ต้องมีเงินเท่าไร ถึงจะอยู่ได้ในวัยเกษียณ

เศรษฐกิจคิดง่ายๆ ชวนมาคิดเรื่องง่ายๆ (ที่ไม่ง่าย) รับวัยเกษียณ กับคำถามที่หลายคนอยากรู้ ว่า จะต้องมีเงินเก็บมากเท่าไร ถึงจะอยู่ได้สบายๆ ในวััยเกษียณ
จริงๆ แล้ว คำตอบไม่ยาก จะต้องมี “เงินเก็บ” มากเท่าไรนั้น ขึ้นกับไลฟ์สไตล์ของแต่ละคนที่จะเลือกในการดำรงชีวิตต่อไปหลังเราหยุดทำงานแล้ว
ดังนั้น ก่อนที่จะไปถึง “จำนวนเงิน” ว่า ต้องหาเงินไว้สำหรับเก็บออมเท่าไร ดเราลองมาตอบคำถามง่ายๆ เหล่านี้กันก่อน
1.หลังจากเกษียฯอายุในการทำงานแล้ว เรายังจะมีงานพิเศษ เพื่อการายได้เล็กๆ น้อยๆ หรือมีรายได้อื่นๆ เช่น รายได้จากให้เช่าที่ รายได้จากการลงทุนทำธุรกิจ หรือรายได้ที่ลูกหลานให้รายเดือน อยู่หรือไม่
2.เกษียณแล้วจะใช้ชีวิตอยู่ที่ไหน ในกรุงเทพ หรือต่่างจังหวัด ซึ่งส่วนนี้จะแยกแยะ “ค่าครองชีพ” ของคุณในวัยเกษียณว่าสูงหรือต่ำมากหรือน้อยแค่ไหน
3.ไลฟ์สไตล์ในการใช้ชีวิตหลังเกษียณเป็นอย่างไร ถ้าอยู่แบบธรรมดาๆ มีไปท่องเที่ยวบ้างสักปีละครั้ง เงินที่ต้องเก็บจะอยู่ในจำนวนหนึ่ง แต่ถ้าต้องการแบบกินหรูอยู่สบาย ท่องเที่ยวเป็นอาชีพใหม่ทุกสัปดาห์ อย่างนี้เงินที่เก็บไว้จะต้องมีจำนวนมากขึ้น
4.ข้อสุดท้าย คุณคาดว่า จะใช้เวลาในช่วงวัยเกษียณนานเท่าไร
เมื่อตอบคำถามคร่าวๆ ทั้งหมดนี้แล้ว ลองคิดต่อว่า จากข้อที่ 1 ข้อ 2 และข้อ 3 และข้อ 4 แล้ว สามารถคำนวณค่าใช้จ่ายหลังเกษียณแต่ละเดือนของคุณไว้มากหรือน้อยแค่ไหน
เพราะจำนวน “เงินเก็บหลังเกษียณ” เราสามารถคิดได้ง่ายๆ จากคำตอบของคำถามด้านบน คือ จำนวนเงินรายเดือนที่คุณคิดว่า “เพียงพอ” ต่อการดำรงชีวิตรายเดือน คูณกับ จำนวนเดือนที่คุณตั้งเป้าจะใช้ชีวิตอยู่ต่อไปในวัยเกษียณ
เช่น ถ้าคุณต้องการใช้ชีวิตแบบธรรมดาๆ คิดง่ายๆว่า ใช้จ่ายวันละ 700 บาทต่อเดือน หรือประมาณ 21,000 บาทต่อเดือน หรือ 252,000 บาท บวกค่าท่องเที่ยวรายปีประมาณ 30,000 บาท เท่ากับ 1 ปีจะต้องมีเงินไว้ใช้จ่าย 282,000 บาทต่อปี หากต้องการใช้ชีวิตอยู่ประมาณ 20 ปีจนถึงอายุ 80 ปี
จะต้องมีเงินเก็บ 564,000 บาท คิดเป็นตัวเลขกลมๆ ประมาณ 6 ล้านบาท
