IATA ชี้ มี.ค.67 การบิน ทั้งโลกโต 13.8% เอเชีย รักษาแชมป์ผู้นำตลาด

IATA รายงานสถานการณ์ การบิน โลกล่าสุดเดือนมีนาคม 2567 ผู้โดยสาร6ทวีป มีความต้องการเดินทางระหว่างประเทศเพิ่มขขึ้นต่อเนื่อง ส่งผลดีกับธุรกิจสายการบินและสนามบินนานาชาติ
IATA รายงานสถานการณ์ การบิน โลกล่าสุดเดือนมีนาคม 2567 ผู้โดยสาร6ทวีป มีความต้องการเดินทางระหว่างประเทศเพิ่มขขึ้นต่อเนื่อง ส่งผลดีกับธุรกิจสายการบินและสนามบินนานาชาติ

IATA ย้ำอุตสาหกรรม การบิน ตลอดมี.ค.67 IATA เปิดเผยว่า ผู้โดยสารทั้งโลกโตต่อเนื่อง 13.8 % “แอร์ไลน์ส-สนามบิน” กอดคอทำภารกิจเร่งด่วนหนีปัญหาใหญ่ต้องแบกรับต้นทุนหยุดให้บริการ การบิน “เอเชียแปซิฟิก” รักษาแชมป์ผู้นำตลาด ส่วน “ตะวันออกกลาง-อเมริกาเหนือ-แอฟริกัน” เหนื่อยอัตราบรรทุกชะลอตัว

นายวิลลี วอลช์ ผู้อำนวยการทั่วไป สมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ ( IATA )
นายวิลลี วอลช์ ผู้อำนวยการทั่วไป สมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ ( IATA )

วิลลี วอลช์ ผู้อำนวยการทั่วไป สมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (IATA : International Air Transport Association) หรือ “ไออาต้า” เปิดเผยว่าตลอดเดือนมีนาคม 2567 สถานการณ์ธุรกิจการบินของสายการบินทุกทวีปทั่วโลกกับความต้องการผู้โดยสารทั่วโลกเดินหน้าไปในทิศทางที่ดีขึ้นต่อเนื่อง เติบโตเพิ่มขึ้น 13.8 % ตอกย้ำถึงความแข็งแกร่งของอุตสาหกรรมการบินที่จะดำเนินต่อยาวไปตลอดการท่องเที่ยวฤดูร้อนที่กำลังจะสิ้นสุดปลายเดือนตุลาคม 2567 ขณะนี้มีสัญญาณควมร่วมมือของสายการบินกับสนามบิน ต่างก็พร้อมจะทำภารกิจเร่งด่วนเพื่อช่วยกันแก้ไขปัญหาทุกอย่างทำให้ทุกการเดินทางของผู้โดยสารราบรื่นมากที่สุดทุกเที่ยวบิน

โดยเฉพาะสนามบินต่าง ๆ ทั่วโลกกำลังพยายามอย่างหนักเรื่องการจัดการการจราจรทางอากาศ จัดหาบุคลากรมาทำงานอย่างเต็มที่และดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ขณะที่สายการบินต่าง ๆ เตรียมพร้อมดูแลลูกค้าและช่วยเหลือแทบทันท่วงที่เมื่อเกิดปัญหาการดำเนินงาน เพราะทุกสายการบินต่างก็เบื่อหน่ายภาระที่จะต้องแบกรับต้นทุนเมื่อมีเที่ยวบินล่าช้าและหรือต้องยกเลิกเที่ยวบินอันเป็นผลมาจากการเตรียมการที่ไม่ดีในส่วนอื่นของห่วงโซ่การทำงานขนส่งทางอากาศตั้งแต่ภาคพื้นดินต้นทางจนถึงปลายทาง

ส่วนสถานการณ์การขนส่งทางอากาศทั่วโลกตลอดเดือนมีนาคม 2567 เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันกับปีก่อน มีปริมาณการขนส่งผู้โดยสารต่อกิโลเมตร (RPK) เติบโตเพิ่มขึ้น 13.8% มีต้นทุนราคาตั๋วโดยสารต่อที่นั่ง (ASK) เพิ่มขึ้น 12.3% ทำอัตราบรรทุกผู้โดยสารเฉลี่ยได้ 82 % เพิ่มขึ้น  1 %  ประกอบด้วย

1.เที่ยวบินระหว่างประเทศ ของแต่ละทวีป มีจำนวนเที่ยวบินเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 18.9% มีกำลังการผลิตจำนวนที่นั่งให้บริการผู้โดยสารเพิ่มขึ้น 18.8 % ทำอัตราบรรทุกผู้โดยสารเฉลี่ยได้ 81.6% เพิ่มขึ้น 0.1 %

