รฟม.ไม่สนแล้วจ่อฟ้อง“บีทีเอส”ปมรถไฟฟ้าสายสีส้ม-หลังถูกพาดพิง โครงการไม่ถูกต้อง

รถไฟฟ้าสายสีส้ม คมนาคม รถไฟฟ้า ประมูล
คมนาคมพร้อมเดินหน้าประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้มต่อ

รฟม  เปิดซองเทคนิค โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี คาดทราบผลภายใน 2 สัปดาห์  พร้อม เล็งดำเนินการด้านกฎหมายกับผู้บริหาร บีทีเอส  หลังพูดพาดพิงโครงการไม่ดำเนินการถูกต้องและเป็นธรรม

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในวันนี้ (1ส.ค.)การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย  หรือ รฟม. และคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) และตัวแทนภาคเอกชนผู้ยื่นข้อเสนอ ประกอบด้วย บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และ ITD Group พร้อมทั้งผู้สังเกตการณ์ตามข้อตกลงคุณธรรม ได้ร่วมในการเปิดซองข้อเสนอการร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ซองที่ 1 ข้อเสนอด้านคุณสมบัติ แล้ว

โดยนายนายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ  ผู้ว่าการ รฟม.กล่าวว่า รฟม. และคณะกรรมการคัดเลือกฯ จะพิจารณาข้อเสนอและดำเนินการตามขั้นตอนในพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 โดยเคร่งครัด   ซึ่งในส่วนของการพิจารณารายละเอียดคุณสมบัติของ 2 บริษัทนี้ คาดว่าจะทราบผลประกาศได้ภายใน 2 สัปดาห์ข้างหน้าทั้งนี้ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) มีแนวเส้นทางเชื่อมระหว่างกรุงเทพมหานครทิศตะวันออกและทิศตะวันตก ระยะทาง 35.9 กิโลเมตร แบ่งเป็นส่วนตะวันออก (ช่วงศูนย์วัฒนธรรม แห่งประเทศไทย – มีนบุรี (สุวินทวงศ์)) ระยะทาง 22.5 กิโลเมตร จำนวน 17 สถานี 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า  กระบวนการยื่นซองละเปิดซองโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงตะวันตกนี้  ดำเนินการเป็นครั้งที่สองหลังจากก่อนหน้านี้  มีการยกเลิกการประกาศเชิญชวนครั้งแรก  เนื่องจากเกิดข้อพิพาททางข้อกฎหมาย   กรณีบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (BTSC) จำกัด(มหาชน) ได้ยื่นฟ้องร้องต่อศาลปกครอง ศาลอาญา และ กรมสอบสวนคดีพิเศษ  (DSI ) ระบุว่าการยกเลิกการประกาศเชิญชวนครั้งแรก ของ คณะกรรมการมาตรา 36 และ รฟม. ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า ประเด็นข้อขัดแย้งนี้ หลังจาก สัปดาห์ที่ผ่านมา นายคีรี กาญจนพาสน์ ประธานกรรมการและประธานกรรมการบริหาร บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC ออกมาให้สัมภาษณ์ระบุว่า บีทีเอส พร้อมประมูลสายสีส้มอีกครั้ง แต่ต้องอยู่บนเงื่อนไขความถูกต้อง เป็นธรรม และให้ผลประโยชน์ของประเทศชาติสูงสุด เรื่องดังกล่าว ฝายบริหาร ของ รฟม . กำลังพิจารณาปรึกษาฝ่ายกฎหมายว่าต้องมีการดำเนินการอย่างไร เนื่องจากกรณีที่บีทีเอส ไม่ร่วมประมูล และระบุว่า จะร่วมประมูลเมื่อการประมูลดำเนินการอย่างถูกต้อง และเป็นธรรมนั้น การพูดลักษณะดังกล่าวอาจเข้าข่ายทำให้โครงการเกิดความเสียหาย เพราะที่ผ่านมาการจัดทำร่างทีโออาร์โดยคณะกรรมการมาตรา 36 โดยมีคณะกรรมการข้อตกลงคุณธรรมฯ ร่วมพิจารณา ก็มีผู้ทรงคุณวุฒิจากหลายภาคส่วนเข้าร่วม ซึ่งอาจจะรับความเสียหายจากข้อกล่าวหาที่ไม่เป็นธรรมจากการพูดในลักษณะดังกล่าวไปด้วย