กทท.คุยลั่น!โควิดไม่กระทบ-ผลการดำเนินงานรอบปีงบปี 64 ปริมาณตู้พุ่ง-กำไรทะลัก

เรือโทยุทธนา โมกขาว รองผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย สายบริหารการเงินและกลยุทธ์องค์กร รักษาการแทนผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย เปิดเผยถึงผลการดำเนินงานของการท่าเรือว่า ในการให้บริการเรือ สินค้า และตู้สินค้าผ่านท่าเรือกรุงเทพ (ทกท.) ท่าเรือแหลมฉบัง (ทลฉ.) ท่าเรือพาณิชย์เชียงแสน (ทชส.) ท่าเรือเชียงของ (ทชข.) และท่าเรือระนอง (ทรน.) ประจำปีงบประมาณ 2564 (ตุลาคม 2563 – กันยายน 2564) โดยเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สรุปดังนี้ ท่าเรือกรุงเทพ มีเรือเทียบท่า 4,170 เที่ยว เพิ่มขึ้น 9.1% สินค้าผ่านท่า 21.185 ล้านตัน ลดลง 1.2% ตู้สินค้าผ่านท่า 1.438 ล้าน ที.อี.ยู. เพิ่มขึ้น 0.2% ,ท่าเรือแฟลมฉบัง มีรือเทียบท่า 9,670 เที่ยว ลดลง 1.0% สินค้าผ่านท่า 90.445 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 9.0% ตู้สินค้าผ่านท่า 8.419 ล้าน ที.อี.ยู. เพิ่มขึ้น 10.2%

ส่วนท่าเรือเชียงแสน มีเรือเทียบท่า 2,231 เที่ยว ลดลง 10.5% สินค้าผ่านท่า 103,972 ตัน ลดลง 32.6% ตู้สินค้าผ่านท่า 5,064 ที.อี.ยู. ลดลง 32.3% ,ส่วนท่าเรือเชียงของ มีเรือเทียบท่า 5 เที่ยว ลดลง 96.6% สินค้าผ่านท่า 28 ตัน ลดลง 98.9% ,ส่วนท่าเรือระนอง มี เรือเทียบท่า 248 เที่ยว เพิ่มขึ้น 15.9% สินค้าผ่านท่า 128,686 ตัน เพิ่มขึ้น 55.5%   ตู้สินค้าผ่านท่า 4,173 ตู้ เพิ่มขึ้น 53.0%

ทั้งนี้ผลการดำเนินงานของ กทท. ในรอบ 12 เดือน (ตุลาคม 2563 – กันยายน 2564) มีเรือเทียบท่าที่ ท่าเรือกรุงเทพ และ ท่าเรือแหลมฉบัง รวม 13,840 เที่ยว เพิ่มขึ้น 1.9% สินค้าผ่านท่า 111.630 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 6.9% และตู้สินค้าผ่านท่า 9.857 ล้าน ที.อี.ยู. เพิ่มขึ้น 8.6% รวมรายได้ 15,613 ล้านบาท คิดเป็นกำไรสุทธิ  6,023 ล้านบาท เพิ่มขึ้น  6.99% ทั้งนี้มีอัตราการเติบโตของตู้สินค้าที่เพิ่มสูงขึ้นเป็นผลมาจากการส่งออกของไทยเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญทั้งปัจจัยด้านการส่งออกที่เติบโตตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า ประกอบกับภาคการผลิตของไทยที่สามารถกลับมาดำเนินการได้มากขึ้น รวมทั้งผลจากอุปสงค์ทั้งในและต่างประเทศที่ปรับดีขึ้น ทำให้ภาคการบริการฟื้นตัวจึงส่งผลให้แนวโน้มภาพรวมของ กทท. มีผลการดำเนินงานการให้บริการ สินค้า และตู้สินค้าผ่านท่าสูงขึ้น