“กรมการค้าต่างประเทศ” พลิกกลยุทธ์ขายข้าวไทย

  • หันเจรจาซื้อขายผ่านออนไลน์ หลังโควิดทำเดินทางชะงัก
  • ยันคู่ค้ายังซื้อข้าวไทยแน่นอน เหตุไม่ห้ามส่งออก
  • แต่หวั่นบาทแข็ง ทำราคาข้าวแพงกว่าคู่แข่ง

นายกีรติ รัชโน อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า กรมได้ปรับแผนการเจรจาขายข้าวไทย โดยจะใช้ระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ และระบบ Zoom ในการพบปะเจรจากับผู้ซื้อ ผู้นำเข้าจากต่างประเทศ เพราะหลังจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้การเดินทางไปพบปะกันทำได้ยากขึ้น จากการที่บางประเทศยังมีมาตรการล็อกดาวน์ และบางประเทศยังห้ามบินเข้าประเทศ จึงต้องหันไปใช้ช่องทางออนไลน์ เพื่อสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า

กรมมีแผนที่จะร่วมมือกับผู้ส่งออก จัดพบปะทางออนไลน์กับผู้ซื้อผู้นำเข้าในประเทศเป้าหมาย เช่น มาเลเซียอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และจีน เพื่อสอบถามสารทุกข์สุกดิบ สอบถามสถานการณ์การค้า การบริโภคข้าวเป็นยังไง มีอะไรขาดเหลือหรือไม่ มีความต้องการซื้อข้าวเพิ่มเติมหรือไม่ ถ้าต้องการ ก็อย่าลืมนึกถึงไทย เพราะไทยมีข้าวพร้อมส่งออก ไม่จำกัดการส่งออก และข้าวไทยเป็นข้าวดี มีคุณภาพ เชื่อมั่นได้

ทั้งนี้ ฟิลิปปินส์ กำลังจะเปิดประมูลนำเข้าข้าวสาร 300,000 ตัน ซึ่งไทยจะยื่นประมูลด้วยในวันที่ 8 มิ..63 คาดว่าไทยน่าจะแข่งขันด้านราคากับคู่แข่งได้ ส่วนมาเลเซีย ยังรอดูสถานการณ์ก่อนนำเข้า เช่นเดียวกับอินโดนีเซีย ขณะทีาจีนกำลังเจรจาผลักดันให้จีนปิดการซื้อขายข้าวในส่วนที่เหลืออีก 300,000 ตันของสัญญาทั้งหมด 1 ล้านตัน เพราะขณะนี้รถไฟไทยจีน สัญญา 2.3 มีความคืบหน้า และ 2 ประเทศจะลงนามกันในเร็วๆ นี้ ซึ่งในส่วนของการซื้อข้าวและยางพาราจากไทย ก็ควรจะมีข้อยุติด้วย

สำหรับแนวโน้มการส่งออกข้าวไทยในปีนี้ คาดว่า ความต้องการในตลาดโลกจะยังคงมีเข้ามาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องแต่ต้องระวังเรื่องการแข่งขันจากคู่แข่ง โดยเวียดนาม ได้ยกเลิกห้ามส่งออกข้าวแล้ว จากก่อนหน้า รัฐบาลได้สั่งหยุดส่งออกชั่วคราว เพื่อให้มีข้าวบริโภคในประเทศอย่างเพียงพอรองรับการระบาดของโควิด-19 และปีนี้ยังตั้งเป้าส่งออกประมาณ 7 ล้านตัน ใกล้เคียงกับไทยที่ตั้งเป้า 7.5 ล้านตัน ส่วนอินเดีย เพิ่งปลดล็อกให้ส่งออกได้เช่นกัน นอกจากนี้ ยังมีเรื่องค่าเงินบาทแข็งค่า ที่ทำให้ข้าวไทยแพงขึ้น เมื่อเทียบกับข้าวของคู่แข่ง 

ส่วนการส่งออกข้าวในช่วง 5 เดือน (..-..) ปี 63 นั้น มีปริมาณ 2.590 ล้านตัน ลดลง 31.51% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน มูลค่า 1,735 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง 13.07% หากคิดเป็นเงินบาทมีมูลค่า 54,241 ล้านบาท ลดลง 14% มีราคาเฉลี่ยอยู่ที่ตันละ 669.88 เหรียญฯ เพิ่มขึ้น 28.81%