แต่ หากคุณต้องการชีวิตที่อยู่สบายมากขึ้น มีสังคมมากขึ้น กินอาหารนอกบ้านมากขึ้น ท่องเที่ยวบ่อยขึ้น วันละ 700 บาทคงไม่เพียงพอ “เงินเก็บหลังเกษียณ” ของคุณ จะเปลี่ยนแปลงไปตามไลฟ์สไตล์ที่คุณเลือก เช่น หากคิดว่ามีภาระใช้จ่ายประมาณ 1,500 บาทต่อวัน 30 วันอยู่ที่ 45,000 บาท 1 ปีมีค่าใช้จ่าย 540,000 บาท
หากอยู่ต่อเท่ากันอีก 20 ปี จะต้องมีเงินเก็บทั้งหมด 10.8 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม เงินที่คำนวณไว้ข้างต้นนี้ ยังไม่รวมเงินที่จะต้องกันไว้สำหรับค่ารักษาพยาบาลของคุณด้วย ซึ่งเงินส่วนนี้ขึ้นอยู่กับ การดูแลรักษาสุขภาพ การตรวจสุขภาพประจำปี และความเจ็บป่วยของคุณว่ามากหรือน้อยแค่ไหน แต่เงินส่วนนี้ถือว่าเป็นเงินเก็บอีกส่วนที่มีความจำเป็นมากๆ เพราะไม่มี “คนสูงวัย” คนไหนที่ไม่เคยเจ็บป่วย จะมากหรือน้อยก็ต้องเกิดขึ้นตามธรรมชาติอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
และหลังจากที่ “ตอบคำถาม”ที่อยากรู้กันแล้วว่า หลังเกษียณต้องมีเงินเก็บเท่าไรแล้ว อยากจะถามคำถามคืนให้ลองหาคำตอบกันว่า ณ วันนี้คุณอายุเท่าไร และมีเงินเก็บเท่าไร และต้องเก็บอีกมากหรือน้อยเท่าไร เพื่อให้เพียงพอที่จะใช้ชีวิตแบบสบายๆ หลังเกษียณ
เพราะหากพิจารณางานวิจัยเกี่ยวกับ “เงินออม”ของประเทศไทยแล้ว พบว่า จากผู้มีบัญชีเงินฝากทั้งหมด 37.9 ล้านคน 32% หรือประมาณ 12.2 ล้านคน มีเงินติดบัญชีอยู่ไม่ถึง 500 บาท และกว่า 58% หรือเกือบ 22 ล้านคน มีเงินในบัญชีไม่เพียงพอต่อค่าครองชีพรายเดือน หรือมีเงินในบัญชีต่ำกว่า 6,500 บาทในรอบ 1 เดือน
โดยจำนวนบัญชี 88 % ของบัญชีทั้งหมดของประเทศเป็นเงินฝากออมทรัพย์ และคนมากกว่าครึ่งประเทศมีบัญชีเงินฝากออมทรัพย์เพียงบัญชีเดียว
แสดงให้เห็นว่า จำนวนคนที่มีการออมเงิน และจำนวนเงินออม สำหรับวัยเกษียณของคนไทย หากคิดเป็นเปอร์เซนต์ต่อจำนวนแรงงานแล้ว ยังอยู่ในระดับที่ต่ำมาก
จึงไม่แปลกหากพบว่า จำนวนคนไทยที่มีเงินออมเพียงพอที่จะอยู่ในวัยเกษียณมีจำนวนน้อยมากประมาณ 20% ของวัยแรงงานทั้งหมด
แต่อย่างไรก็ตาม หากจะรอให้รัฐบาล นายจ้าง หรือใครคนอื่นแก้ปัญหาให้อาจจะใช้เวลายาวนานกว่าจะเกิดขึ้น ลองปรับปรุงรายรับรายจ่ายของตัวเองใหม่ และเก็บเงินไว้ใช้จ่ายในวัยเกษียณ