ดันยางไทย ก้าวไกล..สู่ตลาดโลก กำหนดมาตรฐานเพิ่มอีก 10 ชนิด

  • ปี 2563 ประกาศเพิ่มมาตรฐานผลิตภัณฑ์ยางไทย 
  • แผ่นยางปูพื้นสำหรับผู้พิการทางสายตา-ยางรัดเอวพยุงหลัง 
  • สกัดสินค้าท่ีไมีมีมอก.ทะลักเข้ามาจำหน่ายในประเทศเพิ่มขึ้น  

                   นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.อุตสาหกรรม เปิดเผยว่า สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม  (สมอ.) ได้ เตรียมกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม(มอก.) ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากยางพารา เพิ่มขึ้นในปี 2563  อีกจำนวน 10 มาตรฐาน เช่น แผ่นยางปูทางผ่านเสมอระดับรถไฟ แผ่นยางปูพื้นสำหรับผู้พิการทางสายตา และยางรัดเอวพยุงหลังเนื่องจากเป็นสินค้าที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายมากขึ้น  ซ่ึงขณะนี้เร่ิมมีสินค้าดังกล่าวถูกนำเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยเพ่ิมขึ้นต่อเนื่อง แต่อาจยังไม่ได้มอก. และยังเป็นการสร้างมาตรฐาน ให้กับผู้ผลิตในประเทศ ในการผลิตสินค้าให้ได้มอก.และสร้างมูลค่าเพิ่ม ให้แก่ยางพาราธรรมชาติ ของไทย จากที่ผ่านมาสมอ.ได้กำหนดมอก.ผลิตภัณฑ์ท่ีผลิตจากยางพาราไปแล้ว168 มาตรฐานแล้ว เช่นแผ่นยางกันซึม ,ท่อยาง ,ท่อยางพร้อมอุปกรณ์ประกอบสำหรับก๊าซหุงต้ม , ถุงมือสำหรับการตรวจวินิจฉัยทางการแพทย ์ชนิดใช้ครั้งเดียวท้ิง

               นายสุริยะ กล่าวว่า เมื่อเดือนก.ย.ที่ผ่านมา สมอ.ได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะทำงาน ด้านผลิตภัณฑ์ยางภายใต้คณะกรรมการ ที่ปรึกษาด้านมาตรฐานและคุณภาพของอาเซียน (เอซีซีเอสคิว) ครั้งที่29 และการประชุมที่เกี่ยวข้องซึ่งประเทศไทย โดยนางวราภรณ์ ขจรไชยกูล ประธานกรรมการวิชาการรายสาขา คณะที่ 29ยางและผลิตภัณฑ์ยาง ทำหน้าที่เป็นรองประธานการประชุม และได้เน้นการพิจารณาแผนงานเชิงยุทธศาสตร์ประจำปี2563 -2568  ท่ีจะผลักดันกิจกรรมสำคัญๆ เช่น การส่งเสริมผลิตภัณฑ์ยางพารา ที่มีนวัตกรรมด้านการมาตรฐาน เพื่อเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ยาง ที่มีนวัตกรรมให้สามารถแข่งขันได้ในระดับสากล ซึ่งจะเป็นผลดีให้ไทยที่เป็นผู้ผลิตยางพารารายใหญ่ของโลก โดยปีที่ผ่านมา ประเทศไทย มีมูลค่าการส่งออกยางพาราจำนวน 147,343 ล้านบาท และมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์ยาง  353,442 ล้านบาท

              ขณะเดียวกัน ในที่ประชุมยังจัดให้มีการประชุมคณะกรรมการ ห้องปฏิบัติการยางของอาเซียน ขึ้นเป็นครั้งแรกโดยนายกฤษฎา สุชีวะ ที่ปรึกษากลุ่มวิจัยนวัตกรรมการแปรรูปยาง ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติทำหน้าที่ประธานการประชุม เพื่อสร้างเครือข่ายให้เกิดความร่วมมือที่แข็งแกร่งระหว่าง  ห้องปฏิบัติการยางของอาเซียนและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของภูมิภาค   ซึ่งจะเป็นการยกระดับการตรวจสอบและรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ยาง ส่งเสริมอุตสาหกรรมและเพิ่มศักยภาพ การส่งออกผลิตภัณฑ์ยางของอาเซียน จะส่งผลดีกับผลิตภัณฑ์ยางของไทยที่มีศักยภาพสูงในตลาดโลกอาทิ ผลิตภัณฑ์แผ่นยางและถุงมือยาง อีกด้วย

              นอกจากนี้ ยังมีวาระที่ประเทศไทยเป็นแกนนำ ในการพิจารณากำหนดจุดยืน ร่วมกันเกี่ยวกับมาตรฐานใหม่สำหรับผลิตภัณฑ์ยางในการประชุมไอเอสโอ/ทีซี45 รับเบอร์ แอนด์รับเบอร์ โพรดักส์ด้วย ซึ่งสมอ.ได้ตั้งเป้าหมายจะทำให้เกิดผลสำเร็จเป็นรูปธรรม ในช่วงที่ประเทศไทยดำรงตำแหน่งประธานเอซีซีเอสคิว ในการประชุมครั้งถัดไปในปีหน้า ขณะที่การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(กนอ.)ก็ได้มีการจัดต้ังนิคมอุตสาหกรรมยางพารา(รับเบอร์ซิต้ี)ที่จังหวัดสงขลา เพื่อรองรับการลงทุนของโรงงานอุตสาหกรรม ท่ีใช้ยางพาราเป็นวัตถุดิบ และช่วยหาตลาดให้กับเกษตรกรชาวสวนยางของประเทศไทยอีกทางหน่ึง