มาม่า เตรียมลงทุน 2,000 ล้าน ผุดโรงงานแห่งใหม่พร้อมผลิตได้ภายใน 3 ปี เผยหลังขี้นราคาปีที่ผ่านมา ช่วยดันกำไรพุ่งถึง 3,500 ล้าน

มาม่าเตรียมลงทุนสร้างงานใหม่มูลค่า 2,000 ล้านบาท เพิ่มกำลังผลิตจากโรงงานเดิม 5 แห่งเริ่มเต็ม ระบุในฐานผู้ประกอบการรายใหญ่สนับสนุนรัฐออกมาตรการกรตุ้นเศรษฐกิจ แต่รัฐต้องบาลานซ์ให้กับรายย่อยที่ได้รับผลกระทบด้วย พร่อมธุรกิจในประเทศเริ่มมีกำไรมากขึ้นหลังรัฐไฟเขียวให้ขึ้นราคาได้เมื่อปีที่ผ่านมา

นายพันธ์ พะเนียงเวทย์  ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) หรือ TFMAMA เปิดเผยว่า มาม่าเตรียมแผนการลงทุนอีกประมาณ 2,000 ล้านบาทเพื่อสร้างโรงงานผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จใหม่ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการเลือกทำเลอยู่ที่ในเขตอีอีซีใกล้กับโรงงานเดิมที่จ.ชลบุรีหรือจ.ระยอง แต่หากราคาที่ดินแพงเกินไปจะพิจารณาไปที่เขตพื้นที่เศรษฐกิจที่รัฐาลให้สิทธิพิเศษอาจเป็นบริเวณภาคอีสานแถบลุ่มน้ำโขง โดยคาดว่าจะสรุปผลภายในปีหน้าและเริ่มก่อสร้างให้แล้วเสร็จเพื่อดำเนินการผลิตภายใน 3 ปี 

ทั้งนี้การลงทุน เนื่องจากโรงงานผลิตเดิมจำนวน 5 แห่งในประเทศเริ่มเต็มกำลังการผลิตเหลือเพียงโรงงานที่จ.ระยองเท่านั้นที่สามารถขยายเพิ่มได้อีกเพียงสายการผลิตเดียวโดยในปีหน้าจะลงทุนในส่วนนี้เพิ่มอีก 200 ล้านบาท ดังนั้นต้องเตรียมการในอนาคต  โรงงานแห่งใหม่จะเพิ่มกำลังการผลิตเป็น 30%  จากวันละ 4.5 แสนซองเป็นวันละ 6 แสนซองและจะรองรับความต้องการได้อีกประมารณ 10 ปี

นายพันธ์กล่าวถึงนโยบายการตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลว่า ในฐานผู้ประกอบการรายใหญ่ต้องให้การสนับสนุนรัฐบาลไม่ใช่เพียงรัฐบาลนี้เท่านั้น แต่เป็นทุกรัฐบาล  อาทิเช่นค่าแรงงานเป็นต้นทุนการผลิตเพียง 10% หากรัฐให้ขึ้น 10%  จะกระทบต้นทุนการผลิตเพียงแค่ 1% ซึ่งต้องไปบริหารการผลิตให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น  อีกทั้งการขึ้นค่าแรงเป็นการเพิ่มกำลังซื้อเพิ่มคุณภาพชีวิตให้คนไทย ต้องให้การสนับสนุน แต่ในส่วนของผู้ประกอบการรายเล็กและเอสเอ็มอีอาจจะได้รับผลกระทบในส่วนนี้ รัฐบาลจะต้องมาดูแลตรงนี้ด้วย ต้องบาลานซ์ให้ดี

สำหรับนโยบายดิจิทัล วอลเลตของรัฐบาลนั้นการเห็นด้วยหรือไม่เห็นไม่ไช่ประเด็น แต่รัฐจะทำอย่างไรให้ประชาชนมีกำลังซื้อดีขึ้น และทำอย่างไรให้มาตรการของรัฐให้ใช้ง่ายๆ ไม่จำกัดเพียงแค่ระยะสั้นๆ ซึ่งธุรกิจที่ได้รับผลดีหนีไม่พ้นธุรกิจที่เกี่ยวข่้องกับการบริโภคพื้นฐานและยอมรับว่ามาม่าได้รับอานิสงฆ์ด้วย

สำหรับยอดขายของบริษัทในปีนี้ประมาณการ 15,568.52 ล้านบาท  แบ่งเป็นในประเทศ 11,306.49 ล้านบาท  ต่างประเทศ 4,262.03 ล้านบาท  เติบโตที่ 4% แต่กำไรเพิ่มขึ้น 8-9% หรือมีกำไรประมาณ 3,500 ล้านบาท จากผลพวงของการที่รัฐไฟเขียวขึ้นราคามาม่าขึ้นซองละ 1 บาทเมื่อเดือนส.ค.ปีที่ผ่านมา สัดส้วนตลาดในประเทศ 70% ต่างประเทศ 30% และจะเพิ่มสัดส่วนเป็น 40-50% และมียอดขายรวม 30,000 ล้านบาทในอนาคต

