สทนช. เตรียมพร้อมรับมือ น้ำท่วม ฤดูฝน ปี2567

สทนช. ฤดูฝน ปี2567 น้ำท่วม
นายไพฑูรย์ เก่งการช่าง รองเลขาธิการ สทนช.

กรุงเทพฯ 15 พฤษภาคม 2567 – สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ( สทนช. ) เตรียมพร้อม รับมือ ฤดูฝน ปี2567 วางแผนระบายน้ำจากเขื่อนเสี่ยงน้ำล้น ตรวจสอบความมั่นคงของพนังกั้นน้ำ เตรียมพร้อมรับมือ น้ำท่วม ฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และ ภัยแล้ง

นายไพฑูรย์ เก่งการช่าง รองเลขาธิการ สทนช. กล่าวว่า ประเทศไทย กำลัง เปลี่ยนผ่าน จาก สภาวะเอลนีโญ เข้าสู่ สภาวะลานีญา

สทนช. เตรียมพร้อมรับสถานการณ์ น้ำท่วม ช่วง ฤดูฝน ปี2567

ส่งผล ให้มี ฝนตกหนัก ในบางพื้นที่ สทนช. จึงได้ติดตาม สภาพอากาศ อย่างใกล้ชิด และ เตรียมพร้อม รับมือ สถานการณ์ดังต่อไปนี้

น้ำท่วม ฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก

ประกาศเตือนภัย 26 จังหวัด: ระหว่างวันที่ 18 – 25 พฤษภาคม 2567 ให้หน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง เฝ้าระวัง และ แจ้งเตือนประชาชน

เตรียมแผน ระบายน้ำ: ปรับแผน ระบายน้ำ ในเขื่อนเสี่ยง น้ำล้น เช่น เขื่อนอุบลรัตน์ เขื่อนบางลาง เขื่อนวชิราลงกรณ

ตรวจสอบ พนังกั้นน้ำ: ตรวจสอบ ความมั่นคง ของพนัง กั้นน้ำ เตรียมพร้อม รับมือ กรณี ฝนตกหนัก

ซ้อมแผน เผชิญเหตุ: ซ้อมแผน เผชิญเหตุ อุทกภัย ร่วมกับ หน่วยงาน เตือนภัย เช่น กรมทรัพยากรน้ำ และ ปภ.

ภัยแล้ง

ประกาศ เขตภัยแล้ง: เพิ่มเติม ในพื้นที่ ต.ยางหัก อ.ปากท่อ จ.ราชบุรี

เตรียมน้ำ สำรอง: เตรียมน้ำ ต้นทุนสำรอง ไว้สำหรับ ช่วง 3 เดือนแรก ของ ฤดูฝน

บริหาร จัดการน้ำ: บริหาร จัดการ น้ำในอ่างเก็บน้ำ อย่างสอดคล้อง กับสถานการณ์ เน้นป้องกัน ความเสี่ยง ขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง ถัดไป

น้ำทะเลหนุน

เตรียมรับมือ: เตรียมรับมือ กับโอกาส การเกิดภาวะ น้ำทะเลหนุนสูง ช่วงฤดูแล้ง

ผลักดัน ความเค็ม: เตรียม ปริมาณน้ำ มาผลักดัน ความเค็ม เพื่อรักษา คุณภาพน้ำ ให้อยู่ในมาตรฐาน

ทั้งนี้ สทนช. จะซักซ้อม ความเข้าใจ ในการ เตรียมรับมือ สถานการณ์ ในฤดูฝน ร่วมกับ ผู้ว่าราชการจังหวัด ในฐานะประธาน คณะกรรมการ ลุ่มน้ำ

เพื่อป้องกัน และ บรรเทา ผลกระทบ ที่จะเกิด แก่ประชาชน ได้อย่างมี ประสิทธิภาพ มากที่สุด

นายไพฑูรย์ กล่าวว่า เมื่อวันที่ 13 พ.ค. ที่ผ่านมา มีพื้นที่บางแห่ง ที่มีปริมาณฝนกว่า 100 มิลลิเมตร และจากการ ติดตามคาดการณ์ สภาพอากาศ พบว่า ปัจจุบันมีหย่อมความกดอากาศต่ำ กำลังแรงปกคลุม บริเวณอ่าวมะตะบัน ประเทศเมียนมา

ส่งผลให้ลมตะวันตกเฉียงใต้ มีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ มีฝนตกหนัก ถึง หนักมาก ซึ่ง สทนช. ได้ออกประกาศเฝ้าระวัง น้ำท่วม ฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ในพื้นที่ 26 จังหวัด ช่วงระหว่างวันที่ 18 – 25 พ.ค. 67

เพื่อให้ หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เฝ้าระวัง และแจ้งเตือนภัย ให้แก่ประชาชน ในพื้นที่ดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน ในภาพรวม ของประเทศ ยังคงมีปริมาณฝน ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย จึงทำให้ มีสถานการณ์แล้ง ในบางพื้นที่

โดยล่าสุด ปภ. ได้ประกาศเขต การให้ความช่วยเหลือ ผู้ประสบภัย พิบัติกรณีฉุกเฉิน (ภัยแล้ง) เพิ่มเติม ในพื้นที่ ต.ยางหัก อ.ปากท่อ จ.ราชบุรี ซึ่งประสบ ปัญหาขาดแคลนน้ำ ด้านอุปโภคบริโภค และด้านการเกษตร

ซึ่งหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง จะเร่งให้ความช่วยเหลือ เพื่อคลี่คลาย สถานการณ์ ให้กลับสู่สภาวะปกติ

“ใกล้เข้าสู่ช่วงฤดูฝน อย่างเป็นทางการของประเทศไทยแล้ว แต่คาดว่าในช่วง 3 เดือนแรก ของฤดูฝน จะยังมี ปริมาณฝนตก ไม่มากนัก ประกอบกับ พื้นดิน ที่แห้ง ในช่วงฤดูแล้ง จะดูดซับ น้ำฝน ที่ตกลงมา ทำให้มี ปริมาณน้ำ ไหลเข้า อ่างเก็บน้ำ ไม่มาก ซึ่งได้ เตรียมน้ำต้นทุน สำรองไว้ สำหรับช่วงเวลา ดังกล่าว แล้ว”

โดยปริมาณฝน จะเริ่มเพิ่มขึ้น ตั้งแต่ช่วงเดือน ส.ค. 2567 และในเดือน ต.ค. 2567 จะมี ฝนตกหนัก ในพื้นที่ ภาคใต้ ซึ่งหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง ได้เตรียมพร้อ มรับมือ สถานการณ์ตาม 10 มาตรการ รับมือ ฤดูฝน ปี2567 และ แผนป้องกัน และ แก้ไขภาวะ น้ำท่วม

ที่มา : สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : สทนช.เผยจำเป็นต้องระบายน้ำในเขื่อนลำปาว เร่งลดผลกระทบน้ำท่วม