุ ให้เป็นหัวหน้าทีมงานติดตามการบริหารแผนฟื้นฟูกิจการของการบินไทยภายใต้คำส่ังของศาลล้มละลายกลาง ในฐานะที่เราทั้งสองฝ่ายเคยเป็นผู้กำกับดูแล (Regulator)  ของการบินไทย เราจะทำหน้าที่เป็นตัวแทนรัฐบาลในการให้คำปรึกษาทุกด้าน ตั้งแต่เรื่องของระเบียบแบบแผน ไปจนถึง เรื่องของการสรรหาผู้มีความเหมาะสมจะทำหน้าที่บริหารแผน ซึ่งอาจจะเป็นกลุ่มบุคคล เป็นคณะผู้บริหารแผน หรือ กลุ่มเจ้าหนี้ ก็แล้วแต่ศาลท่านจะให้ความเห็นชอบ”

  • ยันไม่ทำตามสูตรเดิม ทีพีไอ กับเจ้าหนี้
  • ระบุหนี้การบินไทยสูงระยิบ 3 แสนล้าน

ดร.อุตตม กล่าวว่า เขาจะไม่เอากระทรวงการคลัง หรือแนะนำให้กระทรวงคมนาคมเข้าไปยุ่งกับการบริหารแผน หรือเจรจากับเจ้าหนี้ เหมือนกรณีที่เคยเกิดขึ้นระหว่าง บริษัท ทีพีไอ จำกัด(มหาชน) กับ บรรดาสถาบันการเงินเจ้าหนี้กว่า 144 ราย เพราะไม่อยากจะสร้างปัญหาแก่หน่วยงานราชการ หรือรัฐบาล

ในกรณีของการเสนอรายช่ือหรือแผนการต่างๆของผู้บริหารแผนฟ้ืนฟูกิจการ บางทีเราอาจไม่ทันได้คิดว่า เจ้าหนี้จะเอากับเราด้วยหรือไม่ เพราะเขาก็มีสิทธิที่จะยื่นคัดค้านได้เหมือนกัน

“อย่าลืมว่า การบินไทยมีหนี้มูลค่าสูงถึงกว่า 300,000 ล้านบาท ในจำนวนนี้ 150,000 ล้านบาทเป็นหนี้ของเจ้าหนี้ต่างประเทศ และก็เป็นหนี้ทั้งเช่าซื้อ หรือ ลีสซิ่ง ส่วนอีกครึ่งเป็นหนี้สถาบันการเงินในประเทศ แต่เจ้าหนี้รายใหญ่ๆ เราก็ให้การบินไทยพยายามเคลียร์ให้ได้ก่อน…

จากนี้ไป ผู้บริหารแผนฟื้นฟูจะเป็นผู้รับผิดชอบทั้งหมดว่าจะดำเนินการอย่างไร และจะร้องขอการดำเนินงานเพื่อการฟื้นฟูกิจการจากศาลล้มละลายกลางเอง และถ้าผู้บริหารแผนมีความประสงค์จะขอความร่วมมือใดๆจากกระ ทรวงการคลัง และกระทรวงคมนาคม ก็คงจะให้ความช่วยเหลือในฐานะที่เรามีส่วนได้ส่วนเสียอยู่”

รมว.กระทรวงการคลัง กล่าวว่า แต่จู่ๆจะให้กระทรวงทั้งสองให้ความช่วยเหลือเรื่องเงิน หรือ รับรองสถานะทางการบินคงเป็นไปไม่ได้ “กระทรวงการคลัง และกระทรวงคมนาคม คงจะเข้าไปอยู่ในคณะทำงานเพื่อติดตามการ พื้นฟูกิจการของการบินไทยภายใต้คำส่ังศาลของรองนายกฯวิษณุ เหมาะสมกว่า ซึ่งก็คาดว่าอาจจะใช้เวลาสักปี หรือสองปี กว่าจะแก้ไขปัญหาของการบินไทย”

  • จะหารือเรื่องบอร์ดการบินไทยถูกยุบหรือไม่
  • ย้ำความแข็งแกร่งของสหกรณ์ออมทรัพย์

ส่วนคณะกรรมการบอร์ดบริษัทการบินไทย จะถูกยุบไป หรือ ยังมีอำนาจอยู่ จะต้องหารือกันอีกครั้งกับ รองนายกฯวิษณุ เมื่อถูกถามถึงความคาดหวังจากการฟื้นฟูกิจการของการบินไทยภายใต้คำส่ังศาลล้มละลายกลาง ดร.อุต ตม ตอบว่า ขอรอดูแผนที่การบินไทย หรือ ผู้บริหารแผนทำมาก่อนว่า จะออกมาสอดรับกับความต้องการบริหารกิจการต่อไป สอดรับกับสภาอุตสาหกรรม สภาหอการค้า และธุรกิจการท่องเที่ยวมากน้อยเพียงใด
โดยเฉพาะแผนการฟื้นฟูกิจการ และการหารายได้หลังการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้ยุติลงเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

“ส่ิงที่จะต้องพิจารณาอีกก็คือ หลังจากที่ศาลรับคำร้องขอฟื้นฟูกิจการแล้ว บรรดาเจ้าหนี้ทั้งหลายจะไม่สามา รถร้องขอให้มีการชำระหนี้ใดๆ หรือ ให้ผลตอบแทนใดๆได้อีก เพราะหนี้จะถูกพักชำระหมดในระหว่างการพิจารณา  เพื่อฟื้นฟูกิจการ อย่างไรก็ตาม ระหว่างการจัดทำแผน อาจมีการขออำนาจศาลส่ังขายกิจการ หรือชำระหนี้ในลักษณะแปลงหนี้เป็นทุน ฯลฯ ได้”

ส่วนกรณีมีเรื่องของสหกรณ์ขององค์กรใหญ่ๆทั้งหลายไปซื้อตราสารหนี้หรือกองทุนของการบินไทยรวมจำ นวนกว่า 42,000 ล้านบาท ดร.อุตตม กล่าวว่า เท่าที่ได้มีการหารือกัน สหกรณ์ต่างๆล้วนแต่มีความน่าเช่ือถือ และมีฐานะที่แข็งแกร่งมากพอที่จะดูแลเงินของสมาชิกสหรกรณ์ของเขา และถ้ามีความเช่ือมั่น ไม่มีการไปแห่ถอนเงินกันออกไป ความเข้มแข็งของสหกรณ์ก็ยังมีอยู่ โดยไม่ต้องเป็นห่วง

ดร.อุตตม กล่าวด้วยว่า เขาเช่ือว่า ที่สุดการค่อยๆพิจารณาดูรายละเอียดโครงสร้างของบริษัทการบินไทยแล้ว ก็จะพบว่ายังมีโอกาสของการทำรายได้ต่อไปได้ หรือ อาจแยกกิจการที่ทำรายได้ได้ดีออกมาเป็น หน่วยธุรกิจทำเงิน หรือ BU ในแต่ละหน่วยได้

อยากย้ำให้ทราบอีกครั้งว่า ทั้งกระทรวงการคลัง และกระทรวงคมนาคม ต่างก็อยากให้การบินไทยเดินหน้าต่อไปได้ และเราต่างก็มีเป้าหมายเดียวกันคือ ฟื้นการบินไทยกลับมาเป็นสายการบินแห่งชาติเหมือนๆกัน