ททท. ยึด TTM+2023 ประกาศความสำเร็จ 5 กิจกรรมปี’66 โชว์โมเดลพื้นที่เที่ยวคุณภาพ “ทัวร์หรู-เที่ยวสุขภาพ”

  • ททท.ยึดเวที TTM+2023 สื่อสารถึงทั่วโลกครึ่งแรกปี’66 ลุยทำ 5 กิจกรรมใหญ่ “China is Back/ดึงจีนเที่ยวไทย-7 Digital Target/รุกตลาดทัวร์เกิน 1 ล้านคน
  • Color your life by Amazing Thailand/ชูซอฟท์เพาเวอร์จัดคอนซูเมอร์แฟร์-Responsible Tourism/เที่ยวอย่างรับผิดชอบ-Second Tier
  • second to none/บุกขายเมืองรอง โหมโปรโมตพื้นที่ต้นแบบทัวร์คุณภาพ 2 เส้นทางแหล่งเที่ยวหรูเที่ยวเชิงสุขภาพปลอดภัย

นายฉัททันต์ กุญชร  อยุธยา รองผู้ว่าการด้านสื่อสารการตลาด การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เปิดเผยว่าทททได้เดินหน้าขับเคลื่อนแผนการส่งเสริมตลาดอย่างเต็มกำลัง เพื่อผลักดันสู่เป้าหมายรายได้จากการท่องเที่ยวรวม2.38 ล้านล้านบาท ระหว่างการจัดงาน Thailand Travel Mart Plus 2023 (TTM+ 2023) ซึ่งเริ่มเปิดวันแรกเมื่อ31 พฤษภาคม 2566  ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ มีผู้ประกอบการธุรกิจการท่องเที่ยว และสื่อมวลชน ทั้งไทยและต่างชาติที่เข้าร่วม ได้เปิดเวทีสื่อสารตลาดซึ่งพร้อมจะขับเคลื่อนอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยเน้นปลุกกระแสการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (Sustainable Tourism Goals: STGs)

ช่วงครึ่งแรกปี 2566 นักท่องเที่ยวตลาดต่างประเทศ ระยะใกล้ด้วยโครงการ Great Resumption Episode II ส่งเสริมตลาดหลัก 5 กิจกรรมไฮไลต์ คือ

กิจกรรมที่ 1 China is back รุกเจาะกลุ่มตลาดใหม่ในสาธารณรัฐประชาชนจีน พร้อมเพิ่มเที่ยวบินเพื่อรองรับความต้องการเดินทางของนักท่องเที่ยวตลาดดังกล่าว

กิจกรรมที่ 2 ส่งเสริมการเดินทางทางบก 7-Digit Target เน้นกลุ่มตลาดศักยภาพในประเทศที่นักท่องเที่ยวเกิน 1 ล้านคน

กิจกรรมที่ 3 Color your life by Amazing Thailand มุ่งลงทุนจัดงานคอนซูเมอร์ แฟร์ นำซอฟท์ เพาเวอร์ไทยเข้าไปอยู่ในใจของนักท่องเที่ยวต่างชาติ

กิจกรรมที่ 4 Responsible Tourism เร่งส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบ

กิจกรรมที่ 5 Second Tier, second to none บุกตลาดกลุ่มเมืองรองแถบประเทศระยะใกล้ ส่วนระยะไกล เน้นการเพิ่มความถี่และที่นั่งสายการบินสู่เมืองหลักและเมืองรองในไทย โดยร่วมทำงานกับพันธมิตร เพื่อเจาะกลุ่มตลาดใหม่ในเมืองหลักเชื่อมโยงสู่เมืองรองในไทย และส่งเสริมไทยเป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวแบบเที่ยวได้ตลอดทั้งปี(all-year round)

ขณะเดียวกัน ทททยังมุ่งนำเสนอการท่องเที่ยวเชิงคุณภาพเป็นต้นแบบอีก 2 เส้นทาง ประกอบด้วย

เส้นทางที่ 1 ประสบการณ์ท่องเที่ยวแบบหรูหรา (Luxury Experience) ในพื้นที่ท่องเที่ยวยอดนิยม 3 จังหวัด คือกรุงเทพฯ พังงา และภูเก็ต โดยได้นำเสนอสินค้าและบริการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เช่น แหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในเชียงใหม่ รองรับตลาดกลุ่มครอบครัว และเกาะสมุยรุกตลาดท่องเที่ยวเพื่อการพักผ่อนที่เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน

เส้นทางที่ 2 ประสบการณ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน คือ การท่องเที่ยวชุมชนด้วยจักรยานที่คุ้งบางกระเจ้า.สมุทรปราการ การท่องเที่ยวแบบผจญภัยที่อุ้มผาง .ตาก การท่องเที่ยวสโลว์ไลฟ์ที่ทำให้เกิดคาร์บอนต่ำ ที่เกาะหมาก .ตราด และ Little Amazon คลองสังเน่ห์ .พังงา

ผนวกกับ ทททเดินหน้ายกระดับห่วงโซ่อุปทาน Shape Supply ปลุกจิตสำนึกด้านพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน(Sustainable Tourism Goals: STGs) ซึ่งต่อยอดจาก 17 เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals) ขององค์การสหประชาชาติ โดยสร้างมาตรฐานความยั่งยืน Sustainable Tourism Accelerating Rating (STAR) ให้ผู้ประกอบการนำไปใช้พัฒนาสินค้าและบริการทางการท่องเที่ยวที่มีมาตรฐานในการให้บริการอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

เรื่อยไปจนถึงวางกลยุทธ์เพิ่มประเภทรางวัล ‘ Low Carbon & Sustainability’ ในรางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยครั้งที่ 14 การพัฒนาทักษะผู้ประกอบการและบุคลากรด้านการท่องเที่ยว และนำแพลตฟอร์มออนไลน์มาช่วยการบริหารจัดการการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวอย่างเป็นรูปธรรม

สำหรับสถิตินักท่องเที่ยว5เดือนแรกตั้งแต่1มกราคม-27พฤษภาคม2566มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาเที่ยวเมืองไทยแล้ว10,378,457คนสร้างรายได้กว่า428,000ล้านบาทโดยมีสถิติเดินทางเข้ามามากที่สุด5อันดับแรกได้แก่อันดับ1มาเลเซีย1,606,373คนอันดับ2สาธารณรัฐประชาชนจีน1,098,604คนอันดับ3รัสเซีย 734,995คนอันดับ4เกาหลีใต้627,760คนอันดับ5อินเดีย583,319คน

ททท.เชื่อมั่นการท่องเที่ยวปี 2566 จะสามารถนำรายได้กลับมาได้ไม่น้อยกว่า 80 % ของรายได้ก่อนสถานการณ์โควิด-19 ปี 2562 แบ่งเป็น ตลาดต่างประเทศ 1.5 ล้านล้านบาท และในประเทศอีก 880,000 ล้านบาท

เรื่องโดย…#เพ็ญรุ่ง ใยสามเสน#gurutourza, www.facebook.com/penroongyaisamsaen