หนี้มารอหน้าบ้าน โคแสนล้านจ่ายดอกธ.ก.ส.450ล้าน

นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ(กทบ.)พิจารณาโครงการโคแสนล้านนำร่อง

สมศักดิ์ ประชุมกองทุนหมู่บ้านฯ เดินหน้าโครงการโคแสนล้าน กรอบวงเงินสินเชื่อ ธ.ก.ส. 5,000 ล้านบาท รัฐชดเชยดอกเบี้ยให้ 4.50 ต่อปี เป็นเวลา 2 ปี ใช้งบชดเชยดอกเบี้ย 450 ล้านบาท  ที่เหลืออีก 3 ปีชาวบ้านจ่ายเอง ต้องคืนเงินต้นและจ่ายดอกให้ครบภายใน 5 ปี

วันที่ 3 เมษายน 2567 นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รองนายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ(กทบ.)ว่า ที่ประชุมฯเห็นชอบโครงการโคแสนล้านนำร่อง ภายใต้กรอบวงเงินสินเชื่อของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) จำนวน 5,000 ล้านบาท และรัฐชดเชยดอกเบี้ยให้กับ ธ.ก.ส. อัตราร้อยละ 4.50 ต่อปี เป็นระยะเวลา 2 ปี

นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ(กทบ.)พิจารณาโครงการโคแสนล้านนำร่อง

ทั้งนี้ธ.ก.ส.จะเป็นหน่วยงานตั้งงบประมาณรายจ่ายเพื่อชดเชยอัตราดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นจากรัฐ จำนวน 450 ล้านบาท โดยดำเนินโครงการรวมระยะเวลา 5 ปี ซึ่งกำหนดให้ปลอดดอกเบี้ย 2 ปีแรก ส่วนปีที่ 3 มีดอกเบี้ย ปีที่ 4 ต้องจ่ายคืนเงินต้น 50% พร้อมดอกเบี้ย และปีที่ 5 จ่ายคืนทั้งหมด พร้อมดอกเบี้ย ซึ่งเมื่อที่ประชุมคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านฯ เห็นชอบแล้ว ก็จะนำเข้าที่ประชุมครม. เพื่อพิจารณาเห็นชอบต่อไป

นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ(กทบ.)พิจารณาโครงการโคแสนล้านนำร่อง

นอกจากนี้ที่ประชุมยังเห็นชอบ การส่งเสริมอาชีพให้กับสมาชิกกองทุนหมู่บ้านฯ เพื่อเป็นการเติมรายได้ และช่วยให้สมาชิกมีเงินเพียงพอในการใช้หนี้ พร้อมเป็นการส่งเสริมต่อยอดอาชีพ เช่น โครงการโคนำร่องที่เลี้ยงวัวธรรมดา ก็สามารถพัฒนาสายพันธุ์เป็นโคต่างประเทศได้ โดยเป็นการอัพเกรดจากโคธรรมดา เป็นโคพรีเมี่ยม ด้วยการผสมเทียม

นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ(กทบ.)พิจารณาโครงการโคแสนล้านนำร่อง

ทั้งนี้จะนำน้ำเชื้อสายพันธุ์ต่างประเทศ ไปผสมกับโคธรรมดา จะได้ลูกออกมาเป็นสายพันธุ์ต่างประเทศ 50% จากนั้น ก็ให้ผสมพันธุ์ต่อไปเรื่อยๆ เป็น 75% และเมื่อเกิน 80% ขึ้นไป โคของเราก็จะกลายเป็นสายพันธุ์ต่างประเทศแล้ว ดังนั้น ที่ประชุมจึงเห็นชอบ โครงการ”สัตวบาลอาสา” เพื่อจะเป็นผู้ช่วยปศุสัตว์ ในการลงพื้นที่ไปช่วยสมาชิกกองทุนหมู่บ้านฯ ในการผสมเทียม เพราะเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์อาจไม่เพียงพอ จึงจำเป็นต้องมีสัตวบาลอาสา