“บิ๊กตู่” โปรยยาหอม 16 ซีอีโอบริษัทชั้นนำของไทยและต่างประเทศ

  • ดึงลงทุนในพื้นที่อีอีซี
  • ยืนยันรัฐพร้อมยกระดับโลจิสติกส์
  • รถ ราง เรือ อากาศ ครบวงจร

นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดว่าเผย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ได้เป็นประธานการประชุมแนวทางการส่งเสริมการลงทุนในเขตพัฒนาพิเศาภาคตะวันออก(อีอีซี)ในยุค New Normal กับผู้บริหารระดับสูง (ซีอีโอ) จาก 16บริษัทชั้นนำของไทยและต่างประเทศ ที่สำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบัง โดยเชิญชวนนักลงทุนทั้งไทยและต่างชาติ ทั้งการลงทุนในไทยทั้งระยะสั้นและระยะยาว พร้อมให้ความมั่นใจว่ารัฐบาลเตรียมความพร้อมทั้งด้านโลจิสติกส์ ระบบรถไฟความเร็วสูง สาธารณูปโภค แหล่งน้ำเพื่อการบริโภคและอุตสาหกรรม รวมทั้งแรงงานฝีมือทั้งในและนอกระบบเพื่อตอบสนองการลงทุนของภาคเอกชน

ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีระบุว่า โครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ต่าง ๆ ในอีอีซี ทั้งโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน โครงการเมืองการบินอู่ตะเภา โครงการขยายท่าเรือแหลมฉบังและมาบตาพุด รวมทั้งโครงการพัฒนาเขตนวัตกรรม (EECi) ที่จังหวัดระยอง ได้ผู้ชนะการประมูลครบถ้วนแล้ว จึงเชิญชวนให้เอกชนแสวงหาโอกาส หรือเพิ่มการลงทุนที่ก่อให้เกิดธุรกิจใหม่ ๆ ตามมาอีกมากมาย เช่น การพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล ผลิตภัณฑ์สมาร์ทอิเล็กทรอนิกส์ หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ไปจนถึงอุตสาหกรรมด้านการแพทย์ เกษตรและอาหาร ซึ่งรัฐบาลพร้อมนำข้อเสนอแนะจากภาคเอกชนทั้งการส่งเสริมนวัตกรรม จะเร่งรัดดำเนินการเพื่ออำนวยความสะดวกในการลงทุนและประกอบธุรกิจในไทย มั่นใจว่ารัฐบาลและนักลงทุนจะร่วมกันขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้มีความเข้มแข็งต่อไป

นอกจากนี้ นายกฯย้ำว่ารัฐบาลก็ไม่เคยหยุดคิด ยังคงมุ่งทำงานเพื่อวางรากฐานประเทศให้ขับเคลื่อนต่อไป ยืนยันว่ารัฐบาลจะทำงานอย่างเต็มที่ในการส่งเสริมการลงทุนของนักลงทุนทั้งไทยและต่างประเทศ ด้วยความโปร่งใส เป็นธรรม ทุกการลงทุนในทุกพื้นที่ทั้งอีอีซีและระเบียงเศรษฐกิจพิเศษอื่นๆที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งไทยนำหลักการด้านสิทธิมนุษยชนมาใช้ในภาคธุรกิจเป็นประเทศแรกในภูมิภาคด้วย

นอกจากนี้ นายกฯย้ำว่ารัฐบาลก็ไม่เคยหยุดคิด ยังคงมุ่งทำงานเพื่อวางรากฐานประเทศให้ขับเคลื่อนต่อไป ยืนยันว่ารัฐบาลจะทำงานอย่างเต็มที่ในการส่งเสริมการลงทุนของนักลงทุนทั้งไทยและต่างประเทศ ด้วยความโปร่งใส เป็นธรรม ทุกการลงทุนในทุกพื้นที่ทั้งอีอีซีและระเบียงเศรษฐกิจพิเศษอื่นๆที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งไทยนำหลักการด้านสิทธิมนุษยชนมาใช้ในภาคธุรกิจเป็นประเทศแรกในภูมิภาคด้วย

ทั้งนี้ โครงการอีอีซี ได้เริ่มมาตั้งแต่ปี 2560 เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษที่ตอบโจทย์การลงทุนของอุตสาหกรรมเป้าหมายแห่งอนาคต แม้ช่วงวิกฤติโควิด-19 การลงทุนในอีอีซียังอยู่ในระดับสูง โดยช่วง 8 เดือนที่ผ่านมา มีคำขอรับการส่งเสริมการลงทุนในอีอีซี 277 โครงการ และมีมูลค่าเงินลงทุนกว่า 85,000 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 54% ของคำขอรับการส่งเสริมการลงทุนทั้งประเทศ