ททท. ขานรับ ครม. บูม เที่ยว เพชรฯซอฟท์พาวเวอร์/อาหารยูเนสโก

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ประชุม ครม.สัญจร ผลักดันจังหวัดเพชรบุรียกระดับเศรษฐกิจสีเขียว เพิ่มจุดขายการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ ผนวกขายสินค้าเกษตรชุมชน เกลือบ้านแหลม ตาลโตนดบ้านลาด มะนาวท่ายาง
นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ประชุม ครม.สัญจร ผลักดันจังหวัดเพชรบุรียกระดับเศรษฐกิจสีเขียว เพิ่มจุดขายการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ ผนวกขายสินค้าเกษตรชุมชน เกลือบ้านแหลม ตาลโตนดบ้านลาด มะนาวท่ายาง

ผู้ว่าฯ ททท. ขานรับ “นายกฯเศรษฐา-รมว.เสริมศักดิ์” ททท. บูมซอฟท์พาวเวอร์ “ท่อง เที่ยว เพชรบุรี” โชว์พลังเมืองสร้างสรรค์ด้านอาหารยูเนสโก งัดจุดเด่น 3 รสใช้ท่อง เที่ยว พ่วงขายสินค้าเกษตร “เกลือบ้านแหลม-ตาลโตนดบ้านลาด-มะนาวท่ายาง” ดันเศรษฐกิจท้องถิ่นโตยั่งยืน

นางสาวฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เปิดเผยว่า ผู้บริหาร ททท.ร่วมติดตามนำเสนอข้อมูลการท่องเที่ยวกับนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และรัฐมนตรีกระทรวงต่าง ๆ ระหว่างคณะรัฐมนตรี (ครม.) สัญจร ที่จังหวัดเพชรบุรี เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2567 โดย ททท.ได้จัดบูธนิทรรศการ นำเสนอซอฟท์ พาวเวอร์ อาหารผสานศิลป์ Eat & Art Unlimited เพชรบุรีเมืองสร้างสรรค์ด้านอาหารจากยูเนสโก จัดขึ้นที่ สำนักงาน ททท. อาคารสุเมธตันติเวชกุล มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รมว.กระทรวงการท่องเที่ยวฯ กับ น.ส.ฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ ผู้ว่าการ ททท.โชว์ดื่มน้ำมะนาวแป้นเพชรบุรีเมนูขึ้นชื่อเลมอนโซดา
นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รมว.กระทรวงการท่องเที่ยวฯ กับ น.ส.ฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ ผู้ว่าการ ททท.โชว์ดื่มน้ำมะนาวแป้นเพชรบุรีเมนูขึ้นชื่อเลมอนโซดา

นำจุดเด่นของจังหวัดเพชรบุรีได้ชื่อว่าเป็น “เมือง 3 รส” เป็นอัตลักษณ์ดึงดูดความน่าสนใจนักท่องเที่ยวคนไทยและต่างชาติที่ต้องการมาสัมผัสวัตถุดิบท้องถิ่นที่มีคุณภาพ ผนวกเข้ากับส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอาหารถิ่นของเมืองอาหารไทย ซึ่งจะช่วยเพิ่มรายได้หมุนเวียนเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจและวิถีชีวิตชุมชนจากการท่องเที่ยวและสินค้าเกษตรพื้นบ้านเติบโตอย่างยั่งยืนตั้งแต่ปี 2567 เป็นต้นไป  

ทาง ททท.มุ่งตอกย้ำการขับเคลื่อน IGNITE THAILAND ของนายกรัฐมนตรี ในหมวดท่องเที่ยวธีม Must Do in Thailand ด้วยแนวคิดจะผลักดันจังหวัดเพชรบุรีในฐานะ “เมือง 3 รส” สามารถนำเอกลักษณ์และคัดเลือกวัตถุดิบหลักในท้องถิ่นถ่ายทอดให้นักท่องเที่ยวได้รับประสบการณ์ตรงครบทั้ง 3 อย่าง คือ

อย่างแรก “รสเค็ม” จากเกลือสมุทร ในพื้นที่อำเภอบ้านแหลม เป็นพื้นที่ติดทะเล คนในชุมชนทำอาชีพนาเกลือซึ่งเพชรบุรีมีนาเกลือจำนวนมากที่สุดในประเทศไทย

อย่างที่สอง “รสหวาน” จากตาลโตนด มีแหล่งปลูกตาลขนาดใหญ่อยู่ในอำเภอบ้านลาด นำผลผลิตมาใช้ผลิตน้ำตาลโตนดชั้นดี เป็นวัตถุดิบใช้ใประกอบอาหารคาวหวานสารพัดสร้างชื่อเสียงได้รับความนิยมจากตลาดคนไทยและต่างชาติ