“ปีที่แล้าเราได้รับผลกระทบจากวัตถุดิบขึ้นราคาไปมากจนต้องขอขึ้น และถูกหลายฝ่ายตำนิมาว่าผลประกอบการยังมีกำไร 1,100 ล้านบาท ซึ่งจริงๆ มาจากการลงุนธุรกิจและการส่งออกไปต่างประเทศ” นายพันธ์กล่าวและว่าสำหรับตลาดต่างประเทศจะต้องเพิ่มสัดส่วนเป็น 40-50% โดยจะกลับไปมทำตลาดในจีนหลังจากปิดโรงงานในปี 2541 เนื่องจากปัจจันพฤติกรรมชาวจีนหันมาชอบสินค้าไทย ชอบดาราไทย สินค้าไทยเป็นสินตค้่าพรีเมียม จะไปตลาดด้วยกลยุทธ์ใหม่ๆ ผ่านอีนฟลูเอนเซอร์ หากเข้าตลาดจีนได้เพียงแค่ 1% ยอดขายก็สูงกว่าไทยทั้งปรเะเทศ รวมทั้งตลาดเวียดนามที่ปิดโรงงานไปปี 42 จะกลับไปลงืุนอกครั้ง ขณะที่ตลาดอาฟริกา ได้เข้าไปเริ่มในประเทศเคนย่าด้วยการปรับปรุงโรงงานผลิตให้พันธมิตรใหม่มีความทันสมัยก่อนที่จะลงทุนเพิ่มเติมในอนาคต”  

ปัจจุบันโรงงานผลิต “มาม่า” มีจำนวนทั้งหมด 8 แห่ง แบ่งเป็นในประเทศ 5 แห่ง โดย 3 แห่ง เป็นโรงงานผลิตเส้นบะหมี่ ได้แก่ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี 1 แห่ง จังหวัดลำพูน 1 แห่ง และจังหวัดระยอง 1 แห่ง และโรงงานผลิตเส้นขาวจังหวัดราชบุรีจำนวน 2 แห่ง และโรงงานผลิตในต่างประเทศ     อีก 4 แห่ง ได้แก่ เมียนมาร์ กัมพูชา บังคลาเทศ และฮังการี 

จากการผลิต “มาม่า” ที่มีหลากหลายรสชาติ และมีรูปแบบที่หลากหลายและการขยายตลาดที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้ปัจจุบันบริษัท ฯ ได้ขยายกำลังการผลิตเพิ่มในโรงงานหลายแห่ง โดยมีการปรับปรุงเครื่องจักรเดิม รวมถึงการเปลี่ยนเครื่องจักรใหม่ที่ให้ประสิทธิภาพและความเร็วในการผลิตเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ บริษัทฯ   มีแผนที่จะก่อสร้างโรงงานผลิตแห่งใหม่ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อรองรับการทำตลาดที่มากขึ้นในอนาคต

นอกจากการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศแล้ว บริษัทฯ มีการส่งออกผลิตภัณฑ์ “มาม่า” ไปแล้ว 68 ประเทศทั่วโลก เนื่องจากตลาดต่างประเทศมีขนาดใหญ่กว่าในประเทศจึงมีโอกาสในการทำตลาดเพิ่มมากขึ้น โดยตลาดที่น่าสนใจได้แก่ จีน เนื่องจากปัจจุบันเทรนด์ผู้บริโภคจีนนิยมอาหารไทยมักจะซื้อเป็นของฝากมากขึ้น และตลาดที่จะขยายเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยุโรปและอเมริกา ส่วนตลาดใหม่ที่น่าจับตามอง ได้แก่ อินเดียและแอฟริกา

สำหรับทิศทางการทำธุรกิจในอนาคต บริษัท ฯ จะมุ่งต่อยอดสู่ Future food โดยจะมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ออกมาอย่างต่อเนื่อง ตามความต้องการของตลาดและไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปและไม่หยุดนิ่ง

อย่างไรก็ดี บริษัท ฯ ยังมีแผนการสร้างการรับรู้ให้ผู้บริโภคได้เห็นมาม่าในรูปแบบต่าง ๆ โดยเฉพาะในกลุ่มคนรุ่นใหม่ เช่น Mama Station หรือ ร้านอาหารมาม่าในห้างสรรพสินค้า รวมไปถึงร้านอาหารไทยในต่างประเทศ ซึ่งจะได้เห็นมากขึ้นตั้งแต่ปี 2567 เป็นต้นไป