“จุลพันธ์” ประชุมนัดแรกคณะอนุฯขับเคลื่อนดิจิทัลวอลเล็ต สั่งการบ้านผู้เกี่ยวข้อง เร่งหาข้อสรุปส่งไม้ต่อชุดใหญ่

“จุลพันธ์” นั่งหัวโต๊ะประชุมคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนดิจิทัล วอลเล็ต นัดแรก มอบหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหาข้อสรุปเน้นรอบคอบ ถูกข้อกฎหมาย ลั่นพร้อมพบ ป.ป.ช. ชี้แจงรับฟังแลกเปลี่ยนข้อเสนอแนะ

  • ย้ำชัดโครงการนี้ ยังให้ความสำคัญกับเสถียรภาพทางเศรษฐกิจเป็นเรื่องหลัก
  • ยึดมั่นในระบบวินัยการเงินการคลัง จะดำเนินการให้รอบคอบชอบด้วยกฎหมาย
  • เชื่อดิจิทัล วอลเล็ตนี้ จะช่วยฉุดกระชากเศรษฐกิจให้กลับมาเติบโตในระดับที่เป็นไปตามศักยภาพของประเทศ

วันนี้ (12 ต.ค.66) เวลา 16.30 น. นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รมช.คลัง เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังได้มีการจัดประชุมคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนนโยบายโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่านดิจิทัล วอลเล็ต ครั้งที่ 1 โดยการประชุมวันนี้จะมีทั้งหมด 4 วาระ ประกอบด้วย 1.เรื่องประธานการประชุมแจ้งให้ที่ประชุมทราบ 2.วาระเรื่องเพื่อทราบ โดยมี 2 เรื่อง คือเรื่องคำสั่งนโยบายโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่านดิจิทัล วอลเล็ต และเรื่องแต่งตั้งคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนโครงการฯ มิตินโยบายของคณะกรรมการโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่านดิจิทัล วอลเล็ต 3. วาระเพื่อการพิจารณา เรื่องกรอบการเติมเงินโครงการฯ 4.วาระเรื่องอื่นๆ

นายจุลพันธ์ กล่าวว่า นโยบายโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่านดิจิทัล วอลเล็ต เป็นนโยบายที่ผ่านการเห็นชอบที่ประชุมรัฐสภาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยจะมาเป็นกลไกที่จะมาช่วยขับเคลื่อนฟื้นฟูระบบเศรษฐกิจครั้งใหญ่ โดยตอนนี้เศรษฐกิจของไทยยังเติบโตไม่เต็มประสิทธิภาพยังมีความเปราะบางอยู่

“รัฐบาลมีความมุ่งหวังอย่างยิ่งที่จะทำให้นโยบายโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่านดิจิทัล วอลเล็ต จะสามารถฉุดกระชากเศรษฐกิจไทยให้กลับเติบโตในระดับที่เป็นไปตามศักยภาพของประเทศ และเชื่อว่าจะมีการกระจายเม็ดเงินไปทั่วประเทศในระบบฐานราก จากกลไกที่โครงการมีเงื่อนไข ก็จะบังคับให้เม็ดเงินกระจายอยู่ทั่วภูมิภาคได้” นายจุลพันธ์ กล่าว

ทั้งนี้ การดำเนินโครงการดังกล่าว รัฐบาลยังให้ความสำคัญกับเสถียรภาพทางเศรษฐกิจเป็นเรื่องหลักอยู่ โดยเป้าหมายโครงการนี้ก็เพื่อให้ชีวิตของประชาชนดีขึ้น โดยของยืนยันว่าโครงการนี้ยังยึดมั่นในระบบวินัยการเงินการคลังเคร่งครัด จะดำเนินนโยบายนี้ให้รอบคอบชอบด้วยกฎหมายไม่ว่าจะเป็นรัฐธรรมนูญ หรือกฎหมายประกอบใดๆ ก็ตาม

นายจุลพันธ์ กล่าวด้วยว่า เงินทุกบาททุกสตางค์ในโครงการนี้ถึงมือประชาชนไม่รั้วไหลไปไหนแน่ ในเรืองของการทุจริตส่วนตัวไม่ห่วงในประเด็นนี้ เพราะมีความเชื่อมั่นในบุคลากรของเราทุกคน และของย้ำว่าทางคณะกรรมการกลไกต่างๆ และผู้เกี่ยวข้องในโครงการนี้ พร้อมรับการตรวจสอบในทุกรูปแบบ