อย่างที่สาม “รสเปรี้ยว” ผลผลิตมะนาวแป้นคุณภาพจากอำเภอท่ายาง เป็นพืชเศรฐกิจสำคัญของจังหวัดเพชรบุรี ด้วยคุณสมบัติแตกต่างจากทั่วไปมีเปลือกบางและกลิ่นหอม ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดทั่วประเทศ ภายในงานได้นเสนอเครื่องดื่มสร้างความสดชื่นให้ได้ลิ้มรสชิมเมนู LimePalm Soda 3 รส นายกฯ เศรษฐาดื่มแล้วออกปากชื่นชมรสชาติความอร่อย พร้อมทั้งขอให้ช่วยส่งเสริมช่องทางการขาย กระจายตลาด เชื่อมโยงเข้ากับตลาดการท่องเที่ยวควบคู่ไปด้วยกัน

นายกฯ เศรษฐา ทวีสิน นำคณะรัฐมนตรีเยี่ยมชมโครงการช่างหัวมัน แหล่งเรียนรู้และสถานที่ท่องเที่ยวที่คนไทยและนานาชาติเดินทางเข้ามาดูงานตลอดทั้งปี
นายกฯ เศรษฐา ทวีสิน นำคณะรัฐมนตรีเยี่ยมชมโครงการช่างหัวมัน แหล่งเรียนรู้และสถานที่ท่องเที่ยวที่คนไทยและนานาชาติเดินทางเข้ามาดูงานตลอดทั้งปี

จากนั้นนายกฯ เศรษฐา และ ครม.ยังได้เยี่ยมชมสถานที่สำคัญอีกแห่งเป็นตัวอย่างด้านเกษตรและรวบรวมพันธุ์พืชเศรษฐกิจ คือ “โครงการชั่งหัวมัน” ตามพระราชดำริ ตำบลเขากระปุก อำเภอท่ายาง จ.เพชรบุรี อันเกิดจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 มุ่งส่งเสริมการเกษตรแบบยั่งยืนและการรวบรวมพันธุ์พืชเศรษฐกิจของสำคัญ เป็นทั้งแหล่งเรียนรู้และสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ การท่องเที่ยวเชิงเกษตร ของคนไทยและต่างประเทศเดินทางมาดูงานต่อเนื่องทุกปี

เรื่องโดย #เพ็ญรุ่งใยสามเสน

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : ททท. รับลูกครม. ดันราชบุรีท่องเที่ยวปัง ต่อยอดรายได้ 3.8 พันล้าน

โครงการชั่งหัวมัน

“โครงการชั่งหัวมันตามพระราชดำริ”ที่จะ ทำให้คุณเข้าใจแนวคิดของในหลวงอย่างลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น เชื่อหรือไม่ว่า โครงการ ชั่งหัวมัน นั้นเกิดขึ้นมาจากความบังเอิญ จากหัวมันเทศของประชาชน สู่การกลายเป็นโครงการชั่งหัวมันตามพระราชดำริของในหลวง ด้วยวิสัยทัศน์กว้างไกลของการจัดการพื้นที่ที่ไม่เกิดประโยชน์ ให้กลับมามีมูลค่ามหาศาล นับเป็นการทำการเกษตรที่เป็นตัวอย่างให้กับชาว อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี

เมื่อ ปี พ.ศ.2551 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรง ซื้อที่ดินจากราษฎร บริเวณอ่างเก็บน้ำ หนองเสือ ประมาณ 120 ไร่ และต่อมา ปี พ.ศ.2552 ทรงซื้อแปลงติดกันเพิ่มอีก 130 ไร่ รวมเนื้อที่ทั้งหมด 250 ไร่ โดยมีพระราชดำริให้ทำเป็นโครงการตัวอย่างด้านการเกษตร รวบรวมพันธุ์พืชเศรษฐกิจในพื้นที่ อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี และพื้นที่ใกล้เคียงมาปลูกไว้ที่นี่ โดย เริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ.2552 เป็นต้นมา และพระราชทานพันธุ์มันเทศซึ่งออกมาจากหัวมันที่ตั้งโชว์ไว้บนตาชั่งในห้อง ทรงงานที่วังไกลกังวลให้นำมาปลูกไว้ที่นี่ พระราชทานชื่อโครงการว่า “โครงการชั่งหัวมัน ตามพระราชดำริ”