

- ชี้หากจะควบคุม ก็ต้องฉีดวัคซีนที่มีประสิทธิภาพให้ครอบคลุม ก็ต้องใช้จ่ายเงินอีกจำนวนมาก
- ยกตัวอย่างกามโรค มีมานับหลายร้อยปี มียารักษาที่ดี ก็ไม่สามารถกำจัดให้หมดไปได้
- ลั่นทุกประเทศ ควรจะต้องช่วยกันในการควบคุม ลดการระบาดของโรค
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (25 ก.ค.65) ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก : Yong Poovorawan โดยมีเนื้อหากล่าวถึง โควิด-19 ดังนี้…
ฝีดาษวานร
ยง ภู่วรวรรณ ราชบัณฑิต 25 ก.ค. 2565
ฝีดาษวานร เป็นโรคที่องค์การอนามัยโลกประกาศเป็น ภาวะฉุกเฉินฯ ระหว่างประเทศ ในวันที่ 23 กรกฎาคม 2565
ทุกประเทศ ควรจะต้องช่วยกันในการควบคุม ลดการระบาดของโรค
ปัจจุบันจำนวนผู้ป่วยได้เพิ่มขึ้นอย่างมาก มากกว่า 16,000 คน มีรายงานกล่าวถึงการเสียชีวิต 5 ราย แต่ตามรายงานขององค์การอนามัยโลกในวันที่ 22 กรกฎาคม 2565 ไม่มีผู้เสียชีวิต พบผู้ป่วยมากกว่า 70 ประเทศ และจะพบจำนวนเพิ่มมากขึ้นอีกแน่นอน
โรคนี้เป็นโรคที่ไม่รุนแรง มีอัตราการเสียชีวิตน่าจะน้อยกว่า 3 ใน 10,000 โดยเฉพาะพวกกลุ่มเปราะบางเท่านั้นฝีดาษวานร ที่รายงานให้องค์การอนามัยโลกพบในเพศชาย 98% และอยู่ในวัยเจริญพันธุ์ จำนวนมากเป็นชายรักชายตามข้อมูลขององค์การอนามัยโลก (22 ก.ค. 2565) และผู้ป่วยมีการติดเชื้อ HIV ร่วมด้วยเป็นจำนวนมาก(https://worldhealthorg.shinyapps.io/mpx_global/)
โรคฝีดาษวานร ติดต่อและแพร่กระจาย โดยการสัมผัสอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะกิจกรรมเพศสัมพันธ์ โรคอะไรก็ตาม ที่เกี่ยวกับการสัมผัสทางเพศสัมพันธ์ จึงยากที่จะควบคุมหรือกำจัดให้หมดไป กามโรคมีมานับหลายร้อยปี มียารักษาที่ดี ก็ไม่สามารถกำจัดให้หมดไปได้
ในทำนองเดียวกัน ฝีดาษวานรจึงเป็นการยากในการควบคุม และกำจัดให้หมดไป นอกจากฉีดวัคซีนที่มีประสิทธิภาพได้ครอบคลุมเกือบทั้งหมด ก็ต้องใช้จ่ายเงินอีกจำนวนมาก เราคงต้องอยู่กับโรคนี้อีก