“ขอย้ำให้คณะอนุกรรมการชุดนี้ ให้ดำเนินนโยบายนี้อยู่ในกรอบของกฎหมาย และขอเน้นย้ำใน พ.ร.บ.2-3 ฉบับคือ พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 พ.ร.บ.เกี่ยวกับวินัยการเงินการคลัง พ.ร.บ.เกี่ยวกับวิธีการงบประมาณ ซึ่งก็อย่างให้ความสำคัญโดยเฉพาะรายละเอียดข้อกฎหมาย ให้มีความรัดกุมซึ่งก็จะเป็นประโยชน์ และเป็นเกราะกำบังในการดำเนินนโยบายนี้”

สำหรับนโยบายโครงการเติมเงิน 10,000 บาท นี้เป็นนโยบายสาธารณะ เป็นการฟื้นฟูเศรษฐกิจ ซึ่งอาจจะไม่ได้มองแค่ในมิติของตัวเงิน ไม่มองแค่กำไรหรือขาดทุนคงไม่ได้ ซึ่งความคุ้มค่าจะอยู่ที่ทางสังคม ผลได้ผลเสียทางสังคมที่ไม่สามารถคำนวณเป็นเม็ดเงินได้

นายจุลพันธ์ กล่าวต่อว่า สำหรับนโยบายโครงการเติมเงิน 10,000 บาท มีข้อกำหนดในเรื่องระยะเวลาที่ตึงตัวพร้อมสมควร เนื่องด้วยโครงการนี้อยู่ใต้กรอบเวลาที่จำกัด ซึ่งการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งนี้จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง รวมถึงในเรื่องงบประมาณแผ่นดินปี 67 ก็มีความล่าช้า ซึ่งก็ส่งผลให้มีงบประมาณฯ ปี 67 อย่างเร็วคือในเดือน เม.ย.67 ทำให้ในช่วงต้นปีเป็นเวลาที่เหมาะสมในการผลักดันเม็ดเงินผ่านกระบวนนโยบายโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ถือเป็นเวลาที่เหมาะสม ซึ่งหากล่าช้าผลดีที่กระตุ้นเศรษฐกิจก็จะลดน้อยลงไปได้

ทั้งนี้ ขอยืนยันว่ารับบาลยังคงตั้งเป้าที่จดำเนินนโยบายโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ให้สำเร็จในช่วงต้นปี 67 ให้ได้ โดยในช่วง 2 สัปดาห์จากนี้ คณะอนุกรรมการอาจจะมีการนัดประชุมกันบ่อยครั้งกว่าปกติ เพราะต้องการทำและส่งมอบนโยบายนี้ให้สมบูรณ์แล้วเสร็จโดยเร็ว ซึ่งก็ต้องมาสรุปอภิปรายในรายละเอียด วัตถุประสงค์ ขอบเขตของโครงการ หลักเกณฑ์เงื่อนไข แหล่งที่มาของเงิน ต้องมาพูดคุยให้จบ รวมถึงประเด็ดผู้จัดการระบบ กลไกตรวจสอบการทุจริต รวมถึงการประเมินผลทั้งก่อน-หลังการดำเนินโครงการ โดยในเรืองการประเมินอาจต้องขอผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างสำนักงบประมาณ สภาพัฒน์ กรมบัญชีกลาง ที่ต้องรวมกันให้ความเห็นประเมินความคุ้มค่าในการปฏิบัติภารกิจในโครงการนี้

“สุดนี้ของย้ำว่าหน้าที่ของคณะอนุกรรมการฯนี้ คือการเสนอความเห็นต่อคณะกรรมการชุดใหญ่ เพื่อให้เรื่องนี้นำเสนอต่อ ครม.ต่อไป ในส่วนข้อห่วงใยกับโครงการนี้ทางเราก็เปิดรับฟัง โดยล่าสุดก็มีข้อห่วงใยจากคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้มีการแถลงข่าวว่ามีการตั้งคณะกรรมการเพื่อตรวจสอบโครงการนี้ ซึ่งต้องบอกว่าเป็นข้อดีที่ทีมมาช่วยตรวจสอบดูแลโครงการนี้ เราพร้อมที่จะไปพบกับคณะกรรมการของ ป.ป.ช. รวมคณะกรรมการตรวจสอบนโยบายโครงการเติมเงิน 10,000 บาท เพื่อไปนำเสนอโครงการ รวมถึงแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อขจัดข้อสงสัย พร้อมรับฟังคำแนะนำ เพื่อนำมาปรับใช้ให้โครงการนี้สมบูรณ์ และมีความรอบคอบมากที่สุด”