2.เที่ยวบินภายในประเทศ ของแต่ละทวีป มีจำนวนเที่ยวบินเพิ่มขึ้น 6.6% มีกำลังการผลิตจำนวนที่นั่งให้บริการผู้โดยสารเพิ่มขึ้น 3.4% ทำอัตราบรรทุกผู้โดยสารเฉลี่ยได้ 82.6% เพิ่มขึ้น 2.5 %

จากสถิติการดำเนินธุรกิจของ “สายการบินนานาชาติ” เดือนมีนาคม 2567 แบ่งตามภูมิภาคใน 6 ทวีปหลัก การทำ “อัตราบรรทุกผู้โดยสาร” เพิ่มขึ้น ใน 3 ทวีป ได้แก่ เอเชียแปซิฟิก นำโด่ง ตามมาด้วย ยุโรป ละตินอเมริกา ส่วนที่ชะลอตัวและลดลง  มี 3 ทวีป ได้แก่ ตะวันออกกลาง  อเมริกาเหนือ แอฟริกัน ตามรายละเอียดดังนี้ 

“สายการบินในเอเชียแปซิฟิก”  ยังคงเป็นผู้นำตลาดขนส่งทางอากาศอย่างต่อเนื่อง ผู้โดยสารต้องการเดินทางเครื่องบินเพิ่มขึ้น 38.5% เทียบกับตลอดปีที่ผ่านมา มีกำลังการผลิตจำนวนที่นั่งเพิ่มขึ้น 37.4% ทำอัตราบรรทุกผู้โดยสารเฉลี่ยได้ 85.6% เพิ่มขึ้น  0.7 % สูงที่สุดดีกว่าภูมิภาค ส่งสัญญาณการเติบโตโดดเด่น ถึงแม้เที่ยวบินจากสาธารณรัฐประชาชนจีนไปยังอเมริกาเหนือจะลดเหลือเพียง 16.5% เปรียบเทียบกับช่วงก่อนเกิดโควิดปี 2562

“สายการบินในยุโรป”  ผู้โดยสารมีความต้องการเพิ่มขึ้น 11.6% เทียบกับปีที่ผ่านมา มีกำลังการผลิตที่นั่งโดยสารเพิ่มขึ้น 11.4% ทำอัตราบรรทุกเฉลี่ยผู้โดยสารได้ 79.9% เพิ่มขึ้น 0.1 %

“สายการบินตะวันออกกลาง” ผู้โดยสารมีความต้องการเพิ่มขึ้น 10.8 % มีกำลังการผลิตที่นั่งโดยสารเพิ่มขึ้น 13.9% ทำอัตราบรรทุกผู้โดยสารเฉลี่ยได้ 77.5 % ลดลง 2.1 %

“สายการบินในอเมริกาเหนือ” ผู้โดยสารมีความต้องการเพิ่มขึ้น 14.5% มีกำลังการผลิตที่นั่งโดยสารเพิ่มขึ้น 14.8% ทำอัตราบรรทุกผู้โดยสารเฉลี่ยได้ 84.7% ลดลง 0.2 %

“สายการบินในละตินอเมริกา” ผู้โดยสารมีความต้องการเพิ่มขึ้น 19.7% มีกำลังการผลิตเพิ่มขึ้น 18.3% ทำอัตราบรรทุกผู้โดยสารเฉลี่ยได้ 84.3% เพิ่มขึ้น 0.9 %

“สายการบินในแอฟริกัน”  ผู้โดยสารมีความต้องการเพิ่มขึ้น 8.1% มีกำลังการผลิตที่นั่งโดยสารเพิ่มขึ้น 11.0% ทำอัตราบรรทุกผู้โดยสารเฉลี่ยได้ 70.3% ลดลง 1.9 %

ส่วน “ตลาดในประเทศ” ของสายการบินต่าง ๆ ตลอดเดือนมีนาคม 2567 ชะลอลงโดยมีอัตราการเติบโตต่ำลง ยกเว้น “สาธารณรัฐประชาชนจีน” ผู้โดยสารมีความต้องการเดินทางเติบโตต่อเนื่อง 17.6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันกับปีก่อน จีนสามารถรักษาความเป็นผู้นำตลาดเที่ยวบินในประเทศไว้ได้อย่างแข็งแกร่ง ส่วนประเทศอื่น ๆ ก็เติบโตอย่างมั่นคง ยกเว้น”ออสเตรเลีย” เติบโตลดลงอาจสะท้อนถึงเศรษฐกิจภายในประเทศไตรมาส 1 ปีนี้ชะลอตัว จึงส่งผลกับการขนส่งทางอากาศด้วย

-เรื่องโดย #เพ็ญรุ่งใยสามเสน

IATA

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : การบินไทย รับขนส่ง ผู้โดยสาร ฮัจน์เปิด เที่ยวบิน พิเศษ 28 เที่ยว